5 ปีมีลุ้น! “อูเบอร์” จับมือกองทัพสหรัฐฯ พัฒนา “แท็กซี่บินได้”

5 ปีมีลุ้น! “อูเบอร์” จับมือกองทัพสหรัฐฯ พัฒนา “แท็กซี่บินได้”

5 ปีมีลุ้น! “อูเบอร์” จับมือกองทัพสหรัฐฯ พัฒนา “แท็กซี่บินได้”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากปล่อยข่าวโปรเจคแห่งอนาคตให้ได้ตั้งตารอกับ “แท็กซี่บินได้” ล่าสุด “อูเบอร์” ก็เผยโฉมของแท็กซี่มีปีก พร้อมเผยความร่วมมือครั้งสำคัญกับกองทัพสหรัฐฯ ในการพัฒนาเทคโนโลยีการคมนาคมทางอากาศอันล้ำสมัยนี้ด้วย

นายดารา คอสราวชาฮี ซีอีโอของอูเบอร์ บริษัทผู้ให้บริการรถโดยสารผ่านแอพพลิเคชั่น เผยโฉม Uber Air หรือ แท็กซี่บินได้ ตัวต้นแบบของอูเบอร์ เป็นเครื่องบิน 4 ใบพัดในแนวราบ และอีก 1 ใบพัดที่หางเครื่องบิน เหมือนกับเฮลิคอปเตอร์หรือโดรนขนาดยักษ์

รองรับผู้โดยสารสูงสุด 4 คน กับอีก 1 นักบิน ขับเคลื่อนด้วยความเร็ว 150-200 ไมล์ต่อชั่วโมง ที่ระดับความสูง 1,000 - 2,000 ฟุต ในระยะทางประมาณ 60 ไมล์ด้วยพลังงานไฟฟ้าและเทคโนโลยีไฮบริด ซึ่งในอนาคตอาจจะเป็นการขับเคลื่อนอัตโนมัติ หลังจากที่ผ่านการทดสอบด้านความปลอดภัยแล้ว

สำหรับการใช้บริการก็ยังทำผ่านแอพพลิเคชั่น อูเบอร์ เหมือนเดิม แต่ผู้โดยสารจะต้องขึ้นเครื่องและลงจอดในจุดรับส่งที่เรียกว่า Skyport ในย่านชุมชนเมืองและที่สนามบิน ซึ่ง Skyport บางแห่งอาจรองรับเที่ยวบิน Uber Air ได้มากถึง 200 เที่ยวต่อชั่วโมง หรือ 1 ลำในทุก 24 วินาที

ล่าสุด อูเบอร์ได้ร่วมมือกับกองทัพสหรัฐฯ ในการพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยานที่ขับเคลื่อนด้วยใบพัดรุ่นใหม่ที่ล้ำสมัยและไร้เสียง หลังจากจับมือกับองค์การนาซาและหน่วยงานด้านเทคโนโลยีอวกาศของสหรัฐฯอีกหลายแห่ง ในการรวบรวมข้อมูลการจราจรทางอากาศและความปลอดภัยด้านการบินในเมืองใหญ่ ซึ่งนำร่องที่ท่าอากาศยานนานาชาติ Dallas/Fort Worth ในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส

ส่วนเรื่องของอัตราค่าบริการนั้น นายคอสราวชาฮี หวังว่าจะทำให้การคมนาคมรูปแบบนี้อยู่ในระดับราคาที่คนทั่วไปเข้าถึงได้

พร้อมกันนี้ ผู้บริหารอูเบอร์ยังบอกด้วยว่า จะเริ่มการทดสอบการบินของ Uber Air ในอีก 2 ปีข้างหน้า ในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส หรืออาจจะเป็นนครลอส แองเจลีส รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนที่จะเปิดให้บริการในปี 2566 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า

เทคโนโลยีแท็กซี่บินได้ของอูเบอร์ กำลังแข่งขันอยู่กับผู้ผลิตอากาศยานยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Airbus ที่ผลิต Kitty Hawk ด้วยความร่วมมือของผู้ร่วมก่อตั้ง Google แลร์รี เพจ และ Volocopter บริษัทสตาร์ทอัพด้านอากาศยานสัญชาติเยอรมัน ที่กำลังเดินหน้าโปรเจคยักษ์นี้อยู่เช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook