e-Tax invoice ใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร ใช้ลดหย่อนภาษี 2568

e-Tax invoice ใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร ใช้ลดหย่อนภาษี 2568

e-Tax invoice ใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร ใช้ลดหย่อนภาษี 2568
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

e-Tax invoice คืออะไร ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่มีหน้าที่เสียภาษี สามารถใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Tax invoice ลดหย่อนภาษีได้

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) เป็นเอกสารที่ใช้แทนใบกำกับภาษีแบบกระดาษ โดยออกและส่งให้ผู้ซื้อในรูปแบบดิจิทัลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เชื่อมโยงกับกรมสรรพากรโดยตรง ทำให้การจัดเก็บและส่งข้อมูลภาษีสะดวกขึ้น ลดต้นทุน ลดภาระด้านเอกสาร และเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน

e-Tax invoice คืออะไร?

e-Tax Invoice หรือ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คือ การออกใบกำกับภาษีในรูปแบบดิจิทัล แทนการใช้กระดาษ โดยมีมาตรฐานที่กำหนดโดยกรมสรรพากร ช่วยลดขั้นตอน ลดต้นทุน และเพิ่มความรวดเร็ว ในการส่งและจัดเก็บเอกสาร 

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เป็นข้อมูลใบกำกับภาษี รวมทั้งใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับ ที่มาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word, Excel หรือ PDF ซึ่งผู้จัดทำเอกสารจะลงลายเซ็นแบบดิจิทัล (Digital Signature) ก่อนที่จะส่งให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการผ่านช่องทางออนไลน์อย่างอีเมล หรือ SMS

ส่วนการส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ผู้ประกอบการจะต้องส่งเป็นไฟล์ XML เท่านั้น และต้องเก็บใบกำกับภาษีไว้อย่างน้อย 5 ปี

e-tax invoice ลดหย่อนภาษี 2568

Easy E-Receipt 2.0 เป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568 ที่ให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท โดยแบ่งเป็น 30,000 บาทสำหรับการซื้อสินค้าหรือบริการทั่วไป และอีก 20,000 บาทสำหรับสินค้าจาก OTOP, วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคม มาตรการนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 โดยใบกำกับภาษีต้องมีชื่อ-นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

e-Tax invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ควรมีรายละเอียด อะไรบ้าง?

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเป็นไฟล์แบบใดแบบหนึ่ง เช่น PDF, Excel, Word (.PDF, .XLS, .XLSX, .DOC, .DOCX) การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 1 ไฟล์ มีขนาดไม่เกิน 3 MB ที่สำคัญห้ามใช้การถ่ายภาพ หรือการแปลงไฟล์เอกสารกระดาษให้เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่สำคัญต้องมีการลงลายเซ็นดิจิทัล หรือประทับรับรองเวลาเพื่อให้เอกสารถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญในทางกฎหมายได้ โดยใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 (1)-(8) ต้องประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

  1. คำว่า "ใบกำกับภาษี"
  2. ชื่อ ที่อยู่ และเลข 13 หลัก ของผู้ออก
  3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อ
  4. ลำดับที่ เล่มที่ (ถ้ามี)
  5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าสินค้า-บริการ
  6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  7. วันเดือนปีที่ออกใบกำกับภาษี
  8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
  9. ต้องมีคำว่า "เอกสารนี้ได้จัดทำและนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์"
  10. มีลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Digital signature)

เปรียบเทียบใบกำกับภาษีแบบเดิม กับ e-Tax Invoice

รายละเอียด ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ e-Tax Invoice
การออกเอกสาร ต้องพิมพ์เอกสารและสำเนา จัดทำในรูปแบบดิจิทัล
การส่งมอบ ส่งทางไปรษณีย์ หรือมอบให้โดยตรง ส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
การจัดเก็บ เก็บเอกสารกระดาษ 5 ปีขึ้นไป ต้องใช้พื้นที่มาก จัดเก็บในระบบออนไลน์ ปลอดภัยกว่า
ค่าใช้จ่าย ค่าเอกสาร ค่าพื้นที่จัดเก็บ ค่าขนส่ง ลดต้นทุน ลดการใช้กระดาษ
ความปลอดภัย เสี่ยงต่อการสูญหาย เสียหาย มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง

ประโยชน์ของ e-Tax Invoice

  1. ลดต้นทุนและภาระด้านเอกสาร – ไม่ต้องพิมพ์เอกสาร ลดค่าจัดส่งและพื้นที่จัดเก็บ
  2. สะดวก รวดเร็ว – สามารถส่งเอกสารและตรวจสอบสถานะผ่านระบบออนไลน์ได้ทันที
  3. ลดข้อผิดพลาด – ระบบดิจิทัลช่วยลดโอกาสผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลด้วยมือ
  4. ปลอดภัยและตรวจสอบได้ง่าย – เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ป้องกันการสูญหาย
  5. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม – ลดการใช้กระดาษ สนับสนุนนโยบาย Go Green

ผู้ประกอบการ ร้านค้าไหน สามารถออก e-Tax invoice ได้บ้าง

ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร เช็กที่นี่ ซึ่งปัจจุบันมีร้านค้าเข้าร่วมมากกว่า 1,700 แห่งทั่วประเทศ

e-Tax Invoicee-Tax Invoice

e-Tax Invoice by Emaile-Tax Invoice by Email

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล