ปลอมใบหุ้นฟ้องกราวรูดบ.ปูนซิเมนต์
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060

    ปลอมใบหุ้นฟ้องกราวรูดบ.ปูนซิเมนต์

    2009-03-31T00:45:10+07:00
    แชร์เรื่องนี้
    ฟ้องกราวรูด คดีปลอมใบหุ้น อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 6 ผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหาย 222 ล้านบาท เผยจำเลยในคดียาวเป็นหางว่าว 9 ราย ไม่ว่าจะเป็น บ.ปูนใหญ่-รองกรรมการผู้จัดการใหญ่-กรรมการผู้จัดการใหญ่-ผอ.สำนักงาน-จนท. จัดเก็บรักษาใบทะเบียนหุ้น-ที่ปรึกษาฝ่ายจัดการ บ.ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์-บ.หลักทรัพย์เกียรตินาคินฯ ศาลนัดพิจารณาเช้าวันที่ 8 มิ.ย.

    ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก วันที่ 26 มี.ค. นายพิบูลศักดิ์ สุขพงษ์ ทนายความ ได้รับมอบอำนาจจาก นายวรรณพงษ์ รุ่งโรจน์วุฒิกุล ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวรรโณทัย อมาตย กุล, นายเกียรติพงศ์ อมาตยกุล อธิบดีผู้พิพาก ษาศาลแรงงานภาค 6 และ น.ส.วรรณโสภิน อมาตยกุล เป็นโจทก์ที่ 1-3 ยื่นฟ้อง บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), นายกานต์ ตระกูล ฮุน รอง กก.ผจก.ใหญ่, นายชุมพล ณ ลำเลียง กก.ผจก.ใหญ่, นายวรพล เจนนภา ผอ.สำนัก งาน บ.ปูนซิเมนต์ฯ, นายประพันธิ์ ชูเมือง เจ้าหน้าที่จัดเก็บรักษาใบทะเบียนหุ้น หรือโอนหุ้น, นางดวงกมล เกตุสุวรรณ, นายสบสันต์ เกตุสุวรรณ ที่ปรึกษาฝ่ายจัดการ, บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน จำกัด ซึ็นตัวแทน ในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นจำเลย ที่ 1-9 เรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหายจำนวน 222,597,234 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5

    โดยโจทก์ระบุความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 51 นายวรรโณทัย อมาตยกุล ผู้ถือหุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เบาหวาน และศาลแพ่งมีคำสั่งตั้งนายวรรณพงษ์ เป็นผู้จัดการมรดก ต่อมาวันที่ 11 ธ.ค. 51 นายวรรณพงษ์ นำใบหุ้นที่อยู่ในความครอบครองของทายาท และโจทก์ที่ 2-3 ซึ่งเป็นบุตร-ธิดา ไปติดต่อกับจำเลยที่ 8 เพื่อตรวจสอบและโอน มรดกให้แก่ทายาท แต่เมื่อจำเลยที่ 8 ตรวจสอบใบหุ้นแล้วยึดไว้ โดยอ้างว่าเป็นใบหุ้นปลอม และเป็นใบหุ้นที่ถูกเพิกถอนไปแล้ว กระทั่งวันที่ 7 ม.ค. 52 จำเลยที่ 8 มีหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบใบหุ้นดังกล่าวว่า จำเลยที่ 5, 6 และ 9 เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย จนวันที่ 30 ม.ค. 52 โจทก์ทั้งสาม ทราบเหตุละเมิดว่ามีการลัก และปลอมใบหุ้น ทำให้โจทก์ที่ 2-3 ต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน คือใบหุ้น ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เมื่อพยายามใช้สิทธิ ตามเอากรรมสิทธิ์กับผู้เกี่ยวข้อง และจำเลยในคดีนี้คืนแก่โจทก์ แต่ได้รับการปฏิเสธ

    ทั้งนี้โจทก์คูลค่าหุ้นปูนใหญ่ในวันที่ถูกกระทำละเมิด เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 47 และวัน ที่ 17 ต.ค. 49 ทั้งสองครั้ง รวมเป็นมูลค่าหุ้น 164,633,800 บาท และคิดดอกเบี้ยอัตราร้อย ละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่สูญเสียทรัพย์สินไปจนถึงวันฟ้องอีก 46,629,434 บาท รวมเป็นมูลค่าทรัพย์หุ้นปูนใหญ่ทั้งสิ้น 211,263,234 บาท รวมทั้งดอกผลที่โจทก์ทั้งสามจะได้รับจากหุ้นจำนวน 672,000 หุ้น เป็นเงินจำนวน 1,344,000 บาท รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถาม ค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล เป็นเงินจำนวน 10,000,000 บาท รวมทุนทรัพย์ทั้งสิ้น 222,597,234 บาท โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้จำเลยทั้ง 9 ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ซึ่งศาลรับคำฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1165/2552 โดยนัดพิจารณาในวันที่ 8 มิ.ย. นี้ เวลา 09.00 น.