นายกฯยันไปญี่ปุ่นแจงศก.บอกครม.ผ่านเยียวยาม็อบ

นายกฯยันไปญี่ปุ่นแจงศก.บอกครม.ผ่านเยียวยาม็อบ

นายกฯยันไปญี่ปุ่นแจงศก.บอกครม.ผ่านเยียวยาม็อบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติหลักการเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ชุมนุมทางการเมือง จำนวน 2,000 ล้านบาท ไปแล้ว ยืนยัน มีงบประมาณพร้อมสำหรับการเบิกจ่าย ขณะที่เรื่องการจ่ายเงินคณะกรรมการ ปคอป. จะเป็นผู้พิจารณาในส่วนกระทรวงการต่างประเทศ จะประสานเพื่อชี้แจงให้ทายาทผู้ได้รับผลกระทบที่เป็นชาวต่างชาติ รับทราบต่อไป พร้อมย้ำว่าเป็นการช่วยเหลือทุกกลุ่ม รวมถึง เจ้าหน้าที่รัฐด้วย ส่วนการเยียวยา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีคณะกรรมการอีกชุด เพื่อพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันนอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า กระแสข่าวที่ นักลงทุน จะย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศ จำนวน 25% นั้น จากการตรวจสอบพบว่า เป็นแผนที่มีอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับสถานการณ์อุทกภัยครั้งที่ผ่านมา ซึ่งได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือกับผู้ประกอบการแล้ว ในขณะนี้ยังไม่มีตัวเลขแน่ชัดและจะใช้โอกาสเยือนประเทศญี่ปุ่น อย่างเป็นทางการครั้งนี้ สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและผู้ประกอบการด้วย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้พื้นที่ทำ ฟลัดเวย์ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแล้ว แต่ในหลักการต้องผ่านการพิจารณาของ คณะกรรมการ กอนช. เพื่อให้ภาพรวมเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ซึ่งจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ ส่วนเรื่องการจัดหา แท็บเล็ต ให้กับเด็กนักเรียนนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT ยังไม่ได้เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่า อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ขณะที่ นายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย ติดตามปัญหาหมอกควัน พร้อมกำชับให้ใช้กฎหมายควบคุมเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อป้องกันมลพิษ ครม.เทงบ2.4หมื่นล.ให้คมนาคมป้องน้ำท่วมนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันนี้ ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบวงเงิน 24,828 ล้านบาท จากเม็ดเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย 3.5 แสนล้านบาท ให้ดำเนินการ 246 โครงการ ของทางกระทรวงคมนาคม ในการป้องกันน้ำท่วม อาทิ การยกระดับถนน ทำคันกั้นน้ำ สร้างท่อระบายน้ำต่างๆ ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หลังจากที่กรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ หรือ กนอช. เห็นชอบ ส่วนโครงการป้องกันอุทกภัยในระยะยาวนั้น จะพยายามเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี อาทิ โครงการก่อสร้างคันกั้นน้ำด้านทิศเหนือคลองรังสิต การก่อสร้างทางยกระดับเชื่อมเข้าสู่ท่าอากาศยานดอนเมือง การก่อสร้างทางยกระดับถนนบรมราชชนนี ยกระดับพุทธมณฑลสาย 4 และสาย 5 รวมไปถึงการขุดลอกคูคลอง ในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำต่างๆ เพื่อเป็นการระบายน้ำ ครม.ไฟเขียวหลักเกณฑ์คุ้มครองกองทุนฯภัยพิบัตินายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในฐานะกรรมการกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอหลักเกณฑ์ในการให้ความคุ้มครองของกองทุนส่งเสริมประกันภัยพิบัติ ตามกรมธรรม์ภัยพิบัติ โดยครัวเรือนจะให้ความคุ้มครองรายละ 100,000 บาท คิดเบี้ยประกันร้อยละ 0.5 SME ทุนประกันไม่เกิน 50 ล้านบาท คุ้มครองร้อยละ 30 ของทุนประกัน คิดเบี้ยประกันร้อยละ 1 และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ คุ้มครองร้อยละ 30 ของทุนประกัน คิดเบี้ยประกันร้อยละ 1.25 ซึ่งทั้งหมดจะใช้อัตราเดียวกันทั่วประเทศ ทั้งนี้คาดว่า จะสามารถเสนอขายกรมธรรม์ได้ใน 10 วัน หลังจากนี้ นายประเวช กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กรมธรรม์ประกันภัยพิบัตินั้น จะใช้กับกรณีแผ่นดินไหว อุทกภัย และวาตภัย ที่ได้รับการประกาศให้เป็นภัยพิบัติจากหน่วยงานราชการ หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ที่มีผลกระทบความเสียหายทางกรมธรรม์เกิน 5,000 ล้านบาท ขึ้นไป ครม.อนุมัติงบ 2 พันล้านบาท เยียวยาเหยื่อชุมนุมการเมืองนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเยียวยาทางแพ่งและฟื้นฟูด้วยวิธีการอื่น แถลงว่า ที่ประชุมคระรัฐมนตรี ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 2,000 ล้านบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรม สำหรับกลุ่มผู้เสียชีวิต ทุพพลภาพ และได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่ปลายปี 2548 - พ.ค. 2553 ตามที่คณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ ของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) โดยจะเยียวยาให้ประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ซึ่งจะต้องเป็นผู้ไม่มีการดำเนินคดีใดๆ ทั้งนี้ หากผู้เสียหายได้รับเงินชดเชยบางส่วนแล้ว ก็จะต้องนำมาหักออกจากเงินที่จะได้รับในส่วนนี้ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จะเป็นผู้ดำเนินการจ่ายเงินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ขณะเดียวกัน ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา สามารถยื่นคำร้องเพื่อลงทะเบียนได้ในวันที่ 8 มี.ค. นี้ ที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี กรุงเทพมหานคร พร้อมกันนี้ กลุ่มผู้ประกอบการยืนยันว่าจะให้ความช่วยเหลือเช่นกัน แต่ต้องรอผลการรวบรวมข้อมูลจากคณะกรรมการเพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป 
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook