SUPER JUNIOR พา E.L.F. ย้อนเวลาสู่ยุครุ่งเรืองของดนตรีคลาสสิก | Sanook Music

SUPER JUNIOR พา E.L.F. ย้อนเวลาสู่ยุครุ่งเรืองของดนตรีคลาสสิก

SUPER JUNIOR พา E.L.F. ย้อนเวลาสู่ยุครุ่งเรืองของดนตรีคลาสสิก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 30 และ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปชมคอนเสิร์ต Super Show 9: Road ของวงบอยแบนด์ในตำนานอย่าง SUPER JUNIOR มา บอกเลยว่าเป็นสองวันที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานคุ้มค่าสุดๆ กับการแสดงหลากหลายรูปแบบ และแน่นอนว่าในฐานะนักดนตรีคลาสสิกก็คงจะไม่พูดถึงช่วง “The God of Music” ที่พี่ๆ เอสเจแต่งตัวสวมบทบาทเป็นนักประพันธ์ชื่อก้องโลกไม่ได้เลย บทความนี้จึงถือโอกาสนี้มาแนะนำคาแรคเตอร์ของแต่ละคนให้ผู้อ่านทุกท่านได้รู้จักกันมากขึ้น


Leedel (Leeteuk + Handel)

อีเดล (อีทึก + ฮันเดล)

1685-1759

Leedel (Leeteuk + Handel) 

George Frideric Handel

นักแต่งเพลงชาวเยอรมันผู้มีช่วงชีวิตอยู่ในยุคบาโรก เขาเกิดและเติบโตในประเทศเยอรมนีก่อนจะย้ายไปอยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในช่วงครึ่งหลังของชีวิต เขาเข้าไปรับใช้กษัตริย์ George ที่ 1 เป็นที่โปรดปรานจนถึงกับได้สัญชาติอังกฤษเพิ่มมาเลย

ฮันเดลมีผลงานการประพันธ์ที่โด่งดังเยอะมาก แม้ชื่อของเขาอาจไม่คุ้นหูนักสำหรับคนทั่วไป แต่บทเพลงของเขากลับสอดแทรกอยู่ในหลากหลายสื่อ ชนิดที่ประเทศเกาหลีใต้ถึงกับยกย่องให้ฮันเดลเป็นมารดาของดนตรีเลยทีเดียว

หนึ่งในเพลงของฮันเดลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเพลง "Hallelujah" ท่อนหนึ่งจาก "Messiah" ที่เป็นบทประพันธ์ชิ้นใหญ่อลังการ แค่ขึ้นมานิดเดียวเชื่อว่าหลายคนจะต้องรู้จักแน่นอน

Handel's 'Hallelujah!' Chorus live at the Sydney Opera House

อีกหนึ่งบทเพลงดังของฮันเดลมีชื่อว่า "Zadok the Priest" หนึ่งในเพลงที่เขาแต่งเพื่อประกอบพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ George Augustus ลูกของ George ที่ 1 เพลงนี้ UEFA สหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรปได้นำเอาดนตรีมาเรียบเรียงพร้อมใส่เนื้อร้องใหม่จนกลายมาเป็นเพลงประจำการแข่งขัน UEFA Champions League นั่นเอง

UEFA Champions League Official Theme Song

 

Handel x K-pop

Dreamcatcher(드림캐쳐) 'GOOD NIGHT' MV

Dreamcatcher นำ Chord progression หรือแนวทางการเดินคอร์ดจากเพลง "Suite No.7 in G minor, HWV 432" นาทีที่ 15:06 ท่อน "Passacaglia" อันโด่งดังมาใช้

G F Handel - Suite No 7 in G minor - HWV 432 - Richard Egarr

 

—------------------------------------------------------------------

 

Yeydn (Yesung + Haydn)

เยเดิน (เยซอง + ไฮเดิน)

1732-1809

Yeydn (Yesung + Haydn)

Franz Joseph Haydn

ไฮเดิน คีตกวีชาวออสเตรียนจากยุคคลาสสิกเพื่อนร่วมรุ่นกับโมสาร์ท บุคคลนี้ถูกยกย่องให้เป็นทั้งบิดาแห่ง String quartet (วงเครื่องสาย 4 คน ประกอบไปด้วย 2 ไวโอลิน 1 วิโอลา และ 1 เชลโล) และบิดาแห่งซิมโฟนี เพลงสำหรับวงออร์เคสตราที่เขาแต่งไว้และถูกเผยแพร่ตีพิมพ์ออกมาถึง 104 บท! เขาและโมสาร์ทคือสองคนที่สร้างมาตรฐานให้กับบทเพลงในยุคคลาสสิกที่ลดความซับซ้อนลงจากยุคบาโรก มีกฎเกณฑ์แบบแผนตายตัวขึ้น และมีโครงสร้างที่ชัดเจน

พูดถึงเพลงดังของไฮเดินแล้วก็ต้องขอยกเพลง "Surprise Symphony" หรือซิมโฟนีหมายเลข 94 ในท่อนที่ 2 นี้มาให้ฟัง กับความขี้เล่นขี้แกล้งของไฮเดินให้คนฟังที่อาจจะกำลังผล็อยหลับระหว่างคอนเสิร์ตได้ตกใจเล่น

Haydn, Symphony No. 94 in G Major (Surprise) Second Movement: Andante

ซิมโฟนีอีกบทที่บรรยายถึงจังหวะการเดินของนาฬิกา ฟังแล้วจะเห็นภาพเลย

Haydn: Symphony No. 101 “The Clock” / Antonini · Berliner Philharmoniker

—------------------------------------------------------------------

 

Shin-ch (Shindong + Bach)

ชินหึ* (ชินดง + บาค)

1685-1750

*ภาษาเกาหลีชื่อบาคอ่านว่า ‘บาหึ’

Shin-ch (Shindong + Bach)

Johann Sebastian Bach

นักประพันธ์ชาวเยอรมันอีกท่านผู้โด่งดังแห่งยุคบาโรก ผู้ที่นักวิชาการถึงกับยกให้เป็นสัญลักษณ์ของดนตรีในยุคนี้ เมื่อบาคเสียชีวิตลงในปี 1750 ก็เรียกได้ว่านั่นคือจุดจบของดนตรียุคบาโรกเลย

มีแม่ไปแล้ว แน่นอนว่าต้องมีพ่อบ้าง บาคคือผู้ที่เกาหลีใต้ยกให้เป็นบิดาแห่งดนตรี ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเลยเมื่อดูจากผลงานอันมหาศาลของเขา ผู้ริเริ่มการแต่งดนตรีที่แตกต่าง พาเอาดนตรีที่เคยซับซ้อนฟังยากในยุค Renaissance ให้บียอนด์กว่าเดิมแต่กลับมีความไพเราะน่าสนใจ

ผลงานที่มีชื่อเสียงของบาคนั้นมีมากมายไปหมด ผู้เขียนเคยได้กล่าวถึงบาคและแนะนำผลงานของเขาไปไม่น้อยในบทความ Red Velvet “Feel My Rhythm” ปลุกชีพ Bach กลับมาอีกครั้ง เพราะฉะนั้นในบทความนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำเพลงอื่นๆ เพิ่มเติม

"Toccata and Fugue" เสียงออร์แกนดังกระหึ่มยิ่งใหญ่ที่เรามักจะพบเจอได้ตามภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับแวมไพร์ แดร็กคูลา หรืออะไรก็ตามที่มีความน่ากลัว แม้ว่าในความเป็นจริงบาคจะไม่ได้ตั้งใจแต่งมาเพื่อการนี้ก็ตาม

XAVER VARNUS PLAYS BACH'S TOCCATA & FUGUE IN THE BERLINER DOM

ทำนองคุ้นหูที่คอยปลอบประโลมจิตใจผู้ที่ได้ฟัง "Jesu, Joy of Man's Desiring" จากบทประพันธ์ร้องชุดใหญ่ของบาค ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่ให้กับเปียโนบรรเลงในปี 1926 แล้วก็ดังระเบิดเป็นพลุแตกกันเลย

Daniil Trifonov – Bach: Cantata BWV 147: Jesu, Joy of Man’s Desiring (Transcr. Hess for Piano)

 

Bach x K-pop

BTS (방탄소년단) '피 땀 눈물 (Blood Sweat & Tears)' Official MV

 

ในช่วงต้นของมิวสิควีดีโอมีการใส่เพลง "Mass in B minor BWV 232" ท่อน "Kyrie"

Bach - Mass in B minor BWV 232 - Van Veldhoven | Netherlands Bach Society

—------------------------------------------------------------------

 

Euntonio Vivaldi (Eunhyuk + Antonio)

อึนโตนีโอ วิวัลดี (อึนฮยอก + อันโตนีโอ)

1678-1741

Euntonio Vivaldi (Eunhyuk + Antonio)

Antonio Vivaldi

วิวัลดี จากยุคบาโรกเช่นเดียวกับบาคและฮันเดล แต่เขาคนนี้คือผู้ที่มาจากประเทศอิตาลี นั่นทำให้ลักษณะของดนตรีนั้นมีความแตกต่างออกไปแม้จะมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ถ้าพูดถึงวิวัลดีแล้วก็ต้องเมนชั่นถึงไวโอลินด้วย เนื่องจากเขาเป็นนักไวโอลินที่เก่งมากและยังแต่งเพลงสำหรับไวโอลินเอาไว้มากมายเต็มไปหมด ถ้าไปเวนิสบ้านเกิดของวิวัลดีก็จะเต็มไปด้วยร้านไวโอลิน เอะอะอะไรก็ไวโอลินๆๆๆ

เพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดของที่สุด ทุกคนเคยได้ยินแน่ๆ ก็คือ "The Four Seasons" นั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็น่าจะคุ้นเคยกับท่อน Spring รองลงมาก็ Summer ที่ถูกนำมาใช้แสดงโชว์ทั่วไปบ่อยๆ (เฮนรี่นักร้อง K-pop เองก็ชอบเล่น) ก็เลยขอหยิบเอาท่อน Autumn ฤดูใบไม้ร่วงมาให้ทุกคนได้ลองฟังและจินตนาการถึงภาพใบไม้สีเหลืองแดง

Vivaldi Autumn The Four Seasons

 

นอกจากไวโอลินวิวัลดียังได้แต่งเพลงสไตล์ concerto ที่เป็นการบรรเลงโซโล่ของเครื่องดนตรีกลุ่มหนึ่งร่วมกับวง อย่างเพลงนี้ก็มีทั้งไวโอลิน โอโบ และขลุ่ยรีคอร์เดอร์

Vivaldi: Concerto in G minor R. 576 / Marcon · Berliner Philharmoniker

 

Vivaldi x K-pop

FTISLAND - Missing U M/V

 

อีกเพลงที่นำ Sample ของเพลงคลาสสิกมาใส่แบบเต็มๆ ไปเลย กับบทเพลงแห่งฤดูหนาว ในนาทีที่ 1:20

Chloe Chua - A. Vivaldi: Concerto No. 4 in f minor, Op. 8, RV 297, 'Winter'

 

—------------------------------------------------------------------

 

Sibert (Siwon + Schubert)

ซีเบิร์ต (ซีวอน + ชูเบิร์ต)

1797-1828

Sibert (Siwon + Schubert)

Franz Schubert

ชูเบิร์ตอาจเป็นชื่อที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักมานักในหมู่คนไทย แต่เขาคนนี้เองก็มีความสำคัญมากต่อวงการเพลง นักแต่งเพลงชาวออสเตรียนที่ก็มีช่วงชีวิตสั้นไม่ต่างไปจากโมสาร์ท แค่ 31 ปีแต่กลับแต่งเพลงเอาไว้มากมายไม่ว่าจะเพลงวงเล็ก วงใหญ่ หรือแม้แต่เพลงร้องอีกมหาศาลที่ได้กลายไปเป็นต้นแบบให้กับนักแต่งเพลงดังๆ ในยุคศตวรรษที่ 19 เอาจริง แค่ตอนอายุ 18 ปีนั้นปีเดียวก็แต่งเพลงไปมากกว่า 140 เพลงแล้ว (ที่จริงก็เพราะไม่ค่อยมีเงินเลยทำงานหนัก)

ถ้าหากใครเคยไปเที่ยวเวียนนาก็จะเจอกับสวนสวยๆ ประจำเมืองก็จะพบกับรูปปั้นของชูเบิร์ตซึ่งเป็นบุคคลสำคัญทางด้านดนตรีคนนึงในกรุงเวียนนา

เพลงดัง (ในเกาหลี) เพลงหนึ่งที่ก็ถูกกล่าวถึงในคลิป VCR ของเอสเจด้วยคือ "Die Forelle" หรือเพลงปลาเทราต์ เพลงร้องที่ไปโผล่อยู่ในซีรีส์เรื่อง Penthouse นั่นเอง

[Gracias Choir] Lee Sooyeon, Die forelle, 송어

 

ขอแนะนำอีกสักเพลง เพลงร้องไปแล้ว คราวนี้ขอเพลงบรรเลงวงใหญ่บ้างกับซิมโฟนีที่ไม่เสร็จ!? เป็นเพลงที่ตัวเขาแต่งไม่จบ ตอนแรกก็นึกว่าเสียชีวิตก่อนหรือแต่เปล่าเลย ไม่พอใจผลงานของตัวเองแล้วก็เลยข้ามไปแต่งหมายเลขถัดไปแทน

Schubert: Symphony No. 7 "Unfinished" / Rattle · Berliner Philharmoniker

 

—------------------------------------------------------------------

 

Dongthoven (Donghae + Beethoven)

ทงโธเฟน (ทงเฮ + เบโธเฟน)

1770-1827

Dongthoven (Donghae + Beethoven)

Ludwig van Beethoven

อีกหนึ่งชื่อที่ไม่ว่าใครก็ต้องเคยได้ยิน เบโธเฟนชาวเยอรมันที่ไปใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย จุดศูนย์กลางของดนตรีคลาสสิก (ที่โมสาร์ท ไฮเดิน และชูเบิร์ตก็อยู่) เขาคนนี้คือผู้พลิกหน้าประวัติศาสตร์วงการดนตรีของโลกให้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล จากดนตรีในยุคคลาสสิกที่มีกรอบแบบแผน เขาก็แหวกกฎนั่น ใส่อารมณ์ความรู้สึกและเรื่องราวต่างๆ ลงไปในเพลง ทำให้เพลงสื่อสารมากขึ้น และพาพวกเราทุกคนเข้าสู่ยุคโรแมนติก

ไม่รันทดก็คงจะไม่ใช่นักดนตรีคลาสสิก เพราะเบโธเฟนคือนักประพันธ์ที่หูหนวก! แต่ต่อให้จะไม่ได้ยินเสียงอย่างไรเขาก็ยังสามารถแต่งเพลงเจ๋งๆ ออกมาได้เยอะแยะมากมายไปหมด ทุกวันนี้เพลงของเขาถูกแสดงอย่างต่อเนื่องทั่วโลกเลย

ทุกคนน่าจะรู้จักเพลง พ้ามพ้ามพ้ามผ่าม กันอยู่แล้ว ซิมโฟนีหมายเลข 5 ของเขา ผู้เขียนเลยอยากจะขอมาแนะนำเป็นเบอร์ 3 บ้างบทนี้เนี่ยแหละที่พลิกหน้าประวัติศาสตร์โลก เมื่อเขาแต่งเพลงเพื่อเชิดชูนโปเลียนที่เอาชนะสงครามมาได้ แต่ในตอนหลังนโปเลียนดันสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิซะงั้น เบโธเฟนผิดหวังมากจึงขีดฆ่าชื่อนโปเลียนออก เปลี่ยนเป็นคำว่า Eroica แทนซึ่งหมายถึงวีรบุรุษ

Beethoven: 3. Sinfonie (»Eroica«) ∙ hr-Sinfonieorchester ∙ Andrés Orozco-Estrada

 

ขอเป็นซิมโฟนีอีกสักบทแล้วกัน กับหมายเลข 6 ที่ชื่อว่า "Pastoral" บรรยายบรรยากาศธรรมชาติ ในท้องทุ่งนาเขียวขจี พระอาทิตย์ขึ้น นกร้อง มีท่อนที่เป็นพายุ แล้วก็เป็นฟ้าหลังฝน ชาวสวนชาวไร่ออกมาเต้นรำกัน

Beethoven - Symphony No. 6 (Proms 2012)

 

Beethoven x K-pop

SMTOWN '빛 (Hope from KWANGYA)' MV

 

ทำนองและแนวทางเดินคอร์ดที่ถูกหยิบยกเอามาจากซิมโฟนีหมายเลข 9 ที่โด่งดังที่สุดของเบโธเฟน เสียงดนตรีจากชายผู้หูหนวกสนิทแต่กลับอลังการยิ่งใหญ่ ไพเราะ และกลายเป็นสัญลักษณ์ของมวลมนุษยชาติไปแล้ว

ที่ญี่ปุ่นถึงกับมีการจัดงานแสดงเพลงนี้สำหรับ 10,000 คน แบบที่คนในประเทศต้องซักซ้อมและแย่งกันออดิชั่นเพื่อมาเข้าร่วม

Beethoven - Symphony No.9 (10000 Japanese) - Freude schöner Götterfunken

 

—------------------------------------------------------------------

 

Ryeopin (Ryeowook + Chopin)

รยอแปง (รยออุค + โชแปง)

1810-1849

Ryeopin (Ryeowook + Chopin) 

Frédéric Chopin

หากพูดถึงเปียโน ชื่อของนักประพันธ์คนแรกที่จะต้องถูกกล่าวถึงอย่างแน่นอนก็คือโชแปง (เหมาะกับรยออุคที่เล่นเปียโน) นักแต่งเพลงชาวโปแลนด์ท่านนี้ได้แต่งเพลงสำหรับเดี่ยวเปียโนเอาไว้มากมาย มีหลากหลายสไตล์ โดยเฉพาะดนตรีเต้นรำแบบพื้นบ้านของโปแลนด์ เรียกได้ว่าเป็นคนที่มีความรักชาติ ชาตินิยมขั้นสุดยอดจนสื่อผ่านเสียงดนตรีของเขาออกมาอย่างเห็นได้ชัด

โชแปงใช้ชีวิตช่วงครึ่งหลังอยู่ในปารีส ฝรั่งเศส และเสียชีวิตในวัย 39 ปี จะว่าไปก็มีช่วงชีวิตที่ค่อนข้างสั้นอีกเช่นกัน ทำไมนะ นักดนตรีถึงอายุไม่ค่อยยืนกัน…

เพลงของโชแปงก็ต้องยกให้เพลงนี้เป็นเพลงที่โด่งดังที่สุด ผู้เขียนตั้งใจยกเอาเวอร์ชั่นนี้ที่ถูกบรรเลงโดยนักเปียโนชาวเกาหลี ซองจินโช เขาคือคนเกาหลีที่ชนะการแข่งขัน Chopin competition หนึ่งในการแข่งขันเปียโนที่ใหญ่ที่สุดในโลก

Seong-Jin Cho – Chopin: Nocturnes, Op. 9: No. 2 in E Flat Major. Andante

 

อีกสักบทเพลงที่บรรเลงโดยซองจินโช เพลงเต้นรำ "Polonaise" แบบสไตล์โปแลนด์มาเลย มีความโอ่อ่า งดงาม แฝงไว้ด้วยจังหวะที่แข็งแกร่งดั่งชายชาติทหาร

Seong-Jin Cho – Polonaise in A flat major Op. 53 (Prize-winners' Concert)

 

Chopin x K-pop

Don’t Recall X Fantaisie-Imprompt 퍼포먼스 | KARD Chopin | 즉흥환상곡 | Choreography | PerformanceX | 퍼포먼스 바이

 

ตามชื่อเลยว่าเป็นการนำเพลง "Fantasie Impromotu" ของโชแปงมาใส่ในการแสดงชุดนี้ เพลงเปียโนที่ไม่ว่าใครเรียนเปียโนถึงช่วงอายุหนึ่งจะต้องได้เรียนเพลงนี้กันแทบทุกคน

Dmitry Shishkin – Fantasy-impromptu in C sharp minor Op. 66 (third stage)

 

—------------------------------------------------------------------

 

Kyuzart (Kyuhyun + Mozart)

คยูสาร์ท (คยูฮยอน + โมสาร์ท)

1756-1701

Kyuzart (Kyuhyun + Mozart)

Wolfgang Amadeus Mozart

ใครใครก็รู้จักโมสาร์ท นักแต่งเพลงจอมอัจฉริยะจากประเทศออสเตรีย ผู้มีอายุแสนสั้นแค่เพียง 35 ปีเท่านั้น โมสาร์ทเกิดและเติบโตมาในครอบครัวนักดนตรีอย่างแท้จริง เริ่มออกแสดงทัวร์กับคุณพ่อของเขาตั้งแต่อายุยังเป็นเลขหลักเดียวเท่านั้น รวมถึงแต่งเพลงได้ตั้งแต่ยังตัวกะเปี๊ยกนึง เรียกได้ว่าอัจฉริยะของแท้เลยแหละ (เหมาะกับคยูฮยอนผู้เป็นอัจฉริยะด้านคณิตศาสตร์เลย) ที่น่าทึ่งคือด้วยอายุแค่นี้เขาสามารถแต่งเพลงได้มากกว่า 600 ชิ้นเสียอีก ทำได้ยังไงกันนะ

นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิด Mozart’s effect ที่หลายคนอาจจะพอเห็นผ่านๆ คุ้นตาเกี่ยวกับการให้เด็กได้ฟังเพลงคลาสสิกตั้งแต่ยังเล็ก หรือแม้แต่ตั้งแต่ยังอยู่ในท้อง เพื่อที่จะได้เสริมสร้างพัฒนาการและทำให้เป็นอัจฉริยะแบบโมสาร์ทนั่นเอง 

หนึ่งในเพลงดังของโมสาร์ทที่ผู้เขียนมั่นใจมากว่าทุกคนเคยได้ยินผ่านหูมาก่อน บทเพลงเครื่องสายเล็กๆ สำหรับยามค่ำคืน

Mozart: Eine kleine Nachtmusik - Concertgebouw Kamerorkest - Live Concert - HD

 

อีกเพลงที่ขอแนะนำคือ Oboe concerto (โอโบคือเครื่องดนตรีที่ผู้เขียนเล่นนั่นเอง!) เพลงนี้เป็นเพลงน่ารักๆ ที่ไปโผล่อยู่ในภาพยนตร์เรื่อง Nodame Cantabile ใครเคยดูก็อาจจะคุ้นกับฉากโมสาร์ทสีชมพู

08 Mozart's Oboe Concerto in C major, K. 314 [R-S Orchestra]

 

Mozart x K-pop

H.O.T. '아이야! (I yah!)' MV

 

ที่สุดของการนำเอาทำนองจาก "Symphony หมายเลข 25" ของโมสาร์ทมาทำให้กลายเป็นเวอร์ชั่นที่ดุ ดิบ เถื่อน สะใจมาก (แถมตรงกลางแอบมีใส่ "Moonlight Sonata" ของ Beethoven มาด้วย)

Mozart: Sinfonie g-Moll KV 183 ∙ hr-Sinfonieorchester ∙ François Leleux

—------------------------------------------------------------------

ในโชว์ของเอสเจนั้นเริ่มต้นมาด้วยการร้องประสานเสียงเป็นคอร์ดเพื่อแนะนำตัว “We are SUPER JUNIOR!” ก่อนที่จะมีการนำเพลงดังของตัวเองอย่างเพลง "SPY", "Rokkugo" และ "Mamacita" มาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ โดยใช้ดนตรีแบบออร์เคสตราประกอบกับสไตล์การร้องที่เลียนแบบวิธีการร้องแบบคลาสสิก ทำให้เพลงออกมามีสีสันที่คล้ายกับเพลงในอุปรากร (Opera) จะว่าไปก็กึ่งๆ เป็น Musical ด้วย ถือว่าเป็นช่วงที่ฉีกออกจากคอนเสิร์ตทั้งหมดตลอด 3 ชั่วโมงครึ่ง รวมไปถึงตลอดการจัดคอนเสิร์ตทั้ง 9 ครั้งที่ผ่านมา ไม่น่าเชื่อว่าไอเดียนี้จะถูกนำออกมาแสดงในคอนเสิร์ต K-POP

จุดที่น่าสนใจในมุมมองของนักดนตรีคลาสสิกคือบทสนทนาของเหล่าเอสเจในคลิป VCR ที่มีการสวมบทบาทโรลเพลย์เป็นนักประพันธ์ทั้งหลาย มีการพูดเกี่ยวกับตัวนักประพันธ์คร่าวๆ เช่นไฮเดินเป็นบิดาแห่งซิมโฟนี เบโธเฟนหูหนวก รวมไปถึงการเมนชั่นบทเพลงคลาสสิกที่ถูกแต่งโดยคีตกวีคนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น "Marriage of Figaro" ของโมสาร์ต "Die Forelle" ของชูเบิร์ต หรือ "The Four Seasons" ของวิวัลดีที่ถูกเปิดตามห้องน้ำเป็นต้น แล้วไหนจะยังการผสมชื่อของเอสเจกับนักประพันธ์ เล่นมุกต่างๆ อีกสารพัดที่ถ้าหากไม่ได้รู้จักชื่อและไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านดนตรีก็คงจะไม่เข้าใจอย่างแน่นอน

นี่ทำให้เราเห็นเลยว่าดนตรีคลาสสิกนั้นเป็นพื้นฐานที่คนเกาหลีส่วนใหญ่มี การศึกษาด้านดนตรีที่แข็งแรง ซัพพอร์ตจากรัฐบาลที่เห็นคุณค่าศิลปะส่งผลต่อผลงานที่ถูกนำเสนอออกมาในทุกอณูจริงๆ

น่าเสียดายที่เอลฟ์ไทยหลายคนอาจจะไม่ได้รู้จักนักประพันธ์เหล่านี้มากนัก ในคอนเสิร์ตหลายคนก็จะมีอาการงงๆ ตามไม่ทันกันบ้าง หวังว่าบทความนี้จะเป็นไอเดียให้กับผู้อ่านที่จะสามารถเข้าใจ สนุก และ appreciate แนวคิดการนำเสนอคอนเสิร์ตของ SUPER JUNIOR มากยิ่งขึ้นไปอีก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook