มาวางแผนเกษียณอายุกันเถอะ (2)

มาวางแผนเกษียณอายุกันเถอะ (2)

มาวางแผนเกษียณอายุกันเถอะ (2)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรามาลองคำนวณเรื่องการวางแผนเกษียณอายุกันต่อนะคะ จากตอนที่แล้วเราจบที่ขั้นที่ 3 ในการวางแผนเกษียณอายุ ส่วนวันนี้เราจะมาต่อกันที่ขั้นที่ 4 ในการวางแผนเกษียณอายุค่ะ


4. ประมาณการแหล่งเงินทั้งหมดที่เตรียมไว้เพื่อการเกษียณอายุ เช่น เงินบำเหน็จบำนาญ เงินรับจากประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รายได้จากการลงทุน การประกันชีวิต เป็นต้น ว่าเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่


ในขั้นนี้เราจะตั้งต้นคำนวณกันว่าสินทรัพย์ที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน หรือก็คือตั้งแต่คุณเริ่มทำงานมา ได้มีการสะสมทรัพย์สินหรือสินทรัพย์อะไรไว้บ้าง และสินทรัพย์เหล่านั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ในปัจจุบัน และเมื่อถึงตอนที่เราต้องการเกษียณอายุ สินทรัพย์เหล่านี้จะโตเป็นมูลค่าเท่าไหร่ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น นิมีตัวอย่างการคำนวณมาให้ดูด้วยค่ะ

ซึ่งการคำนวณในขั้นนี้ก็คือการคำนวณมูลค่าอนาคตของเงินก้อนเดียวนั่นเองค่ะ โดยมูลค่าปัจจุบันของเงิน bเล็ก ด้วยผลตอบแทน i ใดๆ เมื่อเวลาผ่านไป 27 ปีจะโตเป็น B ใหญ่ค่ะ เช่น
เงินฝากประจำ 200,000 บาทในวันนี้ (PV) ที่ดอกเบี้ย 2% ต่อปี (i) เมื่อผ่านไป 27 ปี (n) จะกลายเป็น 341,377 บาท (FV) ส่วนสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ก็มีการคำนวณในแบบเดียวกันค่ะ ก็จะได้ตัวเลขที่เห็นในตารางเลยค่ะ


จากตารางข้างต้นจะเห็นว่านิมีแหล่งเงินที่เตรียมไว้เพื่อการเกษียณอายุรวมทั้งสิ้น 1,400,000 บาท ซึ่งก็คือ b เล็กของนินั่นเอง รายละเอียดแหล่งเงินและอัตราผลตอบแทนที่ได้รับของแหล่งเงินต่างๆ ดังแสดงในตาราง หากนิไม่ได้มีการวางแผนเก็บเงินและลงทุนเพิ่มเติมใดๆ ทั้งสิ้น ปล่อยให้เงินที่มีอยู่ อยู่ในที่ที่เคยอยู่ และได้รับผลตอบแทนแบบเดิมๆ เมื่อเวลาผ่านไป 27 ปี b เล็กของนิก็กลายเป็น B ใหญ่ที่มีมูลค่า 8,473,763 บาทค่ะ คำถาม คือ เงินก้อน B ใหญ่ที่ 8,473,763 บาทเพียงพอต่อการเกษียณอายุของนิมั้ยคะ


เพื่อตอบคำถามดังกล่าวข้างต้น ขอให้คุณนำ B ซึ่งมีค่าเท่ากับ 8,473,763 บาทเป็นตัวตั้งแล้วลบด้วย A ที่คำนวณได้จากข้อ 3 (จากตอนที่แล้ว) หรือคือเงินที่คุณต้องมีเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 17,300,211 บาท ผลลัพธ์ก็คือ – 8,826,448 บาท นั่นก็แปลว่า กองทุนเพื่อการเกษียณอายุของคุณยังขาดอยู่อีก 8,826,448 บาทค่ะ ถึงตอนนี้คุณคงจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นแล้วนะคะว่าถ้าหากนิไม่มีการวางแผนเกษียณอายุเพิ่มเติมอะไรเลย เมื่อถึงตอนที่นิอายุ 60 ปี เงินที่สะสมไว้ย่อมจะไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตไปอีก 25 ปีที่เหลือหลังเกษียณแน่นอนค่ะ แล้วเราจะต้องทำอย่างไรกันต่อไป เราก็ต้องเริ่มวางแผนเกษียณอายุกันอย่างจริงจังแล้วล่ะค่ะ


เรามาติดตามกันในตอนหน้าดูค่ะว่า ส่วนขาดอีก 8,826,448 บาท เราจะมีวิธีเตรียมอย่างไร

หากสนใจวางแผนเกษียณอายุ สามารถส่งข้อมูลของคุณมาได้ที่ nipapuntalk@hotmail.com ค่ะ

ผู้เขียน โค้ชนิ นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® เจ้าของผลงาน pocket book ‘เปลี่ยนชีวิตสู่ความมั่งคั่งด้วยการวางแผนการเงิน’ ‘มีเงินล้านด้วยการวางแผนการเงิน’ ‘อยากรวยต้องรู้จักวางแผนการเงิน’ และ ‘รวยทะลุเป้า’

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook