อันตรายถึงชีวิต! ออกกำลังกายหนัก ระวังโรค “เสพติดกล้ามเนื้อ”

อันตรายถึงชีวิต! ออกกำลังกายหนัก ระวังโรค “เสพติดกล้ามเนื้อ”

อันตรายถึงชีวิต! ออกกำลังกายหนัก ระวังโรค “เสพติดกล้ามเนื้อ”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทรนด์ดูแลสุขภาพกำลังมาแรงมากๆ ในระยะ 2-3 ปีให้หลังมานี้ ไม่ว่าจะฟิตเนส วิ่ง โยคะ และการทานอาหารคลีน ยิ่งคุณผู้ชายหันมาทานโปรตีน ทั้งโปรตีนเชค อกไก่ และยกเวทอย่างหนัก หวังจะได้กล้ามเนื้อแน่นๆ ซิกแพ็คเท่ๆ รูปร่างดี เพิ่มบุคลิกให้ตัวเอง และสุขภาพแข็งแรงด้วย แต่คุณสำรวจตัวเองดีๆ สิคะว่ากำลัง “เสพติดกล้ามเนื้อ” อยู่หรือเปล่า?

 

โรคเสพติดกล้ามเนื้อ คืออะไร?

รู้จักโรค “อะนอเร็กเซีย” กันแล้วใช่ไหมคะ ที่คุณผู้หญิงยอมอดอาหาร ทานแล้วล้วงคอให้อาเจียน ผอมแล้วก็ยังไม่พอ มองตัวเองว่ายังอ้วนอยู่ตลอด โรคเสพติดกล้ามเนื้อของผู้ชายก็เช่นกันค่ะ ชื่อเรียกยังคล้ายกันเลย “โรคไบกอร์เร็กเซีย” ดังนั้นอาการก็จะคล้ายกัน คือ ยังมองตัวเองว่าตัวเล็กอยู่ตลอดเวลา ตัวเล็ก กล้ามเนื้อเล็ก ต้องออกกำลังกายเพิ่ม ยกเวทเพิ่ม กินโปรตีนเพิ่ม ทั้งที่จริงแล้วคุณก็อาจกำลังมีหุ่นที่สมส่วนดีอยู่แล้ว แต่ยังไม่พอใจในรูปร่างของตัวเองเสียที เป็นอาการโรคจิตอย่างหนึ่ง

 

อันตรายจากโรคเสพติดกล้ามเนื้อ

ผู้ป่วยโรคเสพติดกล้ามเนื้อ ถือเป็นผู้ป่วยทางจิต ที่เมื่อไม่ได้ หรือไม่มีรูปร่างที่ตนเองต้องการ ก็จะเกิดอาการซึมเศร้า อมทุกข์ เครียด ไม่พอใจ ไม่ภูมิใจในตัวเอง จนบางครั้งนอกจากอันตรายที่เกิดขึ้นจากการขาดสารอาหารแล้ว ยังอาจได้รับอันตรายจากการใช้ยาสเตียรอยด์ ในบางรายที่เผลอใช้ตัวช่วย (เหมือนที่ผู้หญิงทานยาลดความอ้วน) และหากยังซึมเศร้าต่อไปเรื่อยๆ อาจกระทบถึงการใช้ชีวิต หน้าที่การงาน การเข้าสังคม จนเลยเถิดไปถึงการคิดฆ่าตัวตายได้

 ไม่พอใจในรูปร่างของตนเอง แม้ว่ารูปร่างจะปกติดีอยู่แล้ว เป็นอาการเริ่มต้นของโรคเสพติดกล้ามเนื้อ

10 สัญญาณอันตราย โรคเสพติดกล้ามเนื้อ

1. ต้องไปออกกำลังกายที่ฟิตเนสทุกวัน หรือบ่อยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

2. พูดถึงเรื่องออกกำลังกายบ่อยๆ หายใจเข้าออกมีแต่เรื่องออกกำลังกาย

3. ชอบส่องกระจกนานๆ และสังเกตรูปร่าง ติเตียนรูปร่างของตัวเองอยู่ตลอดเวลา

4. รับประทานโปรตีนเสริมมากเกินไป

5. หันไปใช้ตัวช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อทุกอย่างที่หาได้ เช่น สารสเตียรอยด์ต่างๆ

6. อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ใจร้อน ขี้โมโห

7. สติหลุดบ้างเป็นบางครั้ง มีอาการคลุ้มคลั่ง ระงับอารมณ์ไม่อยู่

8. ซึมเศร้า หดหู่ เก็บตัวอยู่คนเดียว แยกตัวเองออกจากสังคม

9. ออกกำลังกายมากเกินไปจนกระทบต่อเวลาพักผ่อน และกล้ามเนื้อบาดเจ็บ

10. เลือกการออกกำลังกาย มากกว่าเพื่อน คนรัก คนในครอบครัว งาน และสิ่งอื่นๆ

 ผู้ชายที่เสพติดการออกกำลังกาย มีโอกาสเป็นโรคเสพติดกล้ามเนื้อด้วยเช่นกัน

วิธีหลีกเลี่ยงการเป็นโรคเสพติดกล้ามเนื้อ

1. ปรึกษาเทรนเนอร์ผู้เชี่ยวชาญในด้านการสร้างกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายภายใต้การดูแลของเขาอย่างจริงจัง

2. แบ่งเวลาในการออกกำลังกาย ไม่ให้กระทบต่อการทำกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิต

3. อย่ากดดันตัวเอง รำลึกไว้เสมอว่า ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง รูปร่างเป็นเพียงผลพลอยได้

4. อย่าออกกำลังกายอย่างหักโหมมากจนเกินไป ตั้งเป้าหมายในจำนวนที่พอทำไหว เมื่อถึงเป้าหมายให้หยุด ค่อยเพิ่มจำนวนในวันต่อๆ ไป อย่ารีบเร่ง

5. อย่าเปรียบเทียบรูปร่างของตัวเองกับผู้อื่น เพราะคนเรามีโครงสร้างทางร่างกายไม่เหมือนกัน เราทำได้ดีในรูปร่างแบบของเราก็พอ

6. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สารอาหารต้องหลากหลาย อย่าทานแต่โปรตีนเพียวๆ หรือทานแต่อาหารซ้ำๆ อย่าดื่มโปรตีนเชคมากเกินไป

7. อย่าหันไปใช้ตัวช่วยสร้างกล้ามเนื้ออย่าง สารสเตียรอยด์ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อร่างการได้

 

สาวๆ ว่าต้องระวังแล้ว คราวนี้หนุ่มๆ ก็ต้องระวังบ้างเหมือนกันนะคะ เพราะฉะนั้นใครที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเสพติดหล้ามเนื้อแบบนี้แล้วล่ะก็ ตั้งสติ แล้วรีบแก้ไขตัวเองด่วนๆ ก่อนที่จะเป็นอะไรไปมากกว่านี้นะคะ

 

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก กรมสุขภาพจิต
ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook