“น้ำปลาลดโซเดียม” กับความเข้าใจผิด
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/0/2945/thumb_fish_sauce.jpg“น้ำปลาลดโซเดียม” กับความเข้าใจผิด

    “น้ำปลาลดโซเดียม” กับความเข้าใจผิด

    2016-03-15T11:18:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    คอลัมน์ เครื่องแนม

     

     

    เป็นเรื่องจริงที่ทุกวันนี้คนเราติดรสเค็ม-หวาน-มัน เพราะช่วยชูรส ทำให้อาหารอร่อยขึ้นจริง

    แต่…รสจัดเหล่านี้เป็นตัวการก่อโรคมากมาย เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง น้ำตาในเลือดสูง แล้วที่สุดตามมาด้วย “โรคไต”

    ปีหนึ่งๆ คนเป็นโรคไต “เพิ่มขึ้น 15,000-25,000 คน” ซึ่งไตคนเรานั้นถ้าไม่เสียหายจนถึง 80-90% จะไม่ทราบเลย เพราะไม่มีสัญญาณบอกเหตุใดๆ ทั้งสิ้น เราจึงควรตรวจร่างกายทุกปี

    แต่ประเด็นที่ขอหยิบยกขึ้นมาบอกเล่ากันเป็นเรื่องของ “น้ำปลาลดโซเดียม”

    คิดเร็วๆ เมื่อ “ลดโซเดียม” น่าจะเป็นการดีถ้าจะใช้ลดความเสี่ยงของการกินเค็ม แต่ถ้าอ่านฉลากข้างขวดจะพบข้อความว่า “ใช้เกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต”

    “โพแทสเซียมคลอไรด์” ที่ใช้ให้รสเค็มแทนโซเดียม อาจจะทำให้ผู้บริโภคลดการได้รับเกลือได้จริง แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไต มีปัญหาในการขับของเสียออกจากร่างกายอยู่แล้ว ไม่ว่าโซเดียมหรือโพแทสเซียมคลอไรด์จะทำให้ไตทำงานหนัก และเมื่อโพแทสเซียมสะสมในไตเป็นปริมาณมาก จะเกิดอาการชาตามแขนขา ซึ่งถ้าหนักมากๆ อาจมีผลให้หัวใจหยุดเต้นได้

    “ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า น้ำปลาลดโซเดียมอันตราย แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไตควรใช้วิธีลดการบริโภคเกลือโซเดียมลงจะดีกว่า”