อย. ยกระดับ "ไซบูทรามีน" ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท

อย. ยกระดับ "ไซบูทรามีน" ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท

อย. ยกระดับ "ไซบูทรามีน" ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อย. ยกระดับไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 1 เอาโทษถึงที่สุด หากผลิต นำเข้าหรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีไซบูทรามีนเป็นส่วนผสม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสนบาท-2 ล้านบาท หากขายจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 4-20 ปี และปรับตั้งแต่ 4 แสนบาท-2 ล้านบาท รวมถึงการครอบครองผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการกระทำผิดด้วย

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทว่า จากกรณีผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มีการลักลอบใส่ไซบูทรามีนและเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตโดยไซบูทรามีน(Sibutramine)  ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้รู้สึกไม่อยากอาหารและส่งผลข้างเคียงกับคนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ ปี 2553 ทางประเทศในยุโรปจึงประกาศยกเลิกไม่ให้ใช้ยานี้ รวมทั้งในประเทศไทยได้มีการเรียกเก็บยา ที่มีสารไซบูทรามีนออกจากท้องตลาดและยกเลิกทะเบียนยาไซบูทรามีน แต่ปัจจุบันผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยังแอบเจือปนสารไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อหวังลดน้ำหนัก ซึ่งเข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ผู้ใดผลิต จำหน่ายมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งจากการดำเนินการ ที่ผ่านมายังพบการลักลอบใส่สารไซบูทรามีนในหลายผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงเสนอคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยกระดับไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559  ซึ่งหากผลิต นำเข้าหรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีไซบูทรามีนเป็นส่วนผสมจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสนบาท-2 ล้านบาท หากขายจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 4-20 ปี และปรับตั้งแต่ 4 แสนบาท - 2 ล้านบาท รวมถึงการครอบครองผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นการกระทำผิดด้วย

นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่สามารถลดความอ้วนได้ หากมีการโฆษณาว่าสามารถช่วยรักษาโรค ลดความอ้วน หรือมีผลในทางยา ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจมีส่วนผสมของยา ซึ่งผู้ใช้อาจได้รับผลข้างเคียงจากยานั้นจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากผู้บริโภคต้องการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และควบคุมอาหาร รวมทั้งออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หากผู้บริโภคต้องการใช้ยาลดความอ้วนจะต้องใช้ภายใต้

การควบคุมดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น ไม่ควรหาซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจส่งผลกระทบ กับสุขภาพและชีวิต การใช้ยาลดความอ้วนไม่สามารถทำให้หายจากโรคอ้วนได้ เมื่อหยุดยาไประยะหนึ่งแล้ว   จะทำให้น้ำหนักกลับมาเพิ่มมากยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า YO–YO Effect หากผู้บริโภคพบเห็นเบาะแส การโฆษณา การผลิต/จำหน่ายยาลดความอ้วนผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ รอองเรียนผ่าน Oryor Smart Applicationหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อดำเนินคดีกับ ผู้กระทำความผิดอย่างเข้มงวดต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook