ดัน "รถไฟฟ้า" แจ้งเกิด ผุดสถานีชาร์จ 10 ล้านแห่ง

ดัน "รถไฟฟ้า" แจ้งเกิด ผุดสถานีชาร์จ 10 ล้านแห่ง

ดัน "รถไฟฟ้า" แจ้งเกิด ผุดสถานีชาร์จ 10 ล้านแห่ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

   ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้นำคนสำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญกับพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะรถไฟฟ้า ได้ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2557 น่าจะมีจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งในสหรัฐกว่า 1 ล้านคัน แต่ปัจจุบันส่วนแบ่งทางการตลาดของรถยนต์ดังกล่าวมีไม่ถึง 0.5% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ในประเทศ เนื่องจากปัจจัยด้านราคาจำหน่ายที่สูงจากต้นทุนการผลิต ถือเป็นความท้าทายของทั้งภาครัฐและผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า

   ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตรถไฟฟ้ากว่าครึ่งต้องประสบปัญหาด้านยอดขาย เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงเกินไป โดยเฉพาะแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นเป็นพื้นฐานสำคัญของรถ โดยผู้จำหน่ายที่ไม่ประสบความสำเร็จจากการจำหน่ายรถไฟฟ้า อาทิ ไบรท์ ออโตโมทีฟ ผู้ผลิตชิ้นส่วนในรถยนต์ไฟฟ้า ที่ก่อนหน้านี้ได้ขอรับความช่วยเหลือด้านเงินกู้สำหรับโครงการสนับสนุนการผลิตรถไฟฟ้า แต่บริษัทก็ไม่สามารถรักษาสถานะไว้ได้ และต้องยุติการผลิตลง และฟลิสเคอร์ออโตโมทีฟ หนึ่งในผู้ผลิตรถไฟฟ้าระดับพรีเมี่ยมของสหรัฐ ที่หยุดผลิตไปในปีที่ผ่านมา และอยู่ในระหว่างยื่นเรื่องล้มละลาย แต่เทสลา มอเตอร์ ซึ่งเคยประสบภาวะวิกฤตด้านการเงิน ในไตรมาสแรกของปีนี้นั้นกลับมามีผลกำไรอีกครั้ง จากยอดขายของรถยนต์นิสสัน ลีฟ ที่โตวันโตคืนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

   จากการที่ผู้ผลิตตัดสินใจหั่นราคาจำหน่ายลงหลังจากเปิดตัวไปในสหรัฐและก็มีข่าวดีที่ว่าในอนาคตอันใกล้ยอดขายรถประเภทดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาต้นทุนต่ำลงไปด้วย โดยบริษัทวิจัย ไอเอ็มเอส คาดว่าจำนวนสถานีชาร์จไฟจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากในปี 2554 ที่มีอยู่ 135,000 แห่งทั่วโลก ก็จะเพิ่มเป็น 10.7 ล้านแห่งภายในปี 2563 โดยประเทศที่จะมีการเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้ารวดเร็วที่สุดคือสหรัฐอเมริกา, จีน, ญี่ปุ่น และเยอรมนี

   อลาสแตร์ เฮย์ฟิลด์ รองผู้อำนวยการ บริษัท วิจัยไอเอ็มเอส เปิดเผยว่า จำนวนยอดขายของรถยนต์ไฟฟ้าและปลั๊กอินไฮบริดทั่วโลก ซึ่งไม่ได้มียอดขายสูงตามที่หลายฝ่ายเคยคาดไว้ นั่นมาจากเหตุผลที่ประชาชนต่างก็รอการเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จไฟให้เพียงพอก่อน ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญมาก การเพิ่มสถานีชาร์จไฟจึงช่วยลดความกังวลของผู้บริโภคที่เป็นห่วงว่ารถไฟฟ้าที่ชาร์จจากบ้านอาจจะมีพลังงานไม่เพียงพอให้เดินทางถึงที่หมาย ขณะเดียวกันผู้ผลิตก็พยายามลดข้อจำกัดของรถไฟฟ้าลง เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากกว่ารถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นน้ำมัน ด้วยการใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไออนในการช่วยเก็บพลังงานไฟฟ้า สามารถให้พลังงานได้เทียบเท่ากับการเติมน้ำมัน 1 ถัง โดยลูกค้าสามารชาร์จไฟได้ง่าย ๆ ในจุดเดียวกันกับการเติมน้ำมันในรถยนต์ทั่วไป

   ปัจจุบันค่าเฉลี่ยรถไฟฟ้าในตลาดนั้น เมื่อชาร์จไฟฟ้าเต็ม 1 ครั้ง จะสามารถวิ่งได้ระยะทางราว 100 ไมล์ (ราว 160 กิโลเมตร) ส่วนรถปลั๊กอิน-ไฮบริด อยู่ที่15-35 ไมล์ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง (ราว 24-56 กิโลเมตร) ส่วนรถที่มีประสิทธิภาพสูงคือเทสต์ลาร์ รุ่นเอส ที่สามารถวิ่งได้ไกลต่อการชาร์จ 1 ครั้ง สูงถึง 300 ไมล์ (ราว 480 กิโลเมตร) แต่ก็มีราคาจำหน่ายสูงถึง 100,000 เหรียญสหรัฐ หรือราว 3 ล้านบาท ซึ่งเทสต์ลาร์เองก็พยายามจะผลักดันให้เกิดเครือข่าย "ซูเปอร์ชาร์จเจอร์" หรือสถานีชาร์จไฟฟ้าด่วน ทำให้ในสหรัฐขณะนี้มีสถานีชาร์จไฟฟ้าสาธารณะกว่า 5,894 แห่ง และภาครัฐเองก็พยายามสนับสนุนให้ประชาชนมีที่ชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ส่วนตัว และสถานที่ชุมชนต่าง ๆ และเจ้าของบริษัทต่าง ๆ ก็ติดตั้งสถานีชาร์จไว้ที่สำนักงานสำหรับลูกจ้างได้ใช้ อาทิ เมืองนิวยอร์กน่าจะมีการเพิ่มสถานีชาร์จไฟสาธารณะราว 10,000 แห่งภายใน 7 ปีข้างหน้า ส่วนในประเทศไทยนั้น สถาบันยานยนต์ก็คาดว่าภายในปี 2563 จำนวนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นทั่วโลก ทำให้ประเทศไทยต้องปรับตัวในการเป็นฐานการผลิตที่รองรับกับรถยนต์ประเภทดังกล่าว ส่วนโอกาสที่ผู้บริโภคในประเทศจะได้ใช้รถไฟฟ้านั้น คงต้องจับตาต่อไปว่าภาครัฐจะให้ความสำคัญมากน้อยขนาดไหน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook