ทำความเข้าใจใหม่! หัวใจหยุดเต้น ช็อคไฟฟ้าไม่ได้
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/0/1669/istock_000062230852_medium.jpgทำความเข้าใจใหม่! หัวใจหยุดเต้น ช็อคไฟฟ้าไม่ได้

    ทำความเข้าใจใหม่! หัวใจหยุดเต้น ช็อคไฟฟ้าไม่ได้

    2015-10-21T17:14:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    กลายเป็นภาพติดตาของเหล่าบรรดาติ่งละครหลายเพศหลายอายุ สำหรับซีนละครที่พระเอกนางเอกหัวใจหยุดเต้น เครื่องวัดหัวใจแสดกราฟบนหน้าจอเป็นเส้นตรง พร้อมกับเสียงลากยาว เหล่าหมอและพยาบาลจัดการช็อคไฟฟ้าจนตัวเด้ง แปบเดียวหัวใจกลับมาเต้นเหมือนเดิม รอดตายอย่างปาฏิหาริย์ จบแบบแฮปปี้เอนดิ้งกันไป

    แต่ใครจะไปรู้ว่า ที่เราเข้าใจกันมามันผิดทั้งหมด! ตามหลักการแพทย์แล้วไม่สามารถทำได้จริง ร้อนไปถึงหมอตัวจริงจากเพจ Spartan Doctor ที่ออกมาอธิบาย และฝากความหวังไปถึงผู้จัดละครว่า ในฐานะสื่อมวลชน อยากให้ช่วยปรับบทละคร เพื่อทำความเข้าใจในวงกว้างกันใหม่

    ช็อคไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ทำได้ก็ต่อเมื่อหน้าจอแสดงกราฟเป็นพลิ้วๆ (ventricular fibrillation) เท่านั้น เพราะหัวใจเต้นพลิ้วเต้นรัวเกิดจากการรวนของสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจ เราจึงต้อง ช๊อคไฟฟ้า ให้สัญญาณกลับมาคงที่หัวใจก็จะกลับมาเต้นอีก

    เมื่อกราฟหัวใจแสดงเป็นเส้นตรง หัวใจหยุดเต้นแข็งทื่อ เนื่องจากเป็นการหยุดทำงานเชิงกล (ไม่เต้นสูบฉีดเลือด) ก็ต้องใช้แรงเชิงกลไปกระตุ้นให้บีบ นั่นคือ กดหน้าอกเท่านั้น ( chest compression)

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงกับแพทย์คือ ญาติผู้ป่วยไม่เข้าใจ ว่าทำไมผู้ป่วยบางรายหัวใจหยุดเต้น แล้วทำไมแพทย์ไม่ทำการช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานด้วยการช็อคไฟฟ้า เพราะบางครั้งหากหัวใจหยุดเต้นนิ่งสนิท แพทย์ต้องปั้มหัวใจด้วยการกดหน้าอก หากยื้อชีวิตไว้ไม่ได้จริงๆ ก็ทำอะไรต่อไม่ได้แล้ว

    ถึงแม้จะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับใคร แต่ทราบเอาไว้เป็นความรู้ จะได้เข้าใจการทำงานของแพทย์ได้ดีขึ้นนะคะ

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ค Spartan Doctor