หลอาสนะ - ท่าคันไถ

หลอาสนะ - ท่าคันไถ

หลอาสนะ - ท่าคันไถ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
Hala-asana The Plow Posture ความหมาย หล แปลว่า คันไถ วิธีปฏิบัติ นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้ เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม คำแนะนำ ท่านี้ช่วยบริหารกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นต่างๆ ที่น่องและต้นขา ทำให้ขาดยืดหยุ่นได้มากขึ้น ผู้ที่มีอาการชาที่ขาควรฝึกท่านี้ เมื่อมีการบีบรัดตัวของบริเวณช่องท้อง โลหิตที่ออกมาจากบริเวณนี้จะปล่อยของเสีย และทำให้มีปริมาณอ๊อกซิเจน ในเลือดเพิ่มขึ้น การหดตัวของกล้ามเนื้อช่วยลดแก๊ส ทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นเช่นเดียวกัน เมื่อบริเวณคอ และ อกมีการบีบตัว ก็จะส่งผลไปยังลำคอ ไฮเปอไทรอยด์ และปอด อาการเจ็บหลังจะลดลง เนื่องจากมีการขยับตัว ยืดตัวของสันหลัง ท่านี้ควรทำคู่กับท่า Sarnanga ท่าคันไถ ควรฝึกท่าคันไถ ตอนเช้าระหว่างการนอนกระดูกสันหลัง อาจมีการหดตัวทำให้เกิดอาการเมื่อยที่หลังได้ การทำท่านี้ซ้ำจะช่วยฟื้นฟูความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง และสร้างความตื่นตัว ความหลากหลายของท่า ท่านี้ทำได้หลายแบบ แต่ละแบบล้วนสร้างความยืดหยุ่นที่กระดูกสันหลัง และขา เมื่อชำนาญแล้วอาจลองทำท่าต่างๆ ดังนี้ แกว่งแขนไปรอบๆ ให้มือสัมผัสนิ้วเท้า หรือจับนิ้วเท้าเอาไว้ แล้วคงท่านี้ไว้ดังนี้ วางหัวเข่าลงที่พื้น ให้เข่าอยู่ใกล้ๆ กับหู แขนแกว่งไปรอบๆ แล้ววางไว้บนขา โดยให้แขน อยู่ข้างหลังหัวเข่า มือประกบกันและวางลงบนหัวเข่า เพื่อยืดเข่าให้อยู่ติดกับพื้น ทั้งสองท่านี้ อาจคงไว้ขณะหายใจช้าๆ หรือ กลั้นหายใจ ข้อควรระวัง ท่านี้ไม่เหมาะสำหรับสตรีระหว่างมีรอบเดือน

อัลบั้มภาพ 1 ภาพ

อัลบั้มภาพ 1 ภาพ ของ หลอาสนะ - ท่าคันไถ

หลอาสนะ - ท่าคันไถ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook