เนเธอร์แลนด์ทดลองสร้างบ้านจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติหลังแรกของโลก ทนทาน รวดเร็ว

เนเธอร์แลนด์ทดลองสร้างบ้านจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติหลังแรกของโลก ทนทาน รวดเร็ว

เนเธอร์แลนด์ทดลองสร้างบ้านจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติหลังแรกของโลก ทนทาน รวดเร็ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิตินั้นเป็นกระบวนการเติมเนื้อวัสดุเพื่อทำให้เกิดรูปร่างจับต้องได้ตามต้องการ โดยอาศัยข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล โดยการเติมเนื้อหรือพิมพ์วัสดุเหล่านั้นจะทำเป็นแบบเรเยอร์คือการทำทีละชั้นๆ และในปัจจุบันก็มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในหลายสายงานทั้งการออกแบบ งานด้านการแพทย์ หรืองานด้านวิศวกรรม ฯลฯ เช่นการทำโมเดลเครื่องบินบังคับขนาดเล็ก การหล่อชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับ และสิ่งต่างๆ อีกมากมาย แต่ที่เมืองไอนด์โฮเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์ กำลังทดลองสร้างบ้านด้วยคอนกรีตจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติหลังแรกของโลก ซึ่งคาดว่าจะเสร็จประมาณกลางปี 2019

สำหรับโปรเจกต์การสร้างบ้านด้วยคอนกรีตนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไอนด์โฮเวนและเทศบาลเมืองไอนด์โฮเวนและอีก 4 องค์กร โดยใช้ชื่อโปรเจกต์ครั้งนี้ว่าไมล์สโตน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างบ้านด้วยคอนกรีตทั้งหมด 5 หลังภายในเขตเมียร์โฮเวน เมืองไอนด์โฮเวน โดยหลังแรกคาดการณ์ว่าจะสร้างเสร็จประมาณกลางปีหน้า ส่วนอีก 4 หลังที่เหลือน่าจะเสร็จภายในปี 2023 และใช้งบประมาณมูลค่า 25.4 ล้านบาท

จากขั้นตอนการทำงานของระบบเครื่องพิมพ์ 3 มิตินั้นคือคอนกรีตซึ่งเป็นวัสดุหลักจะถูกเครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างขึ้นทีละชั้นจนกลายเป็นผนังโค้ง ก่อนนำมาประกอบเป็นอาคารทั้ง 5 หลัง ซึ่งลักษณะการดีไซน์บ้านทั้ง 5 หลังนี้จะมีลักษณะคล้ายสโตนเฮนจ์ ที่จะได้รับการพัฒนาต่อให้เป็นสวนประติมากรรม

นอกจากเรื่องของดีไซน์แล้วบ้านจากเครื่องพิมพ์ 3 มิตินี้ยังจะตอบสนองเรื่องการประหยัดพลังงานได้แบบยั่งยืน มีความคงทน สะดวกสบายสำหรับผู้อยู่อาศัยซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในเรื่องการพัฒนาที่พักอาศัยเพื่อประชาชนชาวเนเธอร์แลนด์

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook