โซนนิ่งบ้าน รับวัยคลานกันหน่อย

โซนนิ่งบ้าน รับวัยคลานกันหน่อย

โซนนิ่งบ้าน รับวัยคลานกันหน่อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลัง 6 เดือนแรกผ่าน ช่วงเวลาแห่งความเหนื่อยของพ่อแม่ก็กำลังเริ่มต้นเมื่อเจ้าตัวเล็กเริ่มคืบคลานได้ คุณก็เริ่มนั่งไม่ติดที่ และต้องทึ่งกับพลังมหาศาลของมือน้อยๆและข้อเข่าอวบๆ ที่เคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว คลานไปได้ทุกที่ทั่วบ้าน

การจัดพื้นที่ปลอดภัยในบ้านเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดแก่ลูกน้อยวัยตะลุยคลานเป็นสิ่งที่คุณทำได้ มาดูกันว่าคุณทำอะไรได้บ้าง

- จัดได้เลย พื้นที่สีแดง ภายในบ้านมีจุดอันตรายสำหรับเด็กที่เราสามารถป้องกันไว้ก่อนได้ ได้แก่ ทางขึ้นลงบันได้ ป้องกันโดยติดที่กั้นหน้าบันได, ปลั๊กไฟและเต้าเสียบ ป้องกันโดยหาตัวปิด,ประตู หน้าต่าง หรือตู้ที่ลูกสามารถเอื้อมถึงเปิดเองได้ควรหาที่ล็อคประตูมาใช้เหลี่ยมมุมและขอบโต๊ะที่พอดีกับความสูงของลูกควรหายางกันกระแทกมาครอบ, ผ้าปูโต๊ะที่ชายยาวอยู่ในระยะลูกเอื้อมหรือคว้าดึงได้ ควรเก็บชายให้เรียบร้อย

- ของใหญ่ต้องมั่นคง เฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ที่ล้มคว่ำได้หากมีการเหนี่ยว (เมื่อลูกถึงวัยเกาะยืนหรือหัดเดิน) เช่น ชั้นหนังสือ โต๊ะเครื่องแป้ง ชั้นวางโทรทัศน์ ควรทำการยึดติดกับผนังห้องหรือย้ายไปบริเวณที่ไกลจากพื้นที่เล่นของลูกส่วนสายไฟหรือสายเครื่องใช้ไฟฟ้าควรม้วนเก็บให้พ้นสายตาเบบี๋หรือหาตลับใส่สายไฟมาใช้ หรือจะหาท่อร้อยสายไฟมารวบเก็บสายไฟเข้าไว้ด้วยกัน ป้องกันนักคลานตัวน้อยเอามาพันนิ้วพันคอเล่นเฟอร์นิเจอร์อื่นที่แตกหักหรือล้มง่าย อยู่ในจุดที่ล่อตาล่อใจนักคลานและเป็นอันตรายควรย้ายที่

- นี่ละอาณาจักรของลูก จัดมุมหรือพื้นที่เล็กๆ ให้เป็นของลูกโดยเฉพาะ จะปูพื้นยางหรือใช้ของเล่นของลูกบอกเขตก็แล้วแต่คุณจะจัดสรรค่ะ แม้จะห้ามเบบี๋คลานไปทั่วบ้านไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็มีส่วนที่ลูกเรียนรู้ได้ว่าตรงไหนที่ปลอดภัยกับเขาที่สุด (ซึ่งสำหรับลูกน้อย คงเป็นที่ที่ได้ยินเสียงห้ามน้อยที่สุด) และจะเล่นจะทำอะไรก็ได้ตรงนี้

- หูตาไวตลอดเวลา แม้จะจัดพื้นที่ให้ปลอดภัยเพียงใด แต่ก็ไม่มีอะไรดีเกินไปกว่าการให้ลูกอยู่ในสายตาตลอดเวลา แต่ถ้าคุณจำเป็นต้องปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียวสักชั่วครู่ ก็ควรอุ้มเขาลงเตียง หรือพาไปนั่งบริเวณพื้นที่เล่นเสียก่อน และให้ลูกอยู่ห่างจากสัตว์เลี้ยงด้วย

- สอนลูกเสมอว่าอะไรควรเล่นหรือไม่ควรเล่น มีข้อจำกัดอะไร อย่างไรบ้าง เช่น “นี่ของของแม่ ทาแล้วร้อนเล่นไม่ได้นะจ๊ะ อันนี้ของลูก เล่นได้จ้ะ” ที่สำคัญควรใช้คำเตือนบ้าง เช่น “อุ๊ย” “ร้อน” หรือ “อันตราย”เพื่อให้เจ้าตัวเล็กได้รู้จักการป้องกันตนเองไว้บ้าง

ภาพประกอบจาก http://www.thinkstockphotos.com/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook