ระวัง!!ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานอาจนำไปสู่การตัดขา!

ระวัง!!ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานอาจนำไปสู่การตัดขา!

ระวัง!!ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานอาจนำไปสู่การตัดขา!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบันผู้ที่ป่วยเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกิดขึ้นได้ทั้งผู้ป่วยที่มีอายุน้อยและคนอ้วน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังและก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพกับอวัยวะส่วนต่างๆ ภายในร่างกายเช่น เหงือก ฟัน ตา ไต และเท้า หลายท่านอาจจะสงสัยว่า เบาหวานกับเท้ามันเกี่ยวข้องกันยังไง การที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานๆ มักจะทำให้เกิดการทำลายที่เนื้อเยื่อ และอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย (เหมือนร่างกายถูกแช่อิ่มในน้ำเชื่อม) ดังนั้นผู้เป็นเบาหวานที่คุมปริมาณน้ำตาลในเลือดไม่ดีพอ จะเสี่ยงต่อการที่เส้นประสาทที่ปลายเท้าถูกทำลาย และอาจมีปัญหาของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณเท้า ทำให้เลือดมาเลี้ยงที่เท้าน้อยลง ดังนั้นเมื่อเส้นประสาทถูกทำลาย เท้าบริเวณนั้น ก็จะสูญเสียประสาทรับความรู้สึกไป ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวด หรือ“มีอาการเท้าชา” ทำให้เมื่อมีการบาดเจ็บที่เท้าเกิดขึ้น นำไปสู่การเป็นแผลที่เท้า ได้ง่าย ถึงตรงนี้เมื่อมีแผลแล้วก็จะเกิดการอักเสบติดเชื้อ พอแผลหายยากก็เริ่มลุกลามมากขึ้น นำไปสู่การตัดขาได้


คุณกำลังเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าหรือไม่?

1.เท้าบวมหรือข้อเท้าบวม โดยเฉพาะถ้ามีอาการปวด แดง หรือร้อน ร่วมด้วย

2.เท้าหรือขาเย็นมากๆ (เป็นอาการหนึ่งของการที่เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายน้อยลง เพราะเส้นเลือดตีบ)

3.สีที่เท้าเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นสีแดง น้ำเงิน หรือดำ (อย่ารอจนเป็นสีดำแล้วค่อยมาพบแพทย์นะคะ)

4.แผลเปิด ไม่ว่ารูเปิดจะดูเล็กๆ แค่ไหนก็ตาม เพราะหลายครั้งที่แผลจะดูไม่ใหญ่มาก แผลหายช้า หรือไม่หาย

5.มีเล็บขบ ตาปลา ไม่มีขนขึ้นที่เท้า (เป็นอาการหนึ่งของการที่มีเส้นเลือดที่มาเลี้ยงเท้าตีบ)

 

เมื่อเกิดแผลที่เท้า ควรทำอย่างไร?

1. ถ้าเป็นแผลขนาดเล็ก หรือตุ่มพอง รักษาแผลให้สะอาด ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำต้มสุกที่ทิ้งไว้จนเย็นและสบู่อ่อน ซับแผลให้แห้ง ทายาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ เช่น น้ำยาเบตาดีน หลีกเลี่ยงการใช้ยาทิงเจอร์ไอโอดีน ปิดแผลด้วยผ้าก็อซที่สะอาด

2. ในกรณีที่แผลไม่หายดี มีการอักเสบบวมแดง อย่าเดินไปมา ควรรีบไปพบแพทย์


วิธีป้องกันการเกิดแผลที่เท้าโรคเบาหวาน

1 .ทำความสะอาดเท้าทุกวัน เมืองไทยใช้น้ำธรรมดา ไม่เย็นไม่ร้อน ล้างเท้าด้วยสบู่น่าจะดีกว่าใช้น้ำอุ่น, น้ำอุ่นอาจทำให้ผิวแห้ง คัน หรือเป็นแผลได้

2. ซับเท้าให้แห้ง หลังเท้าเปียกน้ำ, ให้ใช้ผ้าซับเท้าให้แห้ง โดยไม่เช็ดถูแรงๆ เพื่อป้องกันการเกิดแผลถลอก ท้าที่เปียกชื้นนาน เพิ่มเสี่ยงเชื้อรา กลาก

3. ทาโลชั่นเท้า ผิวที่แห้งเพิ่มเสี่ยงอาการคัน แตกปริ เป็นแผลได้ง่าย, หลีกเลี่ยงการทาโลชั่นในซอกนิ้ว เนื่องจากถ้ามีความชื้นสะสมมากเกินไป จะเพิ่มเสี่ยงเชื้อรา

4. ตรวจเท้าทุกวัน ใช้กระจกเงาส่องเท้า หรือให้ญาติสนิทมิตรสหายตรวจฝ่าเท้าทุกวัน, ถ้าพบแผลต้องรีบรักษาทันทีแพทย์ทันที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook