วิธีทำ บัวลอย เนื้อนุ่มหนุบหนับรับไข่หวาน

วิธีทำ บัวลอย เนื้อนุ่มหนุบหนับรับไข่หวาน

วิธีทำ บัวลอย เนื้อนุ่มหนุบหนับรับไข่หวาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บัวลอย เป็นขนมหวานที่ครอบครัวในต่างจังหวัดของเราชอบทำกันมากค่ะ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลงานบุญได้รวมญาติทีไรเป็นต้องจัดขนมบัวลอย นั่นเพราะไม่ใช่แค่บัวลอยเป็นขนมไทยที่หวานหอมอร่อยเท่านั้นนะคะ แต่สมาชิกทุกคนยังได้สนุกเพลินกับการช่วยกันปั้นบัวลอยอย่างอบอุ่นอีกด้วยค่ะ

ช่วงงานบุญวันมาฆบูชาที่ผ่านมาจึงเป็นอีกโอกาสที่บ้านเราทำบัวลอยหม้อใหญ่ไปทำบุญและแจกเพื่อนบ้าน เลยเก็บสูตรของคุณแม่มาบอกต่อเพื่อเป็นประโยชน์กับสาวๆ ที่สนใจอยากทำบัวลอยไว้รับประทานกับครอบครัว ซึ่งบัวลอยสูตรนี้บ้านเราทำมานานเป็นสิบปีแล้วค่ะ ใช้สีธรรมชาติและคงรสของวัตถุดิบ เวลาเคี้ยวไม่เหนียวแป้งจนติดฟัน ลองมาดูกันนะคะว่ามีวิธีทำบัวลอยอย่างไรบ้าง


วัตถุดิบ บัวลอย

เนื่องจากที่บ้านทำปริมาณมาก ให้เพียงพอต่องานบุญ จำนวนสมาชิก และเพื่อนบ้านผู้น่ารัก แต่คงไม่สะดวกนักสำหรับครอบครัวเล็กหรืออยากลองทำรับประทานกันไม่กี่คน เราเลยแจกแจงอัตราส่วนของวัตถุดิบเป็นส่วนเพื่อให้ท่านที่สนใจทำกันเองในครอบครัวเล็กๆ ได้นะคะ

  •  แป้งข้าวเหนียว 1.5 ส่วน (ยี่ห้อใดก็ได้)
  • แป้งมันสาคู 1 ส่วน (ยี่ห้อใดก็ได้)
  • ใบเตยคั้นน้ำเข้มข้น 1 ส่วน (ต่อแป้ง 3 ส่วน)
  • มันเทศ เผือก ฟักทอง อย่างละ 2 ส่วน (ต่อแป้ง 1 ส่วน)
  • กะทิคั้นสด, มะพร้าวน้ำหอม, น้ำตาลทราย, เกลือ, ไข่ไก่ หรือไข่เป็ด (ปริมาณตามชอบ)

วิธีทำ บัวลอย

1.       เริ่มจากนำแป้งข้าวเหนียวและแป้งมันนำมาร่อนผสมกันเตรียมไว้ จากนั้นแบ่งแป้งเป็นส่วน ๆ ตามสีที่ต้องการทำค่ะ ครั้งนี้เราแบ่งเป็นสี่ส่วน คือ สีส้มจากมันเทศ สีเหลืองจากฟักทอง สีนวลจากเผือก และสีเขียวจากใบเตย

2.       นำเนื้อมันเทศ เผือก และฟักทองไปนึ่งจนสุกดี ส่วนใบเตยให้หั่นเป็นชิ้นนำไปปั่น คั้นน้ำเข้มข้นออกมาเตรียมไว้

3.       เมื่อนึ่งสุกดีแล้วจึงนำเนื้อมาบดนวดผสมกับแป้ง โดยประมาณสัดส่วนตามน้ำหนัก 2:1 เช่น หากใช้เนื้อมันสุก 400 กรัม ให้ใช้แป้ง 200 กรัมค่ะ นวดไปเรื่อย ๆ จนเข้ากันดี ส่วนแป้งที่ผสมใบเตยให้ค่อยๆ นวดแล้วหยอดน้ำใบเตยลงไปนะคะ

4.       แป้งที่นวดกับเนื้อมันเทศ เผือก และฟักทอง หากรู้สึกว่าแป้งแห้งไประหว่างนวด ให้เติมน้ำมะพร้าวน้ำหอมทีละนิด แล้วนวดต่อจนได้ที่ค่ะ

นวดเสร็จแล้วค่ะ สีสันตามธรรมชาตินวดเสร็จแล้วค่ะ สีสันตามธรรมชาติ

            5. นำแป้งมาปั้นเป็นก้อนกลมขนาดเท่า ๆ กัน โรยแป้งนวล (แป้งมัน) บาง ๆ ไม่ให้ติดกัน โดยแยกสีเขียวไว้ต่างหากนะคะ เพราะสีเขียวจากไปเตยเป็นแป้งล้วน การนำไปลวกจะใช้เวลานานกว่าสีอื่น ๆ ค่ะ เราต้องแยกไว้ลวกหลังสุด

            6. ปั้นเสร็จนำไปลวกในน้ำเดือด ใช้กระชอนหรือตะแกรงลวกหมั่นคน เมื่อเม็ดแป้งลอยขึ้นแสดงว่าสุกดีแล้ว ให้ตักออกมาน็อกในน้ำเย็นหรือน้ำสะอาดธรรมดาให้คลายร้อนแล้วช้อนออก เพื่อไม่ให้แป้งเละจนเกินไป

            7. ลวกแป้งคละสีทั้งหมดแล้ว นำแป้งสีเขียวมาลวกต่อด้วยขั้นตอนดียวกันค่ะ

 แต๊แด่นนนน สีสวยมากเลยแต๊แด่นนนน สีสวยมากเลย

8. เพื่อให้สมชื่อว่าเป็น “บัวลอย” เราเลยอยากได้ “ดอกบัว” ลอยอยู่บนน้ำกะทิด้วย จึงลงมือใช้แป้งเดียวกันบรรจงปั้นกลีบบางประกอบเป็นดอกบัว แล้วนำไปลวกในน้ำเดือด ขั้นตอนนี้แล้วแต่จะจินตนาการเลยนะคะ แต่แนะนำว่าเมื่อปั้นเสร็จแล้วควรลงน้ำร้อนเพื่อลวกทันที เดี๋ยวแป้งจะแห้งจนกลีบหักไปเสียก่อนค่ะ

เหมือนดอกบัวมั้ยคะนี่เหมือนดอกบัวมั้ยคะนี่

9. บัวลอย เป็นเนื้อคู่กับไข่หวาน เราใช้วิธีเคี่ยวน้ำเชื่อมจากน้ำตาลทรายเตรียมไว้ โดยใส่ใบเตยลงไปด้วยเพิ่มความหอม จากนั้นแบ่งน้ำเชื่อมเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับเติมในน้ำกะทิ อีกส่วนสำหรับทำไข่หวาน โดยตอกไข่ลงน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดนั่นเองค่ะ (เราไม่ตอกใส่น้ำกะทิเพื่อรักษาสีน้ำกะทิให้ขาวสวยและป้องกันไข่แตกเละในหม้อบัวลอยค่ะ)

10. นำน้ำกะทิตั้งไปให้ร้อน แต่ไม่ถึงกับเดือดพล่านจนกะทิแตกมันนะคะ ใส่เนื้อมะพร้าวลงไป ปรุงรสด้วยเกลือเล็กน้อย จากนั้นเติมความหวานด้วยน้ำเชื่อมที่ทำไว้ หวานมากน้อย ชิมรสได้ตามชอบเลยค่ะ

11. เมื่อน้ำกะทิได้ที่ จึงใส่เม็ดแป้งที่ลวกไว้ และไข่หวาน เพียงครู่เดียวก็ดับไฟได้เลยค่ะ ตักใส่ถ้วย แล้วอิ่มอร่อยกับแป้งนุ่มหนุบหนับ หวานกลมกล่อมรับกับไข่หวานกันได้เลย

ทำไข่หวานในน้ำเชื่อมแยกไว้ ก่อนนำมาผสมรวมกันในน้ำกะทิทำไข่หวานในน้ำเชื่อมแยกไว้ ก่อนนำมาผสมรวมกันในน้ำกะทิ

ถ้วยนี้ขนม (เม็ด) บัวลอยไข่หวาน ที่คุ้นตาถ้วยนี้ขนม (เม็ด) บัวลอยไข่หวาน ที่คุ้นตา

ถ้วยนี้ ขนมบัวลอยของแท้ มาทั้งดอกทั้งใบ แถมอร่อยสุดๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook