6 มค. 44 วันเลือก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั่วประเทศ

6 มค. 44 วันเลือก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั่วประเทศ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หลังจากเทศกาลปีใหม่ผ่านพ้นไปแล้วคงไม่มีเหตุการณ์ไหนที่ประชาชน ชาวไทยอย่างเราๆท่านๆจะ เฝ้าคอยผล เท่ากับการเลือกตั้งครั้งนี้ การเลือกตั้งในรูปแบบใหม่ ที่มีทั้งระบบเลือกพรรค และ เลือกคน เราๆท่านๆ คงทราบกันดีอยู่แล้วจากสื่อต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือแม้แต่ใน โลกไร้พรมแดนอย่าง Internet ก็ตาม นับตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อปี 2540 ชาวไทยได้ผ่านการเลือกตั้ง ส.ว. เป็นการชิมลางกันมาแล้วเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และครั้งนี้ถือเป็นครั้งสำคัญ เป็นการเลือกตั้งครั้งใหญ่ ทั่วประเทศและเป็นการเลือกตั้งในระบบใหม่ ที่มีให้เลือกทั้งแบบเบ่งเขต และ ระบบบัญชีรายชื่อครั้งแรกที่ผู้เขียน ได้ยินและรับฟังระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ที่อธิบายด้วยภาษาของนักวิชาการ ค่อนข้างสร้างความสับสนอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน พาลทำให้ผู้เขียนนึกไปถึงญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ในต่างจังหวัด ว่าท่านจะเข้าใจไหมเนี่ย ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ต้องเลือกใคร และ เลือกแบบใด (ดูเหมือนหลวงท่านจะเข้าใจว่า ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศนั้นมีสติปัญญา ทัดเทียมกันทั้งประเทศ (ฮา) ) แต่พอวันเลือกตั้งใกล้เข้ามาประมาณ 1 เดือนก็เห็นทางราชการส่งเจ้าหน้าที่ลงอธิบายตามพื้นที่ ในชนบทห่างไกล (อย่าลืมพื้นที่ในกรุงเทพฯด้วย เพราะขนาดแม่ผู้เขียนอยู่ในกรุงเทพฯยังงงอยู่ว่า จะให้เลือกใคร? อย่างไร?) การเลือกตั้งแบบเบ่งเขต และ บัญชีรายชื่อ แตกต่างกันอย่างไร ผู้เขียนได้ไปคัดลอกคำอธิบายของ การเลือกตั้งทั้งสองแบบมาจาก เวปไซด์ ของกกต. ที่ http://www.ect.go.th อยากให้ท่านผู้อ่าน และเพื่อนลองทำความเข้าใจกับความหมายของการเลือกตั้งทั้งสองระบบนี้ดูแต่ถ้าจะให้อธิบายแบบง่ายๆได้ใจความแล้วก็คือแบบเบ่งเขต เลือกคนที่คุณคิดว่าเขาจะเข้าไป เป็นสิทธิเป็นเสียงให้คุณได้ (สัก 20% ก็ยังดี) ส่วนเลือกแบบบัญชีรายชื่อ คือการเลือกพรรคการเมือง หรืออีกนัยหนึ่งเลือกนายกรัฐมนตรีของ ประเทศนั่นเองค่ะ (ลองดูโหงวเฮ้งความน่าจะเป็น ของหัวหน้าพรรคการเมืองแต่ละพรรคก่อนเลือกก็แล้วกันค่ะ) การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อนี้ใช้เบอร์เดียวกันทั่วประเทศ ตรวจสอบหมายเลขให้ดีก่อน กากบาท ออกเสียงของคุณนะค่ะ ส่วนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งต้องทำอย่างไรบ้าง ผู้เขียนก็ได้ไปคัดลอกมา(อีกครั้ง) จาก เวปไซด์ของ กกต.(http://www.ect.go.th) มาให้ท่านผู้อ่าน ได้ลองศึกษากันดูก่อนค่ะอธิบายถึงที่มาของการเลือกตั้งและวิธีการลงคะแนนไปเรียบร้อยแล้ว วันที่ 6 มกราคม 2544 ที่จะถึงนี้ ถึงแม้ว่าคุณจะยังไม่มีพรรคใด นักการเมืองใดในดวงใจ ผู้เขียนก็อยากเชิญชวนท่านผู้อ่านไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ตอนนี้คำขวัญที่ว่า เลือกคนดีเข้าสภาคงใช้ไม่ได้แล้ว อาจต้องเปลี่ยนเป็นเลือกคนที่ท่านคิดว่าเลวน้อยที่สุดแล้ว ในสายตาท่านเข้าไปก็แล้วกัน ถึงแม้ประชากรเต็มขั้นอย่างเราๆท่านๆ ที่ต้องจ่ายภาษีเต็มในทุกเดือน เพื่อไปพัฒนาประเทศไปเป็นเงินเดือน ให้พวกเขาในสภา ถึงเวลาเลือกตั้งก็ใช้เงินภาษีของพวกเราอีกนั่นแหละค่ะ มาจัดการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้น ออกไปใช้สิทธิ์กันดีกว่าค่ะ เพราะอย่างน้อยนี่คงไปหนึ่งในไม่กี่ครั้งที่คุณ จะใช้ประโยชน์จากภาษีของคุณ ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมีหลายครั้งที่คนไทยหมดหวังกับการบริหารประเทศของนักการเมือง แต่สิ่งที่ดีที่สุดในตอนนี้ที่เราจะทำเพื่อ ประเทศของเราก็คือเดินออกไปใช้สิทธิ์ของคุณ เพราะนั่นคือสิ่งเดียวที่คนไทยอย่างเราๆท่านสามารถทำได้เต็มที่ เพื่อประเทศของเรา เพื่อการเมืองประเทศไทย จะมีอะไรใหม่ๆบ้าง อย่างน้อยผู้เขียนเองที่นอนหลับทับสิทธิ์มานาน ครั้งนี้ก็ขอตื่นไปใช้สิทธิด้วยคนค่ะ (อย่างน้อยจะได้ด่าตัวเองได้เต็มปากว่า "ก็โง่หลงเชื่อเลือกเขาเข้ามาเองนิ (ฮา) ) *ว่ากันว่าถ้าจับนักการเมืองไทยขึ้นเรือ ออกไปในท้องทะเลที่กำลังเกิดมรสุม จะมีอะไรที่รอด? คำตอบคือ ประเทศไทยรอดค่ะ......ฮา จากมติชนสุดสัปดาห์ฉบับวันที่ 1 มกราคม 2544 ด้วยความเคารพในสิทธิ ที่ตนเองมีค่ะ ทีมงานวันว่างการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อพรรคโดยทั่วไปเรียกว่าเลือกตั้งแบบสัดส่วน มีข้อดีที่สำคัญคือเป็นระบบที่นำไปสู่การลดจำนวน พรรคใหญ่ให้เหลือเพียง 2 หรือ 3 พรรค แต่มีข้อเสียที่สำคัญคือผู้แทนในสภาอาจไม่ใช่ภาพสะท้อนของความ คิดเห็นทางการเมืองที่ หลากหลายของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ พรรคต่าง ๆ จะได้ รับจำนวนที่นั่งในสภาตาม สัดส่วนของคะแนนที่ได้รับ สำหรับพรรคที่ได้รับคะแนนไม่ถึง 5% ก็จะไม่ได้ที่นั่งในสภาจาก การเลือกตั้งระบบนี้ การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของประเทศไทยนั้น พรรคการเมืองจะส่งผู้สมัคร โดยเสนอเป็นรายชื่อ โดยเรียงลำดับ ไม่เกินบัญชีรายชื่อละ 100 คน บุคคลในรายชื่อจะต้อง ไม่ซ้ำกับผู้สมัครแบบแบ่งเขต หรือผู้สมัครในบัญชีรายชื่อพรรคอื่น และจะต้องประกอบด้วย รายชื่อจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม (มิใช่มีแต่คนกรุงเทพหรือคนในภูมิภาคหนึ่งใด โดยเฉพาะ) เมื่อมีการสมัครแล้วหมายเลขที่บัญชีรายชื่อนั้นได้รับ จะถือว่าเป็นหมายเลขประจำพรรคการเมืองนั้นด้วย ทั้งนี้การรับสมัครแบบแบ่งเขต จะกระทำขึ้นภายหลัง โดยผู้สมัครแบบ แบ่งเขตที่ส่งโดยพรรคใดจะได้รับหมายเลขเดียวกันกับพรรคนั้น ในการนับคะแนนให้เอาคะแนน ที่แต่ละบัญชีรายชื่อได้รับจาก 400 เขตเลือกตั้งทั่ว ประเทศมารวมกัน วิธีคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้ทำดังนี้ให้จำนวนคะแนนเสียงแบบบัญชีรายชื่อรวม 400 เขตเลือกตั้งทั้งประเทศ = A บัญชีรายชื่อใดได้รับคะแนนไม่ถึง 0.05 A หรือ 5% ของ A ให้ตัดออกไป เมื่อตัดบัญชีรายชื่อที่ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 5 ออกไปแล้ว ให้จำนวนคะแนนเสียง จากบัญชีราย ชื่อที่เหลือรวมกันทั้งประเทศเท่ากับ B ให้ถือ B / 100 = 0.01 B เป็นคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน คะแนนเสียงที่บัญชีรายชื่อได้รับ / 0.01 B = จำนวน ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งจาก บัญชีรายชื่อนั้น + เศษ / 0.01 B ผู้ที่ได้เป็น ส.ส. คือรายชื่อแรก ๆ ของบัญชีรายชื่อ ไล่ไปตามลำดับจนครบจำนวน ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อนั้น มาถึงตอนนี้ ถ้ารวมจำนวน ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งแล้วยังไม่ครบ 100 คน ให้เพิ่ม ส.ส. ให้แก่ บัญชีรายชื่อที่มีเศษมากที่สุดอีกหนึ่งคน เรียงตามลำดับจนกว่าจำนวน ส.ส. รวมแล้วได้ 100 คนการเลือกตั้งแบบเบ่งเขต รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดจำนวนเขตเลือกตั้งไว้แน่นอนตายตัวคือ 400 เขตเลือกตั้ง ดังนั้น จึงต้องเอาจำนวนประชากรทั้งประเทศปีล่าสุดก่อนประกาศให้มี การเลือกตั้ง หารด้วยจำนวน 400 เป็นจำนวนประชากรโดยเฉลี่ย ต่อ 1 เขตเลือกตั้ง ( จำนวนประชากรเฉลี่ย = X ) จังหวัดใดมีจำนวนประชากรน้อยกว่าจำนวนประชากรเฉลี่ยนี้ ให้มี 1 เขตเลือกตั้ง ส่วนจังหวัดอื่นจะได้กี่เขตเลือกตั้งนั้น ให้นำจำนวนประชากรในจังหวัด หารด้วยจำนวนเฉลี่ยนี้ (จำนวนประชากรในจังหวัด ธ X ) หากได้ไม่ครบ 400 เขต ให้เพิ่ม จำนวนเขตให้จังหวัดที่มีเศษเหลือมากไปตามลำดับ จนครบ 400 เขต หลักเกณฑ์ การแบ่งเขตในแต่ละจังหวัด เมื่อได้จำนวนประชากรโดยเฉลี่ยต่อ 1 เขตการเลือกตั้ง( จำนวนประชากรโดยเฉลี่ย = Y) ซึ่งได้มาจากการคำนวน โดยนำประชากรทั้งจังหวัด หารด้วยจำนวนเขตเลือกตั้งของจังหวัดนั้น จากนั้น ก็จะแบ่งเขตเลือกตั้งโดยพิจารณาจาก แต่ละเขตเลือกตั้งต้องมีจำนวนประชากรใกล้เคียง กับ Y เขตเลือกตั้งนั้นต้องมีพื้นที่ติดต่อกัน ถ้าอำเภอใดมีประชากรใกล้เคียงกับ Y ให้ถือ อำเภอนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง คำนึงถึงความสะดวกในการคมนาคม และเคยอยู่ในเขตเลือกตั้ง เดียวกัน แยกหรือรวมเฉพาะบางส่วนของตำบล เป็นเขตเลือกตั้งไม่ได้ ยกเว้นกรณีที่จำนวนประชากรจะไม่ใกล้เคียงกัน หรือไม่มีสภาพเป็นชุมชนเดียวกันการลงคะแนนเลือกตั้ง 1. ผู้มาลงคะแนนต้องลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2. ผู้มาลงคะแนนจะได้รับบัตรเลือก ตั้ง 2 ใบที่มีสีต่างกัน หลังจากพิมพ์ ลายนิ้วหัวแม่มือที่ต้นขั้ว ของบัตรแล้ว 3.บัตรเลือกตั้งใบหนึ่งกาได้หนึ่งกากบาท เพื่อเลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขต 4.บัตรเลือกตั้งอีกใบหนึ่งก็ทำได้หนึ่งกากบาท เพื่อเลือกบัญชีรายชื่อพรรค 5.เมื่อกาบัตรทั้ง 2 ใบแล้ว ผู้มาลงคะแนนหย่อนบัตรด้วยตนเองที่ละใบลงในหีบ บัตรเลือกตั้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook