เดือนตุลา ในความทรงจำ

เดือนตุลา ในความทรงจำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นับตั้งแต่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกในปี 2475 เส้นทางของการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย ล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอด ประวัติศาสตร์บางหน้า เป็นเรื่องที่บางคน อยากให้เลือนหายไปกับกาลเวลา ไม่มีการบันทึกถึงเหตุการณ์ไว้ในปฎิทิน ไม่มีการกล่าวถึงการต่อสู้ของเหล่าวีรชนในแบบเรียน แต่น่าแปลกที่เหตุการณ์ในครั้งนั้นยังคงกลับชัดเจนในความรู้สึกของคนไทยทุกคน และจะชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อการทำงานของเวลาได้เวียนกลับมาย้ำเตือนความทรงจำของบุคคลของเดือนตุลา ทั้งในอดีตและปัจจุบัน 14 ตุลาคม 2516 ประวัติศาสตร์บางหน้าที่หลายคนอยากลืม บนเส้นทางของความขัดแย้งของอำนาจทางการเมือง ในเวลาที่ความอดทนของ ผู้ถูกกระทำจวนเจียนจะเกือบเป็นฟางเส้นสุดท้าย ทุกอย่างหลอมรวมเป็นพลัง มวลชนนับแสนที่ขับเคลื่อนเพื่อเรียกร้องในสิ่งที่พวกเขาเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง นั่นคือ เสรีภาพ และ ประชาธิไตย ภายใต้อำนาจการปกครองที่อยู่ภายใต้กลุ่มอำนาจเพียงกลุ่มเดียว ที่ผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนกันขึ้นบริหารประเทศเป็นห้วงเวลาที่คนไทยทั้งประเทศแห่งการโหยหาประชาธิปไตย อันแท้จริง ในขณะนั้นไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า การเปลี่ยนขั้วอำนาจ การปฏิวัติรัฐประหารจะ หมดไปจากประเทศไทยเมื่อใด มีการร้องหาคำว่าประชาธิปไตยกันเรื่อยมา จวบจนกระทั่งถึง จุดที่ผู้ถูกกระทำ ต้องลุกขึ้นเพื่อรักษา สิทธิของตนเองลำดับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2516นิสิตนักศึกษา อาจารย์ นักหนังสือพิมพ์ และ นักการเมืองถูกจับกุม 11 คนหลังจากชุมนุมกันเพื่อเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ ทั้งหมดถูกแจ้งข้อหามั่วสุมชักชวนให้มีการ ชุมนุมทางการเมือง ผิดประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 4 ที่ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ทางตำรวจปฏิเสธ ไม่ยอมให้เยี่ยม และห้ามประกัน 8 ตุลาคม 2516 นักศึกษาชุมนุมอภิปรายโจมตีรัฐบาลเรียกร้องให้ปล่อยผู้ถูกจับกุม ทั้งหมด 9 ตุลาคม 2516 นักศึกษา นักวิชาการ และ อาจารย์ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ยังคงกดดันให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมด ซึ่งในขณะนี้เพิ่มเป็น 13 คน แต่ รัฐบาล ตอบโต้ด้วยการที่จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ประกาศใช้มาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญปกครองกับผู้ต้องหา ซึ่งให้อำนาจเบ็ดเสร็จ กับนายกรัฐมนตรีโดย ไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมทางกฏหมาย แต่อย่างใด 10 ตุลาคม 2516 ลานโพธิ์ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการชุมนุม 11 ตุลาคม 2516ทางรัฐบาลยังยืนยันไม่ปล่อย 13 ผู้ต้องหาและยืนกรานจะใช้ มาตรา 17 เป็นบทลงโทษ 12 ตุลาคม 2516 หลังจากการชุมนุมติดต่อกันมาตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม ถนน ทุกสายในยังคงมุ่งหน้าสู่ลานโพธิ์ธรรมศาสตร์ 12.00 น. ของวันนั้น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทย ออกคำแถลงการณ์ ยื่นคำขาดว่า ให้รัฐบาลปลดปล่อยบุคคลเหล่านั้นภาย ใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 12 ตุลาคม 2516 เป็นต้นไป หากในเวลา 12.00 น. ของวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ทางศูนย์กลางนิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย ยังมิได้รับคำตอบอันเป็นที่พอใจ ศูนย์กลาง นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จะได้พิจารณา ใช้มาตรการในขั้นเด็ดขาดต่อไป 13 ตค 2516 12.00 น.เมื่อไม่ได้รับคำตอบจากรัฐบาล ฝูงชนกว่า 5 แสนคนเดิน ไปตามถนนราชดำเนิน รัฐบาลส่งทหารและตำรวจออกปราบ มีทั้งรถถังและเฮลิคอปเตอร์ จุดปะทะและนองเลือดมีตลอดสายถนนราชดำเนิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บางลำพู เป็นเวลาถึง 10 ชั่วโมง พร้อม ๆ กับมีคำสั่งห้ามประชาชนออกนอกบ้านระหว่าง 22.00 - 05.30 น. ประกาศปิดโรงเรียน และสถาบันการศึกษาในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และ สมุทรปราการ และกำหนดให้บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศิลปากรเป็นเขต อันตราย เตรียมพร้อมที่จะทำการกวาดล้างใหญ่ 14 ตค. 2516 24.00 น. ช่วงเวลาข้ามคืนจากวันที่ 13 ตุลาคม - 14 ตุลาคม การปราบปรามนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนก็ยังคงดำเนินไปในมาตรการขั้นเด็ดขาด ตลอดคืนนั้น มีการต่อสู้ระหว่างนักเรียน ประชาชน และตำรวจ ที่กองบัญชาการ ตำรวจนครบาลผ่านฟ้า ฝ่ายนักเรียนและ ประชาชนปักหลักสู้จาก ตึกบริษัทเดินอากาศไทย และป้อมพระกาฬ ส่วนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการชุมนุมอยู่อีกเป็นจำนวนหมื่น ผู้นำศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ขาดการติดต่อ การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตยดำเนินไปตลอดคืน นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งจากเหตุการณ์จริงของค่ำคืนอันยาวนาน บนถนนราชดำเนิน ในวันนั้น หัวใจของคนทุกดวงบนถนนราชดำเนิน ต่างต่อสู้จากความรู้สึกสามัญของมนุษย์ ที่ต้องการเพียง "เสรีภาพ" ในวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม ที่จะถึงนี้จะมีพิธีสมโภชสถูปวีรชน 14 ตุลา และ การเฉลิมฉลองอนุสรณ์สถาน ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2544 โดยพิธีการทางศาสนาจะ เริ่มในช่วงเช้า และมีพิธีเปิดในเวลา 18.00 - 21.00 ฯพณฯ พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรนายก ณ สี่แยกคอกวัว ในขณะที่ ชมรมอาสาสมัครเพื่อสังคม ร่วมกับมูลนิธิอาสาสมัคาเพื่อสังคมจัดโครงการ "สานศรัทธา สร้างสังคม ณ บริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯ และ บ้านเซเวียร์ ในวันที่ 13 ตุลาคม 2516 มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายตังแต่การแสดงดนตรีจาก อี๊ด ฟุตบาธ และ หงา คาราวานร่วมไปถึงการเสวนา"ฝ่าวิกฤตสังคมไทย ร่วมใจสานศรัทธาโดยเหล่า นักวิชาการชั้นนำ อาทิ อ. จอน อึ๊งภากรณ์ อ.ธีรยุทธ บุญมี "กางปีกหลีกบินจากเมือง เจ้านกสีเหลืองจากไป เจ้าบินไปสู่เสรี บัดนี้เจ้าชีวาวาย" บทเพลงนกสีเหลือง/คาราวาน Leisure Team
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook