ผวก.รฟท. ส่งทีมเจรจา

ผวก.รฟท. ส่งทีมเจรจา

ผวก.รฟท. ส่งทีมเจรจา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผวก.รฟท. ส่งทีมเจรจาเพื่อจำกัดไม่ให้การหยุดรถขยายเพิ่ม

รฟท. รถไฟ การรถไฟไทย

เช้าวันนี้ (29 สิงหาคม 2551 ) ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟฯ ได้เรียกประชุมผู้บริหารการรถไฟ เพื่อประเมินสถานการณ์ สืบเนื่องจากพนักงานขบวนรถจำนวนหนึ่งใช้สิทธิการลาป่วย ทำให้การรถไฟฯ ไม่มีพนักงานขับรถหลายขบวน 

โดยนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟฯ แถลงต่อสื่อมวลช ภายหลังประชุมว่า การรถไฟฯต้องขออภัย และขอแสดงความห่วงใยที่ผู้โดยสารได้รับความเดือดร้อน การจะพิจารณาดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดต้องถือประชาชนเป็นที่ตั้ง จึงได้สั่งการให้ผู้บริหารรถไฟ หาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อมิให้ประชาชนต้องได้รับความเดือดร้อนมาก โดยจะพยายามจำกัดขอบเขตไม่ให้มีการหยุดขบวนรถขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก เพราะทราบว่ามีพนักงานขับรถ พนักงานช่างเครื่องลาป่วย เพียงประมาณ 10% ของพนักงานทั้งหมด 2,202 คน ส่วนพนักงานอีก 90% ยังปฏิบัติงานตามปกติ ซึ่งผู้บริหารการรถไฟฯ ต้องขอขอบคุณพนักงานเหล่านั้นด้วย 

รฟท. รถไฟ การรถไฟไทย

สำหรับกรณีที่ขบวนรถออกจากต้นทางไปแล้ว และมีปัญหาอาจหยุดเดินระหว่างทาง ได้มีมาตรการแก้ไขโดยประสานกับ บขส. เพื่อการขนถ่ายแล้ว รวมทั้งได้สั่งการให้จัดหาอาหาร เครื่องดื่ม เพื่อบริการผู้ใช้บริการระหว่างที่รอคอยด้วย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของประเทศชาติ

อย่างไรก็ดี การรถไฟฯต้องขออภัยในเหตุการณ์ครั้งนี้ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยจริง ๆ และเพื่อให้สถานการณ์กลับคืนสู่ปกติโดยเร็วการรถไฟฯ ได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการหยุดเดินขบวนรถ เพื่อการทำความเข้าใจกับพนักงานโดยเร่งด่วนแล้ว 

รฟท. รถไฟ การรถไฟไทย

ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชนว่า ในเรื่องการเมือง การรถไฟฯจะเลือกอยู่ข้างไหนหรือไม่นั้น นายยุทธนาฯ กล่าวยืนยันว่า ผู้บริหารทุกคนวางตัวเป็นกลาง และจะปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายอย่างดี ส่วนพนักงานและลูกจ้างบางส่วนนั้นอาจมี 2 สถานะ กล่าวคือ เป็น สมาชิกสหภาพแรงงานฯ และเป็นผู้ปฏิบัติงานตามภารกิจที่ต้องบริการประชาชน

ฉะนั้น ผู้บังคับบัญชาจึงควรเข้าไปทำความเข้าใจให้เห็นว่าควรรับบทบาทไหน เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องเดือดร้อนและตนเองในฐานะผู้ว่าการฯ ก็จะเจรจากับประธานสหภาพแรงงานฯ เพื่อให้ได้ผลโดยเร็ว ซึ่งในเย็นวันนี้จะได้สรุปผลการดำเนินการและวางมาตรการที่ชัดเจน รวมถึง บทสรุปในการเดินรถที่จะส่งผลกระทบถึงประชาชนน้อยที่สุด 

รฟท. รถไฟ การรถไฟไทย

แผนที่เส้นทางรถไฟ

แผนที่ เส้นทางรถไฟ  สายเหนือ แยกออกจากทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีชุมทางบ้านภาชี ผ่านลพบุรี , นครสวรรค์ , พิจิตร , พิษณุโลก , อุตรดิตถ์, เด่นชัย(จังหวัดแพร่), ลำปาง, ลำพูน สุดปลายทางที่สถานีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่(กม.751) และที่สถานีชุมทางบ้านดารา  มีทางแยกไปสุดปลายที่สถานีสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย (กม.457)
แผนที่ เส้นทางรถไฟ  สายะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มจากสถานีกรุงเทพมุ่งไปทางทิศเหนือ ผ่านอยุธยา, สระบุรี, นครราชสีมา บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และสุด ปลายทางที่อุบลราชธานี (กม.575) ที่ชุมทางถนนจิระในจังหวัดนครราชสีมา มีทางแยกไปจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี สุดปลายทาง ที่หนองคาย(กม.624) และที่สถานีแก่งคอย จังหวัดสระบุรีมีทางแยกผ่านลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี, จัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ(กม.346)
แผนที่ เส้นทางรถไฟ  สายะวันออก เริ่มจากสถานีกรุงเทพ ผ่านฉะเชิงเทรา,ปราจีนบุรี สุดปลายทางที่อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (กม. 255) ทาง  ช่วงนี้ที่สถานีชุมทางคลองสิบเก้า(กม. 85) มีทางแยกไปบรรจบทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีชุมทางแก่งคอย(กม.168)  ที่สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา(กม.61 ) มีทางแยกไปท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ(กม.134) ซึ่งในทางช่วงนี้ที่สถานีชุมทางศรีราชามีทางแยกไป ท่าเรือ-แหลมฉบัง (กม. 139) และสถานีชุมทางเขาชีจรรย์มีทางแยกไปยังนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
แผนที่ เส้นทางรถไฟ  สายใต้ เมื่อแรกสร้างมีจุดเริ่มต้นที่สถานีธนบุรี จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้สร้างทางแยกที่สถานีชุมทางบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหก ไปบรรจบกับทางรถไฟสายใต้ที่สถานีชุมทางตลิ่งชัน ทางสายนี้ผ่านนครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา, ยะลา สุดปลายทางที่สุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ทางรถไฟ สายใต้นี้มีทางแยกออกไปอีกหลายสายเริ่มจาก ที่สถานีชุมทางหนองปลาดุก(กม. 80) มีทางแยกไป สุพรรณบุรี (กม. 157) และน้ำตก จังหวัดกาญจนบุรี (กม.210) ที่สถานีชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีทางแยกไปสุดทางที่ คีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (กม. 678) ที่สถานีชุมทางทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราชมีทางแยกไปสุดปลายทางที่กันตัง จังหวัดตรัง(กม.866) ที่สถานีชุมทางเขาชุมทองมีทางแยกไปสุดปลายทางที่นครศรีธรรมราช (กม. 832) และที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ (กม. 945) มีทางแยกไปบรรจบกับ ทางรถไฟของประเทศมาเลเซียที่ สถานีปาดังเบซาร์ (กม. 990)
แผนที่ เส้นทางรถไฟ สายแม่กลอง ไม่ได้เริ่มต้นที่สถานีกรุงเทพโดยเริ่มต้นที่สถานีวงเวียนใหญ่ ไปสุดปลายทางที่มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทาง 33 กม. ช่วงหนึ่ง และเริ่มต้นที่สถานีบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสาคร ไปสุดปลายทางที่สถานีแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ระยะทาง 31 กม. อีกช่วงหนึ่ง

ขอขอบคุณ ข่าว / ภาพ จาก การรถไฟแห่งประเทศไทย www.railway.co.th

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook