ชีพจรลงเท้า บนถนนพระอาทิตย์

ชีพจรลงเท้า บนถนนพระอาทิตย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เดินเที่ยวถนนพระอาทิตย์สัมผัสบรรยากาศ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กับการเดินเลาะเลียบ ลำน้ำ และอิ่มกับ อาหารอร่อย ก่อนต้อนรับ แสงสียามค่ำ บนถนนพระอาทิตย์ ถนนพระอาทิตย์ พื้นที่วังหน้า ระยะทางเพียง 1 กิโลเมตรกว่าๆ แต่เดิม เป็นเส้นทางลัด ไปมา ระหว่าง บางลำพู กับท่าพระจันทร์ จุดเริ่มต้น ของถนนพระอาทิตย์ อยู่ตรงป้อม พระสุเมรุ ตัดอ้อมตามโค้งน้ำ ไปจนถึงหน่วยงานบริการ ของการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย ที่แต่ก่อนตรงนี้ เป็นครัววังหน้า และก่อนหน้านั้นคือ ป้อมพระอาทิตย์ ที่ชาวบ้านย่านนี้ ให้เป็นเส้นทางลัด เพื่อเดินทะลุเข้ามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ไปท่าพระจันทร์ และท่าช้าง ทุกซอกหลืบ บนถนนสายสั้นๆ เส้นนี้ มีเรื่องราว ในอดีตมากมาย เป็นหนึ่งในถนน ไม่กี่สาย ในกรุงเทพฯ ที่ยังคงมีร่องรอย ของชุมชน และภูมิสถาปัตย์ ดั้งเดิม รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์ ถึงปัจุบันน่าเที่ยวน่าชม การเดินท่องเที่ยว เพื่อชมทัศนียภาพ ของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อไม่ให้ร้อน จนเกินไปหนักน่าจะเริ่มตั้งแต่เวลา 15.00-16.00 น.จึงเป็นช่วงเวลา ที่เหมาะสม หรือหากจะมา ตั้งแต่กลางวัน ก็แวะลองชิ้มอาหาร ที่เรียงรายอยู่ริมถนนพระอาทิตย์ เกือบตลอดทั้งถนนเส้นนี้ ขอแนะนำ ร้านอาหาร โรตีมะตะบะ เป็นร้านเก่าแก่ เจ้าของร้านเป็นชาวภารตะ ลี้ภัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 มาตั้งรกราก ที่เมืองไทย ร้านก๋วยเตี๋ยวแม่ร้านก๋วยเตี๋ยวแม่ที่อยู่ คู่ถนนเส้นนี้มานานตั้งอยู่ช่วงต้นของถนนพระอาทิตย์ ส่วนอีกร้าน ที่เก่าแก่ไม่แพ้กัน คือนพรัตน์ ร้านนี้ในอดีต เป็นที่พบปะของ บรรดาชาวธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะนายชวน หลีกภัยให้บริการอาหารไทยรสชาติต้นตำหรับ ไม่ใช่อาหารไทยรสชาติเอาใจฝรั่งดั่งเช่นปัจจุบัน ส่วนขนมหวาน ก็ไม่พ้น ร้านขนมเบื้อง เยื้องกับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นร้านขนม เพียงร้านเดียวที่ได้ตราครุฑ พระราชทานมาประดับหน้าร้านเมื่ออิ่มท้องก็ออกเดิน เมื่ออิ่มท้อง ก็พอเหมาะ แก่เวลาการออกเดิน เริ่มจาก ป้อมพระสุมรุ สองฝั่ง ริมถนนพระอาทิตย์ เรื่อยไป จนถึงที่ทำการ สำนักงานการท่องเที่ยว ที่ก่อนหน้า เป็นร้านอาหาร ครัววังหน้า หรือในอดีตคือ ป้อมพระอาทิตย์ ที่มาของชื่อถนน สองข้างทาง ถนนพระอาทิตย์ จะได้เห็นที่ อาคารบ้านเรือน ทั้งบ้านพระอาทิตย์ หรือตึกเกอเธ่ บ้านเจ้าพระยา ที่ปัจจุบันเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ที่ทำการของ องค์การยูนิเซฟ และสถานที่ราชการอื่นๆ ที่ในอดีตอาคาร ที่ทำการเหล่านี้ คือ ส่วนหนึ่งของวังหน้า ช่วงเช้าจนถึงค่ำ บนถนนสายนี้ ก็เหมือนกับทุกๆ พื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ คงต่างเพียงแต่ว่า เมื่อผู้ว่า กทม. มีนโยบาย สร้างเขื่อนริมน้ำ และสร้างทาง เดินริมน้ำ ให้กับประชาชน พักผ่อนหย่อนใจในยามเย็น ณ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ได้กลายเป็นจุดชมทิวทัศน์แม่น้ำ เจ้าพระยา ยามก่อนพระอาทิตย์ลับขอบตึกรามบ้านช่อง เป็นจุดที่ไม่พลาด รับกระแสลมเย็น จากแม่น้ำเจ้าพระยาถนนพระอาทิตย์ในอดีตคือพื้นที่ของวังหน้า ทำให้บรรยากาศสองข้าง ทางเต็มไปด้วยกลิ่นอาย ของเมืองเก่าเมื่อครั้งยังรุ่งเรือง ใครที่ได้ไปสัมผัส อาจจะหลงรักถนนเส้นนี้ไปอีกนานเลยก็ได้ การเดินทาง หากขับรถยนตร์ส่วนตัวสามารถจอดได้สองข้างริมถนนพระอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 18.00 น.เป็นต้นไปหรือจอดตามซอยในถนนพระอาทติย์ ก็ได้ รถประจำทางสาย6, 15, 53, 82 ทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook