วังท่าพระ
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060

    วังท่าพระ

    2000-12-04T00:00:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้
    ประเพณีเดิมของการตั้งชื่อวังนั้น ตามปกติแล้วจะตั้งชื่อวังตามนามของเจ้านายที่ประทับอยู่ ณ ที่นั้นหรือเรียกขานตามสถานที่ หรือเป็นชื่อตามแต่พระเจ้าแผ่นดินจะทรงตั้งถวายให้ แต่มีอยู่วังหนึ่งที่มีที่มาของ ชื่อวังต่างจากประเพณีเดิมๆ วังที่ว่านั้นอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล จาก พระบรมมหาราชวัง และเป็นที่ที่เรารู้จักกันดี นั่นคือ วังท่าพระ นั่นเอง ก่อนจะมาเป็นวังท่าพระนั้น แต่เดิมสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้อัญเชิญ พระศรีศากยมุนี จาก พระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จากจังหวัด สุโขทัย มาประดิษฐานไว้ ณ วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อพระพุทธรูปมาถึงประตูท่าช้าง ปรากฏว่าอัญเชิญเข้ามาไม่ได้เนื่องจากองค์พระนั้นมีขาดใหญ่เกินกว่าจะนำผ่านเข้ามาได้ จึงจำเป็นต้องรื้อทั้งประตูถอนทั้งกำแพงออก จึงได้เรียกขานอดีตท่าเรือนี้แทนว่าท่าพระ เลยพลอยเรียกวังที่อยู่ใกล้กันนี้ว่า วังท่าพระ ตามไปด้วยวังท่าพระนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 1 สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแด่สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต หรือที่คนสมัยนั้นเรียกท่านว่า เจ้าฟ้าเหม็น และ เจ้าฟ้าพระองค์นี้ก็ทรงประทับ ณ วังนี้จวบจนเข้ารัชกาลที่ 3 จึงได้พระราชทานแด่พระองค์ และเมื่อรัชกาล3 สิ้นพระชนม์ลง วังนี้ก็ตกทอดลงมายังพระองค์เจ้าชุมสาย พระราชโอรสในสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเมื่อวันเวลาผันผ่านมาจนถึงรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงพระราชทานต่อให้ไปยังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ และกรมพระยานริศฯ ก็เสด็จประทับที่วังนี้ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปีพุทธศักราช 2420ต่อมาทายาทของพระองค์ จึงขายวังให้กับทางราชการเพื่อนำมาสร้างเป็นสถาบันศิลปะ ซึ่งปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ที่เคยเข้าไปเยือนเคยสงสัยไหมว่า เหตุใดอาคารต่างๆ ในศิลปากรจึงเป็นทรงยุโรป ทั้งๆที่สร้างกันมาตั้งแต่ ปฐมราชวงศ์จักรี แต่ดันมีเฉพาะหอศิลป์กลางเท่านั้นที่เป็นทรงไทยเดิม ทั้งนี้เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 5ที่ทรงดำริไว้แต่ต้นว่าจะพระราชทานวังท่าพระนี้แด่กรมพระยานริศฯ ด้วยเหตุผลอันสำคัญว่ากรมพระยานริศฯทรงเป็นพระราชปนัดดาในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จึงสมควรจะพระราชทานวังนี้ไว้เป็นที่ประทับ จากนั้นจึงทรงโปรดเกล้าให้รื้อตำหนักอื่นที่ชำรุดทรุดโทรมทิ้งแล้วสร้างใหม่ให้เป็นทรงยุโรปตามสมัยนิยมในขณะนั้น คงเหลือไว้แต่หอศิลป็กลางไว้ให้อยู่ในสภาพเดิม เนื่องจากหอศิลป์ในวันนี้เคยเป็นท้องพระโรงของรัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งกระโน้นนั่นเอง

    ทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com