วัด ไชยวัฒนาราม

วัด ไชยวัฒนาราม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างเมื่อ : พ.ศ.2173 จากตำราเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย นับตั้งแต่ชั้นประถมขึ้นมานั้น คำว่า ไทยรบพม่า เป็นวลีที่อยู่คู่กับกรุงศรีอยุธยา และ กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมาโดยตลอด และแม้ว่านักประวัติศาสตร์ผู้ทรงภูมิ ในปัจจุบันจะพยายามใช้คำว่า มีการทำสงครามระหว่างอโยธยา และ หงสาวดี มากกว่าที่จะใช้คำว่า ไทยรบพม่า ตามแบบที่ กรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพพูดก็ตาม ตราบใดที่นักประวัติศาสตร์ ยังปรารถนาที่จะค้นหาเรื่องราวในอดีตของสยามประเทศต่อ อยุธยากรุงเก่าของเราก็ยังเป็นสถานศึกษาสำคัญอยู่ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นซากของโบราณสถานใดก็ตาม และ แม้ว่าจะได้มีการถกเถียงกันในหมู่ในประวัติศาสตร์ก็ดี นักรวบรวมพงศาวดาร หรือแม้แต่กรมศิลปากรก็ดี มีอยู่สิ่งหนึ่งที่หลักฐานของคนกลุ่มนี้มาพ้องกันคือ การใช้วัดเป็นศูนย์กลางทั้งทางธรรมและทางโลก โดยเฉพาะทางโลกที่สำคัญๆนั้น ที่มากที่สุดจะวัดเหลือแต่ตอ ก็คือ ใช้วัดเป็นที่ตั้งฐานทัพ หรือไม่ก็ใช้ทำลายที่เขตพระนครศรีอยุธยานั้น มีซากวัดใหญ่อยู่วัดหนึ่งที่มีรูปแบบคล้าย ปราสาทพระนครวัดของเขมร เป็นวัดสำคัญที่อดีต พระมหากษัตริย์ในยุคกรุงเก่าใช้เป็นอารามหลวง ที่บำเพ็ญพระราชกุศลแด่กษัตริย์ทุกพระองค์นับตั้งแต่ ยุคสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเรื่อยมา วัดที่ว่านี้เป็นคือ วัด ไชยวัฒนาราม อารามหลวงแบบขอมนี้สร้างขึ้นมานานเกือบ4 ศตวรรษ แต่เดิมนั้นอารามนี้ชื่อว่า วัด กุฏธาราม ซึ่งเริ่มจะมามีบทบาทสำคัญครั้งแรก ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เมื่อครั้งยังรับราชการทหารเป็นเจ้าพระยากลาโหม โดยใช้วัดนี้เป็นธุระจัดงานศพให้กับมารดา และเชิญข้าราชการระดับสูงทั้งหลาย มาร่วมพิธีศพนี้ด้วย ซึ่งในงานศพนี้ เจ้าพระยากลาโหม ถือโอกาสใช้เป็นที่ประกาศ ยึดราชบัลลังก์จาก พระเจ้าอยู่หัวพระอาทิตยวงศ์ กับเหล่าทหาร พลเรือนที่ให้การสนับสนุน และหลังจากที่พระยากลาโหมปราบดาภิเษกเป็น พระเจ้าปราสาททองแล้ว พระองค์จึงสร้างวัดนี้เสียใหม่ และ พระราชทานนามว่า วัด ไชยวัฒนาราม เพื่ออุทิศน์บุญกุศลนี้แด่พระราชมารดาวัด ไชยวัฒนารามนี้ ถูกสร้างขึ้นตามแบบฉบับขอมแท้ ด้วยผังแบบขอมโบราณที่พระปรางค์ประธานตรงกลางที่สูงถึง 35 เมตร ล้อมรอบไปด้วยปรางค์บริวาร 4 ตามทิศ ตามแบบบายนในนครธม ผนังโบสถ์นั้นก็เป็นภาพจิตรกรรมพุทธประวัติตามแบบไทย ซึ่งสี และ ลวดลายจางหายไปมากแล้ว และ ด้วยเหตุที่เป็นอารามหลวงสำคัญ วัดนี้จึงกลายเป็นวัดที่พม่ายึดไว้ใช้เป็นค่ายตั้งรับศึก ในคราวสงครามเสียกรุงครั้งที่ 2 และ เพิ่งจะมาบูรณะเสียใหม่เกือบหมดในปี พ.ศ.2530 นี้เองสิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล LEISURE TEAM ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับ LEISURE TEAMได้ที่ leisure@th.mweb.com
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook