พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 6 หากจะกล่าวถึงพระราชวังของประเทศไทย ในยุครัตนโกสินทร์นั้น แม้ว่ากรุงเทพมหานครจะได้มีอายุมากว่า 2 ศตวรรษ จนได้มาเฉลิมฉลองกันเนื่องในโอกาสที่เมืองหลวงเราเข้าสู่รัตนโกสินศกที่ 220 ในปี พ.ศ.2545 นี้ เรามีพระบรมมหาราชวัง เป็นสัญลักษณ์ชิ้นเอกที่สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระปฐมบรมราชจักรีวงศ์ และมีพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นวังว่าราชการของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ดูไปแล้วก็ไม่ต่างกับที่ราชวงศ์วินเซอร์มีพระราชวังบั๊กกิ้งแฮม เป็นพระราชวังสำหรับทำพระราชพิธีสำคัญๆ และมีพระราชวังวินเซอร์ไว้ว่าราชการ พระราชวังของไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน มักจะใช้เป็นที่แสดงพระบรมราโชวาท และว่าราชการสำคัญๆ อย่างพระตำหนักจิตรลดารโหฐานนั้น มิใช่พระราชวังสร้างใหม่ในยุคพระองค์ หากแต่พระตำหนักนี้สร้างมาแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เดิมนั้น ที่ดินเขตพระราชฐานพระตำหนักเคยเป็นทุ่งส้มป่อย สลับทุ่งนา ซึ่งอยู่ระหว่างพระราชวังดุสิต และพระราชวังพญาไท เหตุที่รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระราชวังแห่งขึ้นหลังจากที่สร้างวังพญาไทได้ 4 ปี เนื่องจากพระองค์มีพระประสงค์จะใช้วังใหม่เป็นที่ดำเนินการพระราชนิพนธ์หนังสือ ละครต่างๆ และใช้เป็นที่เข้าเฝ้าส่วนพระองค์สำหรับขุนนางคนสนิทด้วย สวนส้มป่อย ที่ภายหลังที่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานนามให้ใหม่ว่า สวนจิตรลดา ก็ได้เริ่มสร้างพระตำหนักขึ้นเป็นแบบตึกทรงยุโรปสูง 2 ชั้นในปี พ.ศ.2456 พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ครั้นเข้าสู่แผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดฯ ให้พระตำหนักจิตรลดารโหฐานได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต อย่างเป็นทางการ ซึ่งพระตำหนักนี้จะมาได้ใช้งานอย่างจริงๆ จังๆ ต่อเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และใช้พระตำหนักแห่งนี้เป็นที่ประทับมานานหลายทศวรรษ รวมทั้งใช้ออกว่าราชการและจัดสร้างโครงการต่างๆ พระราชดำริเรื่อยมา ปัจจุบันในหลวงองค์ปัจจุบันได้ย้ายไปประทับที่พระราชวังไกลกังวลเป็นการถาวรแทน

พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน ตอน สถานีรถไฟจิตรลดา

สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

LEISURE TEAM ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับ LEISURE TEAMได้ที่ leisure@th.mweb.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook