10 เทคนิคพาผู้สูงอายุ เที่ยวสนุก ไม่สะดุด
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/tr/0/ud/280/1400341/222.jpg10 เทคนิคพาผู้สูงอายุ เที่ยวสนุก ไม่สะดุด

    10 เทคนิคพาผู้สูงอายุ เที่ยวสนุก ไม่สะดุด

    2016-08-30T13:26:18+07:00
    แชร์เรื่องนี้

              เที่ยวกับเพื่อนกับฝูงมาบ่อยแล้ว ลองหาโอกาสพาคนในครอบครัวไปเที่ยวกันแบบพร้อมหน้าพร้อมตาดู คงสนุกสุขใจไปอีกแบบนะ เพราะบางทีพวกเค้าอาจรอคุณชวนอยู่ก็ได้ แล้วอย่าเพิ่งไปกังวลว่าทริปที่มีผู้สูงอายุร่วมไปด้วยจะทำให้การเดินทางลำบากมากขึ้น หรือจะเคลื่อนพลไปไหนก็กลัวจะไม่สะดวก ไม่คล่องตัว แล้วจะทำให้ทริปนั้นหมดความสนุกไป แต่ที่จริงแล้วหากคุณมีการวางแผนล่วงหน้าที่ดี เตรียมตัวกับเรื่องต่างๆ ให้พร้อม สิ่งที่คุณกังวลก็จะหมดไปได้ 

              งั้นลองมาทำตาม 10 เทคนิคนี้กันดูเลย...

                 1. ทำการบ้านล่วงหน้า

              ทริปที่มีผู้สูงอายุร่วมเดินทางไปด้วย ต้องวางแผนให้พร้อมเลย ว่าแต่ละวันจะไปไหนบ้าง เดินทางอย่างไร ต้องจองตั๋วล่วงหน้าหรือเปล่า

              เลือกจุดหมายปลายทาง เช็คสักหน่อยว่าสถานที่ในฝันที่จะไปในช่วงเวลานั้นมีสภาพอากาศอย่างไร ใช้ภาษาอะไร เพื่อที่จะได้เตรียมเสื้อผ้าให้เหมาะสม หรือถ้าไม่ถนัดเรื่องภาษา ก็จะได้เตรียมคำศัพท์หรือประโยคพื้นฐานง่ายๆ เอาไว้สื่อสารเอาตัวรอด

              แบ่งเวลาให้ท่านได้พักผ่อนบ้าง อย่างที่รู้กันอยู่ว่าสุขภาพของผู้สูงอายุ อาจไม่ได้ฟิตแข็งแรงแบบที่จะลุยได้ตลอดทั้งวัน คุณควรต้องจัดเวลาในการพักผ่อนสบายๆ ลงไปในตารางของแต่ละวันด้วย

              กิจกรรม ลืมไปได้เลยกับพวกกิจกรรมปีนป่าย หรือพวกที่ต้องใช้พละกำลังมากๆ เพราะมันไม่เหมาะกับผู้สูงอายุเลย

              จริงๆแล้ว การไปเที่ยวเองแบบมีผู้สูงอายุ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ลำบากจนเกินไป แต่ถ้าไม่อยากแพลนเอง ก็ลองหาทัวร์ดู เพราะปัจจุบันนี้มีบริษัทท่องเที่ยวหลายแห่งที่ทำทัวร์สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉพาะ แน่นอนว่าการได้ไปกับมืออาชีพ แถมมีรถรับ-ส่ง รวมทั้งอาหาร ที่พัก ให้พร้อม  นั้นสะดวกสบายกว่าการมานั่งแพลนเองเป็นไหนๆ 

                 2. พาผู้สูงอายุไปตรวจเช็คสุขภาพให้พร้อม

              ควรจูงมือกันไปปรึกษาแพทย์และตรวจสุขภาพก่อนออกเดินทาง โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคปอด ฯลฯ อาจส่งผลเวลาท่องเที่ยวอยู่ได้ ทางแพทย์จะได้แนะนำวิธีปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากในบางรายการขึ้นเครื่องอาจไม่ปลอดภัยนัก จะต้องใช้ออกซิเจนเพื่อช่วยหายใจ ดังนั้นการตรวจเช็คสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ไม่ควรมองข้าม

                 3. พกยาที่จำเป็นติดไปด้วย

              ยาประจำตัวหรือยาที่ใช้สามัญ เตรียมไปให้เพียงพอหรืออาจเตรียมเผื่อเล็กน้อย โดยแยกเก็บไว้กับตัวอีกชุดนึง ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น กระเป๋าเดินทางล่าช้า จะได้มียาสำรองไว้ทาน ที่สำคัญอย่าลืมขอใบรับรองแพทย์ที่เป็นภาษาอังกฤษไปด้วย และไม่ต้องแกะฉลากออกจากซองยา เดี๋ยวจะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นยาชนิดใด

                 4. ฉีดวัคซีนก่อนเดินทาง

              เนื่องจากแต่ละประเทศมีสภาพแวดล้อมและโรคภัยที่แตกต่างจากบ้านเรา ดังนั้นการเดินทางไปบางสถานที่ เช่น แอฟริกา ที่จะต้องฉีดวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือพื้นที่ที่กำลังมีการระบาดของเชื้อโรคบางชนิดอยู่ อาจจำเป็นต้องไปปรึกษาแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อน

                5. จัดกระเป๋าให้เบาเข้าไว้

              เลือกเฉพาะเสื้อผ้าหรือของใช้ที่จำเป็นก็พอ เพื่อให้เป็นภาระน้อยที่สุด เพราะผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องกระดูก, ข้อต่อ หรืออาการปวดหลัง ดังนั้นกระเป๋าที่หนักจะกลายเป็นปัญหาสำหรับการเดินทางและทางสุขภาพด้วย แนะนำให้เลือกใช้กระเป๋าที่มีล้อ จะได้สะดวกในการเคลื่อนย้าย

                6. เตรียมเอกสารให้พร้อม

              เอกสารสำคัญอย่าง หนังสือเดินทาง, ตั๋วเครื่องบิน, ใบรับรองประกันภัย/ประกันสุขภาพ, ใบรับรองแพทย์ ต้องเตรียมให้พร้อม แล้วอย่าลืมทำสำเนาแยกเก็บจากตัวจริงไว้ด้วยเผื่อจำเป็นต้องใช้

     

                7. แจ้งขอใช้บริการรถเข็นวีลแชร์หรือบริการพิเศษ

              หาก ผู้สูงอายุ มีปัญหาสุขภาพเรื่องการเคลื่อนไหว ให้แจ้งขอใช้บริการรถเข็นวีลแชร์กับทางสายการบินหรือทางสนามบินนั้นๆ ได้เลย และหากจำเป็นต้องเดินทางคนเดียวให้แจ้งขอบริการผู้ดูแล รวมทั้งที่นั่งพิเศษ และควรเลือกที่พักที่มีบริการดูแลสำหรับเรื่องเหล่านี้ด้วย

               8. อย่าลืมเรื่องอาหารการกินระหว่างเดินทาง

               หากมีข้อจำกัดเรื่องสุขภาพ, ระบบการย่อย หรือการควบคุมปริมาณไขมัน อย่าลืมระบุเมนูอาหาร เช่น อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน หรืออาหารโซเดียมต่ำ ฯลฯ กับทางสายการบินและกับทางโรงแรมที่พัก เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาเรื่องสุขภาพระหว่างการเดินทาง

               9. พกโทรศัพท์ติดตัวไว้ตลอดเวลา

               แนะนำให้ซื้อซิมเติมเงินที่ประเทศนั้นๆ หรือใช้บริการ Roaming เพื่อใช้โทรกลับบ้านหรือติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ที่สำคัญควรบันทึกเบอร์โทรต่างๆ  ให้โทรออกฉุกเฉิน ได้เลย เช่น เบอร์ของสมาชิกในครอบครัว, สถานทูตท้องถิ่นนั้นๆ, บริษัททัวร์ในกรณีที่ไปกับทัวร์, สายการบิน, และเบอร์แพทย์ประจำตัว เป็นต้น

               10.  ใส่ใจกับเรื่องความปลอดภัยต่างๆ

               การบาดเจ็บทางร่างกาย อันตรายจากพวกมิจฉาชีพ โดยเฉพาะเรื่องของมีค่าที่พกติดตัว ควรเก็บให้มิดชิด ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใส่เครื่องประดับราคาแพง หรือใส่เงินและบัตรเครดิตรวมกันในกระป๋าถือใบเล็กๆ หรือกระเป๋าสะพายข้างที่ง่ายต่อการโดนกระชาก สิ่งเหล่านี้เสี่ยงต่อการโดนปล้นโดนทำร้ายทั้งสิ้น  นอกจากนี้การขับรถในเวลากลางคืนหรือเส้นทางที่ลาดชัน คดเคี้ยว คงไม่เหมาะกับผู้สูงอายุเท่าใดนัก

               ประกันภัยการเดินทาง ควรทำประกันภัยการเดินทางให้ผู้สูงอายุไว้ทุกครั้ง จริงๆ แล้วสามารถทำได้ในทุกวัย เพราะอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  โดยเฉพาะผู้สูงอายุ การบริการช่วยเหลือฉุกเฉินนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังคุ้มครองในกรณีที่ต้องส่งตัวผู้ป่วยกลับประเทศอีกด้วย ซึ่งหากไม่มีประกันภัยการเดินทาง ค่ารักษาพยาบาลในต่างแดนเหล่านี้อาจสูงจนทำให้เป็นภาระที่หนักอึ้งเลยทีเดียว ดังนั้นประกันภัยการเดินทางจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งที่ต้องพกติดตัวไว้ทุกครั้งก่อนออกเดินทาง...เที่ยวสนุก ไม่สะดุด เมื่อมีประกันภัยการเดินทาง Travel Guard

               ครบตามนี้แล้ว ก็เตรียมแพคกระเป๋า แล้วออกเดินทางได้เลย!

               สนับสนุน เทคนิคการเตรียมความพร้อมการเดินทาง โดย AIG Travel 

               ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.aig.co.th/travelguard 



    [Advertorial]