จาก "ทรูวิชั่นส์" สู่ "เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์" ความเปลี่ยนแปลงที่เดิมพันอนาคตลูกหนังเมืองไทย

จาก "ทรูวิชั่นส์" สู่ "เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์" ความเปลี่ยนแปลงที่เดิมพันอนาคตลูกหนังเมืองไทย

จาก "ทรูวิชั่นส์" สู่ "เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์" ความเปลี่ยนแปลงที่เดิมพันอนาคตลูกหนังเมืองไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

25 ตุลาคมนี้ คือสุดท้ายที่ทรูวิชั่นส์ เจ้าของการถ่ายทอดสดฟุตบอลลีกของเมืองไทย จะสิ้นสุดตามสัญญา ที่ได้ทำไว้กับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ

แม้สุดท้ายทางออกที่ทางสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ เลือกเดินจะลงเอยด้วยการมอบลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดให้ไปออกอากาศทางช่องฟรีทีวีอย่าง ช่อง 5 , ช่อง 7, ช่อง 9 โมเดิลไนน์ และ ช่อง NBT 11 แต่ดูเหมือนว่าอาจะเป็นการหาทางออกที่ไม่จบง่ายๆซะทีเดียว

อย่างที่เราทราบกันว่า ทางสโมสรสมาชิกบนลีกสูงสุด และลีกรอง คงอยากได้คงวามชัดเจนว่าจะยังจะได้เงินสนับสนุนเช่นเดิมกับที่เคยได้เมื่อครั้งสัญญาการถ่ายทอดสดยังอยู่กับทรูวิชั่นส์หรือไม่?

พิษโควิด-19 มันหนักหนาเหลือเกินสำหรับบางทีม เพราะอย่าลืมว่าแม้จะเป็นเงินในจำนวนหลัก 10 ล้าน แต่นั่นก็เป็นน้ำเลี้ยงที่จะทำให้พวกเขาได้เดินต่อไป 

ส่วนที่หลายคนยังคงพยายามทำความเข้าใจ กับการก้าวเข้ามาของ "เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จํากัด" บริษัทที่เป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ชั้นนําของเมืองไทย ที่ได้ทุ่มเงินสูงถึง 9,600 ล้านบาท ในการประมูลลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลไทย 8 ปี
xt2โดยจะแบ่งเซ้นต์ จะต้องจ่ายเงินถึงปีละ 1,200 ล้านบาท ให้กับสมาคมฯ ซึ่งตรงนี้พวกเขาก็จะเริ่มอย่างเป็นทางการในซีซั่นหน้า (ปี 2021-2029)  

จริงๆ การลิขสิทธิ์แบบเหมาเข่งทุกระดับของวงการฟุตบอลเช่นชี้ มองให้เป็นบวก มันก็บวก มองให้เป็นลบ มันก็เป็นลบก็ได้  

ผมยกตัวอย่างว่า สิ่งที่ "เซ้นส์" ได้เปิดตัวและจัดแถลงข่าวครั้งใหญ่ไปเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ที่ผ่านมา เขาได้ชี้ให้เห็นภาพรวม มันคือสิ่งที่ดีมากๆ เช่น สิ่งที่พวกเขาบอกว่า การถ่ายทอดสด จะมีขึ้นในทุกลีกอาชีพ รวมถึงทีมชาติไทยทุกชุด ผ่านหลายแพลตฟอร์ม ทั้งฟรีทีวี และ แอปพลิเคชั่น ที่ทำร่วมกับ Eleven sports

โดยพวกเขาพร้อมมอบเงินสดจำนวน 1,200 ล้านบาทต่อปี โดยที่จะแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ ตลอด 8 ปี ในระยะสัญญาที่กำหนด 

ซึ่งเมื่อมองจากตัวเลขตรงนี้มันคือตัวเลขที่มากพอสมควร แต่อย่าลืมนะครับว่าการจ่ายครั้งนี้ มันคือการจ่ายแบบยกเข่ง เหมาหมดทุกรายการที่ขึ้นตรงกับสมาคมกีฬาฟุตบอลไทย
xt3ทีนี้ลองมามองกันที่ตัวเลขที่ทาง ทรูวิชั่นส์ เคยจ่ายให้กับสมาคมฯ โดยเป็นการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ เฉพาะฟุตบอลลีกเท่านั้นกันบ้าง (ไทยลีก1, ไทยลีก 2) 

โดยเริ่มต้นที่ปี 2014-2016 ในช่วง 3 ปีนั้นทรูวิชั่นส์จ่ายปีละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท

จากนั้นในระหว่างปี 2017 - 2020 ซึ่งทรูวิชั่นส์จ่ายไป 4,200 บาท ในตลอด 4 ปี ของสัญญา โดยแบ่งเป็นปีละ 1,050 บาท

ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขนี้ไม่ใช่น้อยๆ และเมื่อมองจากตรงนี้ อาจจะพูดไม่ได้ซะเต็มปากทีเดียว ว่าการเซ็นสัญญาครั้งใหม่คือการเซ็นสัญญาครั้งประวัติศาสตร์ในด้านมูลค่า

แต่เชื่อสิว่า แฟนบอลไทย รวมถึงผม อยากเห็นแนวทาง และหนทางของการลงมือปฏิบัติของ  "เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์" ในการนำพาฟุตบอลไทยในอนาคตต่างหากล่ะ ที่จะเป็นตัวชี้วัดได้ดีว่า การตัดสินใจครั้งนี้ของ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ คือสุดยอดประวัติศาสตร์ของการตัดสินใจมากกว่าครับ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook