น้ำชีทะลักท่วมนาข้าวกมลาไสยกว่า1หมื่นไร่

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553 นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายเดชา พลกล้า รักษาราชการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เข้าติดตามสถานการณ์น้ำท่วม ที่บ้านเหมือดแอ่ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย พร้อมกับเข้าตรวจสอบพนังกั้นแม่น้ำชี ที่เป็นเขตรอยต่อกับอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายธนูสินธุ์ ไชยศิริ นายอำเภอกมลาไสย รายงานสถานการณ์ หลังจากตลอดทั้งคืนที่ผ่านมากระแสน้ำได้ เจาะพนังกันไหลเข้าท่วมนาข้าว ซึ่งกำลังหทารจากค่ายเปรมติณสูลานนท์ จังหวัดขอนแก่น และชาวบ้าน ได้ช่วยกันนำกระสอบทรายไปอุดพนังกั้นน้ำที่ขาดเป็นแนวยาวเกือบ 5 เมตรจนสำเร็จ แต่ในความเสียหายก็พบพื้นที่นาข้าวถูกน้ำท่วมเสียหายอีกกว่า 1 หมื่นไร่
นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ความเสียหายทั้งหมดตัวเลขสะสมมีที่นาถูกน้ำท่วมกว่า 7 หมื่นไร่ แต่ในภาพรวมสถานการณ์ดีขึ้นโดยเฉพาะในเขตอำเภอฆ้องชัย ระดับน้ำชีทรงตัว แต่ได้ไหลมารวมกันในเขตอำเภอกมลาไสย ซึ่งยังคงต้องเฝ้าระวัง และหากน้ำจำนวนนี้ไหลเร็วสถานการณ์น้ำท่วมที่กาฬสินธุ์ จะสามารถคลี่คลายไปได้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่สิ่งที่เป็นห่วงขณะนี้นาข้าวจำนวนมากเสียหาย ประชาชนมีปัญหาสุขภาพจิตและยังมีโรคระบาดที่มากับน้ำซึ่งเฉพาะในพื้นที่แห่งนี้ มีประชาชนป่วยจากสถานการณ์น้ำท่วมมากกว่า 2 พันคน ในการเยี่ยวยาจะเป็นการฟื้นฟูภาวะจิตใจและช่วยเหลือในเรื่องของเงินชดเชยน้ำท่วมต่อไป
นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ความเสียหายทั้งหมดตัวเลขสะสมมีที่นาถูกน้ำท่วมกว่า 7 หมื่นไร่ แต่ในภาพรวมสถานการณ์ดีขึ้นโดยเฉพาะในเขตอำเภอฆ้องชัย ระดับน้ำชีทรงตัว แต่ได้ไหลมารวมกันในเขตอำเภอกมลาไสย ซึ่งยังคงต้องเฝ้าระวัง และหากน้ำจำนวนนี้ไหลเร็วสถานการณ์น้ำท่วมที่กาฬสินธุ์ จะสามารถคลี่คลายไปได้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่สิ่งที่เป็นห่วงขณะนี้นาข้าวจำนวนมากเสียหาย ประชาชนมีปัญหาสุขภาพจิตและยังมีโรคระบาดที่มากับน้ำซึ่งเฉพาะในพื้นที่แห่งนี้ มีประชาชนป่วยจากสถานการณ์น้ำท่วมมากกว่า 2 พันคน ในการเยี่ยวยาจะเป็นการฟื้นฟูภาวะจิตใจและช่วยเหลือในเรื่องของเงินชดเชยน้ำท่วมต่อไป