'ออง ซาน ซูจี' กับ ชีวิตการถูกจองจำ

'ออง ซาน ซูจี' กับ ชีวิตการถูกจองจำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
การคุมขัง ทุกวัน นางออง ซาน ซูจี หญิงแกร่งที่ทุ่มเทชีวิตต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ให้แก่ชาติพันธุ์ชาวพม่า จะตื่นตั้งแต่ตี 4 แม้จะรับรู้ดีว่า ไม่สามารถเดินทางไปที่ไหนได้ ไม่มีโอกาศแม้จะก้าวเท้าออกจากประตูบ้าน 2 ชั้น ที่รัฐบาลทหารพม่าใช้เป็นสถานที่คุมขัง ..... เธอจะนั่งครุ่นคิดบางอย่าง และบางครั้งก็นานนับชั่วโมง ก่อนจะเปลี่ยนอิริยาบทไปเป็นการฟังวิทยุที่ปรับจูน คลื่นไปยังสถานีระดับโลก เสียงเหล่านั้นเดินทางมาไกลแสนไกล ทั้งจาก BBC , Voice Of America, Democratic Voice of Burma และคลื่นวิทยุอื่น ๆ จากทั่วทุกมุมโลก สิ่งเหล่านี้ คือ วิธีการเดียว ในการติดต่อกับโลกภายนอกของหญิงคนหนึ่งที่สามารถทำได้

ซูจี ไม่มีโทรศัพท์ โทรทัศน์ และอินเทอร์เนต ขณะที่ จดหมายของเธอ แน่นอนที่จะต้องถูกเซ็นเซอร์อย่างถึงที่สุด และหลายครั้งที่มันยังคงตกค้าง ซูจี ใช้เวลาส่วนใหญ่ภายในบ้านพัก โดยการอ่านหนังสือ เช่น ปรัชญา ชีวประวัติ และ นวนิยาย ทั้ง ภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ซูจี ไม่ได้อยู่คนเดียวภายในคฤหาสน์หลังใหญ่โตริมทะเลสาบ แต่เธออาศัยอยู่กับแม่บ้าน 2 คน ซึ่งเป็นแม่ลูกกัน ชื่อ คิน คิน วิน และ วิน มา มา ซึ่งทั้งสองถูกทางการตัดสิน (ในความผิดอันใด?) ให้อยู่รับใช้นายจ้าง

สำหรับ บุคคลคนภายนอก การได้เข้าพบนางซูจีนั้น ถือเป็นเรื่องยากยิ่ง บรรดาผู้ที่ได้รับอนุญาตจะได้รับการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดและติดตามอย่างใกล้ชิดในขณะที่ได้เข้าพบนางซูจี ส่วน อาหารสด จะมีผู้นำมาส่งทุกวัน ด้าน แพทย์ประจำครอบครัวจะได้อนุญาตให้โทรศัพท์หาเธอเพียงเดือนละ 1 ครั้ง และหนึ่งในไม่กี่คนที่ได้รับคำอนุญาตให้เข้าพบนางซูจี คือ นายเนียน วิน ทนายความคนสนิท ซึ่งจะเดินทางมาบ้านหลังนี้ ทุก ๆ 2 สัปดาห์ โดยจะนำนิตยสาร Time และ Newsweek ติดมือมาด้วยทุกครั้ง เพราะ นางซูจี ต้องการรับรู้
ข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลก และแม้ว่า เธอจะไม่ได้รับอนุญาตให้ย่างก้าวออกนอกประตูบ้านเลยแม้แต่ก้าวเดียว แต่เธอก็เป็นคนรักสุขภาพ โดยการออกกำลังกายเป็นประจำภายในบ้านพักของเธอ และยังเป็นผู้มีจิตใจที่แข็งแกร่งอีกด้วย

แต่ในระยะ 15 ปีที่ผ่านมา นางซูจี ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนตัวไปแล้วจำนวนมาก ในการซ่อมแซมบ้าน ซึ่งเป็นคฤหาสน์หรู คู่ทะเลสาบอันเงียบสงบ อายุกว่า 90 ปี ที่เปรียบเสมือน "คุก" และเป็นสมบัติตกทอดมาจากผู้เป็นมารดา ปัจจุบัน มีสภาพทรุดโทรมอย่างมาก อีกทั้ง ไฟฟ้า ก็มักจะดับอยู่เป็นประจำ และค่าใช้จ่ายก้อนโตอีกก้อนก็รวมถึงการซ่อมแซมครั้งใหญ่ เมื่อปี 2008 ที่ผ่านมา หลัง พายุไซโคลนนาร์กีส พัดถล่มพม่า จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 22,500 คน และสูญหายอีกกว่า 40,000 คน ขณะที่ สวนนอกบ้านในขณะนี้ เต็มไปด้วยต้นองุ่นที่กำลังออกผลงอกงาม

และในวันนี้ (13) การเป็นอิสรภาพก็ใกล้จะมาถึง ประชาชนจำนวนมาก มารวมตัวกัน เพื่อเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อต่อการได้รับการปล่อยตัวของ นางซูจี และเมื่อเป็นอิสระ เธอจะยังคงอยู่ภายใต้การเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด และอยู่ภายใต้การควบคุมความรุนแรงเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมือง ไม่ให้เกิดขึ้นเช่นในอดีตที่ผ่านมา ขณะที่ นางซูจี เองยืนยันจะไม่ยอมรับข้อจำกัดใด ๆ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อแลกมาซึ่งการเป็นอิสระ พร้อมทั้ง ขอให้มีการปล่อยนักโทษการเมืองของพม่าคนอื่น ๆ ที่คาดว่า น่าจะมีประมาณ 2,200 คน

ขณะเดียวกัน บริเวณหน้าที่ทำการพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ของนางซูจี ก็มีคลื่นมหาชน ผู้ให้การสนับสนุนตัวเธอและพรรค เดินทางมารวมตัวกัน เพื่อนับถอยหลัง สู่ "อิสรภาพ" ครั้งที่ 3
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook