แพทย์เตือน "ความอยากอาหาร 3 อย่าง" สัญญาณภาวะสมองเสื่อม FTD ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

แพทย์เตือน "ความอยากอาหาร 3 อย่าง" สัญญาณภาวะสมองเสื่อม FTD ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

แพทย์เตือน "ความอยากอาหาร 3 อย่าง" สัญญาณภาวะสมองเสื่อม FTD ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สัญญาณเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม แพทย์เผย 3 พฤติกรรมอยากอาหารผิดปกติ ที่ไม่ควรมองข้าม แต่ผู้ป่วยมัก "ไม่ยอมรับ" ว่าตนมีปัญหา!

สมาคมอัลไซเมอร์แห่งสหราชอาณาจักร (Alzheimer’s Society) เปิดเผยอาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อมชนิดกลีบหน้ากลีบขมับ (Frontotemporal Dementia หรือ FTD) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของโรคสมองเสื่อมที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม บุคลิกภาพ และการตัดสินใจ โดยมีสัญญาณเตือนที่ไม่ธรรมดาคือ ความอยากอาหารแบบผิดปกติถึงขั้นรุนแรง

ผู้ป่วยระยะเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม FTD อาจเริ่มมีพฤติกรรม "อยากกินของหวาน อาหารไขมันสูง หรือคาร์โบไฮเดรตมากผิดปกติ" รวมถึงแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมระหว่างมื้ออาหาร เช่น ลืมมารยาทบนโต๊ะอาหาร กินมากเกินไป ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่อย่างควบคุมไม่ได้ จุดสังเกตสำคัญ "อยากอาหารจนน่ากังวล"

สมาคมฯ อธิบายว่า อาการเหล่านี้เกิดจากความเสียหายในส่วนกลีบหน้าของสมอง ซึ่งควบคุมการตัดสินใจ พฤติกรรม และการยับยั้งชั่งใจ ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวว่าตนเองเปลี่ยนไป และมักไม่คิดว่าตนเองต้องพบแพทย์ ทำให้การวินิจฉัยล่าช้า ทั้งนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่มักเกิดร่วมกัน เช่น

  • ขาดสมาธิ วอกแวกง่าย

  • ตัดสินใจยาก วางแผนหรือจัดการเรื่องเงินไม่ได้

  • แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมทางสังคม พูดจาหยาบคาย หยอกล้อไม่เหมาะสม หรือใช้ความรุนแรง

  • ขาดความเห็นอกเห็นใจ ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น

  • ขาดแรงจูงใจ ไม่มีความสุขในสิ่งที่เคยชอบ

  • หัวเราะไม่เหมาะสม เช่น หัวเราะเยาะความทุกข์ของผู้อื่น

  • ทำพฤติกรรมซ้ำๆ หรือติดอยู่กับกิจกรรมบางอย่างอย่างหมกมุ่น

  • มีความรู้สึกไวต่อสิ่งเร้ารอบตัว เช่น เสียง แสง อุณหภูมิ หรือแม้กระทั่งความเจ็บปวด

ส่วนวิธีการรับมือและการวินิจฉัยนั้น ภาวะสมองเสื่อมชนิดกลีบหน้ากลีบขมับ อาจไม่แสดงอาการด้านความจำในระยะเริ่มต้น จึงควรสังเกตพฤติกรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในนิสัยการกินและพฤติกรรมทางสังคม ซึ่งครอบครัวหรือคนใกล้ชิดมักเป็นผู้สังเกตเห็นอาการเหล่านี้ก่อนผู้ป่วย และอาจทำให้เกิดความยากลำบากในการชักชวนให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจ เนื่องจากผู้ป่วยมักไม่ยอมรับว่าตนมีปัญหา

ดังนั้น หากสงสัยว่าคนใกล้ชิดอาจกำลังเผชิญกับภาวะสมองเสื่อม ควรสังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด และขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว เพื่อวางแผนการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล