หมอเล่าประสบการณ์ตรง แค่ปีเดียว น้ำหนักพุ่ง 10 โล เปลี่ยนนิสัยการกิน ลดได้ 20 โล

หมอเล่าประสบการณ์ตรง แค่ปีเดียว น้ำหนักพุ่ง 10 โล เปลี่ยนนิสัยการกิน ลดได้ 20 โล

หมอเล่าประสบการณ์ตรง แค่ปีเดียว น้ำหนักพุ่ง 10 โล เปลี่ยนนิสัยการกิน ลดได้ 20 โล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หมอเล่าประสบการณ์ น้ำหนักขึ้น 10 โล ใน 1 ปี เกือบขิตเพราะภาวะหัวใจขาดเลือด หลังรอดมาได้ เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน จนลดได้ 20 โล

เว็บไซต์ HK01 เผยเรื่องราวของ เฉิน เว่ยหลง แพทย์ชาวไต้หวัน ที่ต้องทำงานหนักและเรียนปริญญาเอกพร้อมกัน ส่งผลให้เขานอนดึกและกินอาหารไม่เป็นเวลา จนทำให้น้ำหนักขึ้นเกือบ 10 กิโลกรัม ใน 1 ปี และเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด

โชคดีที่เขาถูกนำส่งโรงพยาบาลทันเวลา แต่เขาต้องพักรักษาตัวในห้องไอซียูเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จนรอดชีวิตมาได้ ซึ่งนั่นเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เข้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จนสามารถลดน้ำหนักได้ 20 กิโลกรัม

เฉิน เว่ยหลง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการลดน้ำหนักจากไต้หวัน เคยเป็นแพทย์ฉุกเฉินประจำโรงพยาบาลใหญ่ที่ต้องทำงานหนักและเผชิญกับความเครียดสูงในระยะยาว ส่งผลให้เขามีปัญหาสุขภาพจากโรคเรื้อรัง เมื่ออายุ 35 ปี เขาเริ่มประสบกับโรคเกาต์ มีระดับกรดยูริกสูง และระดับน้ำตาลในเลือดก็เริ่มสูงขึ้น โดยน้ำหนักของเขาก็พุ่งสูงถึง 80 กิโลกรัม

ควบคุมไม่อยู่ น้ำหนักเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม ใน 1 ปี

เขาหัวเราะและเล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่เด็กเขาชอบกินขนมหวานและเค้ก จึงไม่ค่อยสนใจเรื่องน้ำหนักจนมันเริ่มเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเข้าสมัย ม.ปลาย เพื่อเข้าสังคมและจีบสาว เขาก็เริ่มใส่ใจเรื่องรูปลักษณ์และลดน้ำหนักลงไป 20 กิโลกรัม ในระยะเวลาเพียงครึ่งปี

แต่หลังจากเรียนจบจากคณะแพทย์และเริ่มทำงานในโรงพยาบาล ความเครียดและการทำงานเป็นกะ ทำให้เขามีชีวิตที่ไม่เป็นระเบียบ โดยเฉพาะหลังเลิกงานที่มักจะไปดื่มกับเพื่อนหรือกินอาหารเย็นดึกๆ จึงทำให้น้ำหนักกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสุดท้ายกลับไปที่ 82 กิโลกรัม เมื่อถึงเวลาที่ต้องถ่ายภาพพรีเวดดิ้ง เขาก็พบว่าเขาใส่กางเกงสูทไม่ได้แล้ว จึงตัดสินใจเริ่มลดน้ำหนักอีกครั้ง

หลังแต่งงานมีลูก ก็เริ่มควบคุมปากไม่ได้อีก

เฉิน เว่ยหลง ยอมรับว่า หลังจากแต่งงานและได้เป็นหมอในโรงพยาบาล รวมถึงกลับไปเรียนปริญญาเอกอีกครั้ง ภายใต้ความกดดันจากหลายด้าน น้ำหนักของเขาก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่เพียงแค่น้ำหนักที่พุ่งสูง แต่กรดยูริกและระดับน้ำตาลในเลือดก็เริ่มสูงขึ้นเช่นกัน จนทำให้เขาเริ่มมีอาการโรคเกาต์เมื่ออายุเพียง 35 ปี

วันหนึ่งเขาเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกและปวดร้าวในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นอาการของหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และต้องถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เขาต้องพักรักษาตัวในห้องไอซียูเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะย้ายไปห้องผู้ป่วยทั่วไปเพื่อสังเกตอาการต่อไป

การเผชิญกับอันตรายถึงชีวิต ทำให้เขาตระหนักถึงผลกระทบของการกินต่อสุขภาพ และเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน จากที่เคยทานขนมปังในมื้อเช้า และมื้อกลางวันและเย็นต้องมีแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตขัดขาวจำนวนมาก

ใช้เวลา 4 ปี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จนลดได้ 20 กิโลกรัม

เขาก็ค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็นการกินอาหารแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เขาได้ปรับมาใช้แนวทางการกินอาหาร โดยงดการกินแป้งขัดขาว และประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักไปได้ถึง 20 กิโลกรัม

การกินอาหารแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ คือการลดปริมาณการกินคาร์โบไฮเดรตในแต่ละวันให้เหลือประมาณ 10-20% ของปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ควรบริโภคในแต่ละวัน ซึ่งหมายถึงการกินคาร์โบไฮเดรตเพียง 50-150 กรัมต่อวัน ในขณะเดียวกันก็จะเพิ่มการบริโภคโปรตีน ไขมัน และไฟเบอร์ให้มากขึ้น

เมื่อใช้วิธีการกินอาหารแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ ควรใส่ใจเลือกโปรตีนที่มีคุณภาพ เช่น ไข่, นม, ผลิตภัณฑ์จากถั่ว, และเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน รวมถึงการกินไขมันที่ดีต่อร่างกาย เช่น น้ำมันมะกอกและถั่วต่างๆ หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป และควรกินผักที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำให้เพียงพอ พร้อมดื่มน้ำให้มากขึ้น

เฉิน เว่ยหลง แชร์ว่า เมื่อกินอาหารกลางวัน เขาจะเลือกกินผักและไก่อกเป็นหลัก โดยลดหรือแม้กระทั่งไม่กินข้าวเลย และในมื้อเย็น หากมีการตรวจผู้ป่วย เขาจะขอให้ภรรยาจัดเตรียมไก่อกและข้าวกล่องมังสวิรัติจากโรงพยาบาล เพื่อเสริมผักใบเขียวและโปรตีนให้ครบถ้วน 

ที่บ้านเขาจะเน้นการกินอาหารตามหลักการของอาหารเมดิเตอร์เรเนียน เช่น สลัดผักสดราดน้ำมันมะกอก พร้อมกับการรับประทานโปรตีนคุณภาพสูงจากไก่อกและปลา เขาหัวเราะและพูดว่า "ตอนนี้ข้าวถุงเล็กๆ ที่ขายในซูเปอร์มาร์เก็ต ครอบครัวเรา 4 คน ยังกินไม่หมดใน 1 เดือนเลย!"

ไม่เพียงแค่ในมื้อหลัก เขายังกล่าวว่า ก่อนหน้านี้เมื่อไปเดทกับภรรยาที่ร้านกาแฟ พวกเขามักจะสั่งเครื่องดื่มร้อนขนาดใหญ่ที่เป็นช็อกโกแลตร้อน แต่หลังจากที่เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เขาเปลี่ยนเป็นการดื่มน้ำเต้าหู้ไม่มีน้ำตาลแทน และบางครั้งถ้าอยากปล่อยตัวก็จะสั่งคาปูชิโน่ที่มีน้ำตาลน้อย

เขากล่าวว่า ก่อนหน้านี้ไม่รู้เลยว่าเครื่องดื่มช็อกโกแลตร้อนขนาดใหญ่หนึ่งแก้วมีน้ำตาลถึง 80 กรัม เทียบเท่ากับน้ำตาล 16 ก้อน และเขามักจะดื่มถึงสัปดาห์ละ 4 แก้วหรือมากกว่า หลังจากประสบกับโรคร้าย เขาจึงเริ่มศึกษาส่วนประกอบของอาหารอย่างจริงจัง

พร้อมย้ำว่า การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ แต่การหาวิธีที่ถูกต้องนั้นสำคัญยิ่งกว่า การหาสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักไม่สามารถควบคุมได้ และปรับปรุงทั้งการออกกำลังกาย, การกินอาหาร, และการมีระเบียบวินัยในชีวิต จึงจะสามารถลดน้ำหนักอย่างมีสุขภาพดีและไม่กลับมาอ้วนได้

อัลบั้มภาพ 12 ภาพ

อัลบั้มภาพ 12 ภาพ ของ หมอเล่าประสบการณ์ตรง แค่ปีเดียว น้ำหนักพุ่ง 10 โล เปลี่ยนนิสัยการกิน ลดได้ 20 โล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook