ฮิวแมนไรท์ร้องนายกฯขอปฏิบัติตามหลักสิทธิ

ฮิวแมนไรท์ร้องนายกฯขอปฏิบัติตามหลักสิทธิ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ในจดหมาย ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2553 จากองค์กรเฝ้าระวังการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือ Human Rights Watchถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายก รัฐมนตรีของไทย ระบุว่า ทางองค์กรยอมรับถึงการตัดสินในในการขยายเวลาการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถาณการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ของรัฐบาลไทยใน 19 จังหวัดต่อไปอีก 3 เดือน

แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังมีความกังวังเป็นอย่างมาก และขอย้ำถึงมุมมองขององค์กรในผลกระทบเชิงลบ จากการประกาศใช้พระราชกำหนดฯในเชิงของการเคารพสิทธิมนุษยชน ตามกระบวนการทางกฏหมาย และหลักการประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยเฉพาะการควบคุมตัวเป็นเวลานานโดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา ซึ่งเพียงพอต่อการกระทำที่เรียกว่า "ละเมิดสิทธิมนุษยชน"และการอนุมัติการเซ็นเซอร์การนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง

โดยนับตั้งแต่ที่รัฐบาลไทยได้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อจัดการกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล ที่เกิดจากการรวมกลุ่มของ นปช. เป็นครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน ที่ผ่านมา ทางองค์กรฯ ก็ทำการตอบสนองซ้ำๆ จากความกังวลที่ว่าพระราชกำหนดฯอาจให้อำนาจพิเศษในการจำกัด หรือระงับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานต่างๆ จากทั้งหมดของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ ICCPR, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายไทย

ทั้งนี้ ในฐานะรัฐภาคีประเทศไทยมีพันธะผูกพันที่จะต้องดำเนินการตามพันธกิจหลักของกติกาของ ICCPR 4 ประการ ในช่วงที่เกิดเหตุสาธารณะฉุกเฉิน ไม่เป็นภัยคุกคามชีวิตของคนภายในชาติบ้านเมือง และประกาศอย่างเป็นทางการถึงการจำกัดสิทธิบางประการอย่างเท่าที่จำเป็นอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้ คณะกรรมการองค์กรสิทธิมนุษยชนฯ ขอแสดงความคิดเห็น ต่อคำแถลงการณ์บนเว็บไซต์จากกระทรวงการต่างประเทศของไทย ลงวันที่ 29 มิถุนายน ที่ระบุว่า "รัฐบาลและรัฐสภาจะมีการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และ การดำเนินชีวิตขอให้เป็นไปตามปกติในพื้นที่ที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" .... ซึ่งการอ้างถึง พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาลไทย ควรพิจารณาให้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผลต่อมาตรที่จำเป็นและถูกต้องตามแต่สถานการณ์ และจากการวิเคาระห์ ขององค์กรฯ ในการกำหนดอย่างต่อเนื่องของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่รัฐบาลไทยตัดสินใจ ประกาศขยายเวลาการบังคับ ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม จากเหตุผล เพื่อป้องกันกิจกรรมที่รุนแรงหรือผิดกฎหมายไม่ให้เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นการพยายามแสดงถึงการคุกคามชีวิตของคนภานในชาติบ้านเมือง แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดความกังวลใจอย่างมากเกี่ยวกับการควบคุมตัวผู้ที่ฝ่าฝืนพระราชกำหนด โดยปราศจากการตั้งข้อกล่าวหาอย่างเป็นทางการเป็นเวลานานกว่า 30 วัน ในสถานที่ที่ไม่เป็นทางการ นอกจากนี้จากพระราชกำหนดยังไม่มีการระบุข้อกำกับดูแลอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการละเมิดและการกระทำผิด แตกต่างจากการประมวลกฏหมายการพิจาณาความผิดทางอาญา ที่มีการกำหนดให้มีการเข้าถึงที่ปรึกษาทางกฏหมาย หรือ สมาชิกในครอบครัว มีอำนาจทางตุลาการและการจัดการต่อการกระทำความผิดของผู้ถูกควบคุมตัว ตามข้อบังคับของกฏมายไทย

อย่างไรก็ดี ทางองค์กรฯ ได้บันทึกหมวดหมู่ ของบุคคล ทั้ง ประเด็นการถุกควบคุมตัว , วิธีการจับกุม และสถานที่ควบคุมตัว โดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ซึ่งมีการขยายเกินขอบเขตของความต้องการควบคุมตัวผู้นำ และ สมาชิกของกลุ่มนปช. , ผู้ประท้วง และ ผู้มีส่วนร่วมต่อเหตุการณ์ความรุนแรง ไปสู่ผู้ที่มีส่วนเชื่อมโยงหรือให้การสนับสนุน นปช. เช่นนักการเมือง , ข้าราชการ , นักธุรกิจ , นักกิจกรรม , นักวิชาการและประกอบการวิทยุชุมชน

นอกจากนี้ยังมีรายงานเกี่ยวกับการคุกคามสื่อมวลชน , ช่างภาพ , อาสาสมัครทางการแพทย์ หลังจากที่พวกเขา กล่าวว่าถึงสิ่งที่เห็น ในการกระทำที่เป็นการละเมิดโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัย

จากเรื่องที่เกิดขึ้น ทางองค์กรฯจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลออกให้ข้อมูลทันทีต่อสาธารณะ ถึงจำนวนคนที่ถูกควบคุมตัวภายใต้ข้อกำหนดของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ , สถานที่ , ชื่อ , สถานะปัจจุบัน , สถานที่กักขัง ร่วมถึง การเข้าถึงทนาย ครอบครัวและความช่วยเหลือทางการแพทย์ นอกจากนี้ทางองค์กรฯยังพบความเสี่ยงของการละเมิดที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการขาดการติดต่อระหว่างบุคคลภายนอกกับผู้ถูกควบคุมตัว เมื่อพวกเขาอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่มักขาดการฝึกอบรมและประสบการณ์ในการบังคับใช้กฏหมายต่อพลเรือน และแม้ว่าจะมีการรายงานส่งตัวผู้ถูกจับกุมตัวไปยังศาล แต่เรายังมีความกังวลว่า รายงานดังกล่าวจะไม่ได้ถูกจัดการในเวลาที่เหมาะสม และมีรายละเอียดอย่างเพียงพอเพื่ออนุญาตให้ศาลเข้าแทรกแซงหากจำเป็น

ซึ่งความกังวลในประเด็นดังกล่าว ยังเกี่ยวโย่งถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่ไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้สถานที่ที่พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีการประกาศใช้มาตั้งแต่ ปี 2548 เพื่อปราปราบผู้ก่อการร้าย ซึ่งจากการเข้าสอบสวนในพื้นที่พบว่า มีหลายกรณีที่เป็นการละเมิดอย่างรุนแรงจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รักษษความปลอดภัยต่อผู้ถูกคุมขัง ทั้งการการทรมาน ,การบังคับและการสูญหาย

อย่างไรก็ดี การทำงานของเจ้าหน้าที่ตามการกำหนดของ พ.ร.ก. ก็แสดงให้เห็นถึงถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่โดยกระทำการสุจริต ,ไม่มีการแบ่งแยก , และเป็นไปตามเหตุและผล อีกทั้งยังเป็นการกระทำตามหน้าที่รับผิดชอบ โดยไม่ต้องคำนึงถึงตำแหน่งและพวกพ้อง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างสันติภาพและการปรองดองทางการเมืองของประเทศไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook