การชุมนุมทางการเมือง...สะท้อนอะไรสู่สังคมไทย???

การชุมนุมทางการเมือง...สะท้อนอะไรสู่สังคมไทย???

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สถานการณ์การชุมนุมของไทย นับตั้งแต่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อเหลือง และเกิดการต่อสู้เรียกร้องจนเกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง มากระทั่งถึงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในปัจจุบัน... การชุมนุมถือเป็นภาพที่เคยชินจนเป็นที่น่ากังวลของสังคมไทย ที่เมื่อมีการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง การรวมกลุ่มของผู้ที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลฝ่ายตรงข้ามกับตนเองก็จะกลับมาดำเนินรอยตามเดิมอีกครั้ง วังวนที่ไม่จบสิ้นของสถานการณ์การชุมนุมนี้เกิดจากอะไร?? และสังคมไทยจะหลุดพ้นจากปัญหาเหล่านี้ไปได้หรือไม่??? คำตอบนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่หลวงในสังคมไทย ก่อนอื่นหากพิจารณาถึงปัญหาทางการเมืองไทยทั้งหมดนี้ จุดเริ่มต้นมาจากที่ใด??? คำตอบที่ได้คงหนีไม่พ้น "ปัญหาทางการเมืองที่เกิดจากการทุจริตคอรัปชั่น ที่เป็นปัญหาหยั่งรากลึกในสังคมไทยมานาน ปัญหาดังกล่าวจึงกลายเป็นความขัดแย้งและก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ในช่วงปลายปี 2552 ที่ผ่านมา สำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำโพลสำรวจเรื่อง ประเมินสถานการณ์ปัญหาในภาครัฐ และประสบการณ์ในการถูกเรียกรับผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีศึกษาประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ และสมาชิกรัฐสภา เพื่อสำรวจถึงปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในสังคมไทย จากผลสำรวจดังกล่าวมีข้อมูลน่าสนใจที่สะท้อนถึงภาพของสังคมไทยหลายประการ ผลการสำรวจพบว่า ประชาชน และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจส่วนใหญ่ หรือกว่าร้อยละ 65.1 มองว่า ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทย อยู่ในระดับที่รุนแรงมากถึงมากที่สุด โดยประชาชนทั่วไปที่มีประสบการณ์ต้องจ่ายเงินสินบน ส่วย และเงินใต้โต๊ะ ให้เจ้าหน้าที่รัฐตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา โดยผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ ประสบปัญหา้องจ่ายให้กับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ มากกว่าเจ้าหน้าที่รัฐกลุ่มอื่นๆ รองลงมาคือ กลุ่มเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน เจ้าหน้าที่อำเภอ หรือสำนักงานเขต ตามลำดับ ที่น่าสังเกตจะพบว่า ทั้งประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจต่างก็ประสบปัญหา ทุจริตคอร์รัปชั่นกับเจ้าหน้าที่รัฐในทุกหน่วยงาน!!!! และที่น่าเป็นห่วงคือ จากการสำรวจทัศนคติพบว่า กลุ่มสมาชิกรัฐสภา คือ ส.ส. และ ส.ว. ยังมีทัศนคติอันตรายที่มองว่าการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะทัศนคติที่มองว่า รัฐบาลทุกรัฐบาลทุจริตคอร์รัปชั่นด้วยกันทั้งนั้น แต่ถ้าคอร์รัปชั่นแล้วทำให้ประเทศชาติรุ่งเรืองประชาชนอยู่ดีกินดี "ก็ยอมรับได้ ....... จากผลการสำรวจเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า สาธารณชนมองสถานการณ์ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่ในระดับรุนแรงกว่าปัญหายาเสพติด ประมาณ 4 ถึง 5 เท่า ทั้งในแง่ทัศนคติและประสบการณ์ปัญหาที่ประสบด้วยตัวเอง ไม่เพียงแต่คนไทยที่รู้สึกถึงปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นที่หยั่งรากลึกในเมืองไทย แต่ในสายตาของต่างชาติเองก็มองว่าปัญหาดังกล่าวของไทยมีความรุนแรง!!! บริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง หรือ PERC (Political Economic Risk Consultant) ได้เคยจัดอันดับประเทศที่มีการทุจริตคอร์รัปชั่นมากที่สุด จากการสำรวจนักธุรกิจต่างชาติที่ไปลงทุนในประเทศภูมิภาคเอเชียจำนวน 13 ประเทศ เมื่อปี 2551 การสำรวจครั้งนั้น พบว่า ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นสูงสุด ขณะที่ประเทศไทยยังอยู่ในอันดับที่สองดังเช่นผลสำรวจปีก่อน ซึ่งต่างชาติมองว่า แม้จะมีการปฏิวัติรัฐประหารไปเมื่อปี 2549 แต่ไม่สามารถขจัดปัญหานี้ให้หมดสิ้นไปได้ ส่วนอินโดนีเซียตามมาเป็นอันดับที่ 3 ซึ่งดีขึ้นจากการสำรวจในปีที่แล้ว ที่รั้งอันดับสองเท่ากับไทย ขณะที่สิงคโปร์และฮ่องกงเป็นประเทศที่ใสสะอาดที่สุด จากสายตาของนักลงทุนต่างชาติ มองว่า ปัญหาการทุจริตมาจากรัฐบาลประเทศต่างๆ ขาดความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะจัดการให้ปัญหานี้หมดไป ทางออกของประเทศไทย ดังนั้น สำหรับประเทศไทย รัฐบาลควรใช้จุดแข็งด้านความซื่อสัตย์สุจริต เป็นตัวนำทางสู่การปฏิบัติการกวาดล้างปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นให้ลดน้อยลงไปจากสังคมไทยอย่างจริงจัง ภาพคอรัปชั่นที่หยั่งรากลึกมานานปี เริ่มปรากฏเป็นปัญหาทางสังคมดังที่เห็นในปัจจุบัน ทั้งการเรียกร้องความเท่าเทียม ความยุติธรรมในสังคม และความต้องการให้คนที่ทุจริตต่อบ้านเมืองได้รับโทษ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นภาพสะท้อนของความล้มเหลวในการปราบปรามปัญหาการทุจริตของไทย ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับสังคมไทยในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง คือต้อง รณรงค์ให้สังคมบีบบังคับให้คนโกงเลิกโกงให้หมด หรือได้รับผลกรรมที่เกิดขึ้น หรือหมายถึงการสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่จับต้องได้ในสังคมให้เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ปัญหาการทุจริตลดลงได้ นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน ไม่ใช่ให้เยาวชนเคยชินกับภาพลักษณ์ของการคดโกงจนเกิดการยอมรับคนที่โกงน้อยมากกว่าคนที่โกงมากอย่างที่ผ่านมา แต่ต้องไม่ยอมรับให้เกิดการโกงกินและผลดีผลชั่วที่เกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลนั้นๆ การสร้างกระบวนการทางความคิดเหล่านี้ ไม่เพียงแต่จะแก้ปัญหาการทุจริตในสังคม แต่น่าจะเป็นทางออกของปัญหาต่างๆ และช่วยให้สังคมไทยอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขบนสังคมที่สามัคคีปรองดองและมีคุณธรรม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook