บทความเรื่องข้อควรรู้เมื่อถูกทวงหนี้แบบเถื่อนๆ

บทความเรื่องข้อควรรู้เมื่อถูกทวงหนี้แบบเถื่อนๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคที่มีปัญหาเรื่องการเป็นหนี้บัตรเครดิต แล้วถูกตามทวงหนี้อย่างเถื่อนๆ อยู่เสมอเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ย เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วจะบังคับใช้หนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นขั้นตอนที่ถูกต้องในการเรียกคืนหนี้ แต่เจ้าหนี้หลายคนเกิดอาการร้อนใจหวั่นเกรงว่าลูกหนี้อาจหนีไม่จ่ายหนี้คืน เพราะลูกหนี้ขาดการติดต่อหรือหลบหน้า หรืเป็นหนี้นอกระบบที่กฎหมายไม่รับรอง จึงจ้างนักทวงหนี้ทั้งแบบบุคลหรือสำนักงานกฏหมายเพื่อติดตามทวงหนี้แลกกับค่าจ้างมากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนหนี้ที่ทวงได้ จึงเป็นต้นเหตุให้พวกเขาต้องใช้ทุกวิธี หลายรูปแบบ ทั้งถูกกฎหมายหรือไม่ถูกต้อง เพื่อบีบคั้นให้ลูกหนี้จ่ายคืนหนี้แทนที่จะเลือกใช้วิธีฟ้องศาล ซึ่งอาจไม่ทันใจเจ้าหนี้ทำให้ลูกหนี้ หรือญาติพี่น้องต่างหวั่นเกรงกับพฤติกรรมของพวกเขาโดยมิทราบว่า นักทวงหนี้เหล่านั้นอาจกำลังทำละเมิดกฎหมายอาญาและมีสิทธิติคุก โดยไม่มีโอกาสใช้เงินค่าจ้างก็ได้ ผู้ถูกทวงหนี้แท้จริง จะองมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกู้ยืมเงินเท่านั้น เช่นลูกหนี้ ลูกหนี้ร่วม หรือผู้ค้ำประกัน เป็นต้น การข่มขู่ คุกคาม ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือผู้เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ ล้วนเป็นความผิดอาญาฐานกรรโชกทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 บัญญัติ "ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ ยอมให้ หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สามจนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำผิดฐานกรรโชกต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ถ้าความผิดฐานกรรดชกได้กระทำโดย 1. ขู่ว่าจะฆ่าขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส 2.ขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจ หรือผู้อื่น หรืออาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท จากหลักกฎหมายข้างต้น นักทวงหนี้ที่ใช้พฤติกรรมตัวอย่างเช่น เขียนจดหมายข่มขู่ด้วยวจาหยาบคายหรือเป็นเท็จ ทำร้ายร่างกาย ด่าทอ กักขัง ทำการรบกวนชีวิตประจำวัน เป็นต้น หากกระทำต่อลูกหนี้หรือสมาชิกในครอบครัว เพื่อน บรรดาผู้ถูกทวงหนี้มีสิทธิแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มคนเหล่านี้ได้ทันที หรือถ้ามีการทำร้ายบาดเจ็บ หรือกักขังหน่วงเหนี่ยว พวกเขาต้องรับโทษอาญาฐานทำร้ายร่างกาย หรือทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพอีกคดีหนึ่งด้วย สำหรับส่วนการส่งคำเตือนเรื่องหนี้ด้วยวิธีก้าวร้าวหรือจงใจประจานทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงด้วยวิธีใด ๆอาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทก็ได้ดังนั้น สคบ. ขอเตือนเจ้าหนี้ที่มีพฤติกรรมการติดตามหนี้ ควรใช้วิธีการติดตามที่เหมาะสมตามขั้นตอนของกฏหมาย หากเป็นการกระทำทำนองละเมิดสิทธิลูกหนี้อาจ "ติดคุก ได้เหมือนกัน ซึ่งกฏหมายคุ้มครองผู้สุจริตเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ต้องอยู่ภายใต้กฏหมายเดียวกัน *************************************************** ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เผยแพร่......โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook