อักษรศาสตร์จุฬาฯกระอักเด็กรับตรงแห่ทิ้งเก้าอี้

อักษรศาสตร์จุฬาฯกระอักเด็กรับตรงแห่ทิ้งเก้าอี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สจล.-มจธ.ไม่มั่นใจใช้GAT,PATเฟ้นความถนัด

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำลังจัดทำระบบการรับตรงกลางใกล้เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะเข้าร่วมในระบบรับตรงกลาง เพราะขณะนี้คณะที่เปิดรับตรงเอง 100% กำลังประสบปัญหา อาทิ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็พบปัญหาเด็กสละสิทธิกว่า 100 คน ทำให้ต้องรีบทำเรื่องถึง สกอ. เพื่อขอเปิดรับแอดมิชชั่นกลาง จะได้คัดเลือกเด็กได้เต็มตามเป้าหมายจำนวนการรับ

ด้าน รศ.ดร.กิตติ ตีรเศรษฐ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาด กระบัง (สจล.) กล่าวถึงกรณีที่ สกอ.จะตั้งศูนย์กลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาด้วยระบบรับตรง ว่า สจล.รับนักศึกษาผ่านระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิต นักศ แอดมิชชั่น 48% ที่เหลือคัดเลือกโดยระบบรับตรง ซึ่งตนไม่แน่ใจว่าถ้ามารับตรงกลางแล้วจะไปเหมือนกับระบบแอดมิชชั่นกลางหรือไม่ และหากการรับตรงกลางใช้คะแนนสอบความถนัดทั่วไปหรือ GAT และคะแนนความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการหรือ PAT ก็ไม่แน่ใจว่าจะสามารถคัดเด็กที่มีความสามารถตรงตามที่มหา วิทยาลัยต้องการได้ เพราะที่ผ่านมา สจล. รับตรง เกินครึ่ง โดยออกข้อสอบรับตรงเอง ไม่ได้ใช้คะแนน GAT และ PAT เลย เพื่อให้มั่นใจว่าข้อสอบ คัดเด็กได้ตามที่ต้องการ และที่สำคัญเด็กจะได้ไม่ต้องออกกลางคันด้วย ดังนั้น สจล.จะเข้าร่วมกับการรับตรงกลางของ สกอ.หรือไม่ คงต้องดูรายละเอียดให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ ส่วนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ จะเข้าร่วมรับตรงกับ สกอ.หรือ ไม่นั้น ตนไม่ทราบ แต่ขณะนี้หลายมหาวิทยาลัยไปรับตรงเอง อาทิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) รับตรงถึง 80%

รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า มจธ.พยายามควบคุมการรับนักศึกษาไม่ให้รับตรงเกิน 70% ส่วนที่ สกอ.ตั้งศูนย์รับตรง เพื่อลดภาระให้แก่เด็กและผู้ปกครองนั้นตนเห็นด้วย แต่ไม่แน่ใจว่าถ้าการรับตรงกลางให้ใช้คะแนน GAT และ PAT แล้วจะสามารถวัดเด็กได้ตามศักยภาพจริงของเด็กหรือไม่ และอาจจะได้เด็กไม่ตรงกับธรรมชาติของมหาวิทยาลัยที่ต้องการคัดเด็กให้ตรงตามความถนัด เพราะข้อสอบ GAT และ PAT ยังเน้นวัดความรู้ตามรายวิชา ไม่ใช่การวัดศักยภาพผู้เรียนว่าจะเรียนได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม มจธ.ยังตอบไม่ได้ว่าจะเข้าร่วมระบบรับตรงกลางหรือไม่ เพราะการรับเด็กเข้าเรียนมีตัวแปรอยู่มาก.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook