ชูการท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน หวังพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยหลังโควิด-19

ชูการท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน หวังพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยหลังโควิด-19

ชูการท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน หวังพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยหลังโควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะด้านการเดินทางและท่องเที่ยว แต่ในปัจจุบันสถานการณ์เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค 2022 จึงเป็นโอกาสที่รัฐบาลไทยจะฟื้นฟูการท่องเที่ยวซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อน ให้สอดคล้องไปกับ “การฟื้นฟูความเชื่อมโยง (Connect)” ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของการประชุมครั้งนี้


เพื่อต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมและดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ รัฐบาลมีการส่งเสริมให้แต่ละพื้นที่ชูสถานที่ท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ การส่งเสริมการท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน เป็นแนวคิดที่เน้นการจัดการการท่องเที่ยวแบบองค์รวม วางแผนและจัดการการท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับแหล่งท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนโดยมีตลาดน้อยโมเดลและสามพรานโมเดลเป็นต้นแบบ ซึ่งเป็นโมเดลที่เน้นการทำเกษตรอินทรีย์ วิถีชีวิตพอเพียง และวิถีชาวบ้านที่พึ่งพาตนเอง การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เช่น แพทย์แผนไทย สมุนไพรไทย และนวดแผนไทย รวมถึงการพัฒนาต้นแบบ Wellness Industry หรือ อุตสาหกรรมความงามและการดูแลสุขภาพ ด้วยนวัตกรรมสีเขียว (Green Medicine) เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์โดยใช้พืชกัญชา กัญชง และสมุนไพรเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ยังกระตุ้นการท่องเที่ยวด้วยโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชนผ่านการท่องเที่ยวภายในประเทศ และ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox) แผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของประเทศไทย ที่อนุญาตให้นักเดินทางต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว สามารถเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว และสามารถท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตได้เป็นเวลา 14 วัน ก่อนเดินทางไปยังพื้นที่อื่นในไทย หากผลตรวจไม่พบเชื้อโควิด-19  รวมถึงพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวให้สวยงามจนคว้ารางวัลระดับโลก ได้แก่ คลองโอ่งอ่าง คว้ารางวัลต้นแบบในการปรับปรุงภูมิทัศน์ในเขตเมืองของเอเชียประจำปี ค.ศ 2020 และที่สำคัญคือ มีการสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวด้วยการจัดทำมาตรฐาน SHA และ SHA+ สำหรับสถานประกอบการที่ได้มาตรฐานการป้องกันโควิด-19

นอกจากนี้ ไทยได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งของหนึ่งในสถานที่สำคัญระดับภูมิภาคอาเซียน นั่นคือ อาคารคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยของอาเซียน หรือ Disaster Emergency Logistics System for ASEAN หรือเรียกว่า DELSA ตั้งอยู่ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 16 ชัยนาท ซึ่งเป็นอาคารสำหรับเก็บ สิ่งของจำเป็น เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย รวมถึงเสบียงอาหาร และน้ำดื่มสำหรับผู้ประสบภัยในภูมิภาคอาเซียน สาเหตุที่อาคารหลังนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดชัยนาท เนื่องจากเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม สามารถส่งสิ่งของช่วยเหลือไปยัง พื้นที่ทั่วประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว และสามารถส่งต่อไปประเทศสมาชิกอาเซียนได้ในหลายเส้นทาง

[Advertorial] 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook