“วิโรจน์” แถลงนโยบายแก้ปัญหาจราจร แนะตัดคะแนน-ห้ามขับรถ-ยกเลิกใบขับขี่

“วิโรจน์” แถลงนโยบายแก้ปัญหาจราจร แนะตัดคะแนน-ห้ามขับรถ-ยกเลิกใบขับขี่

“วิโรจน์” แถลงนโยบายแก้ปัญหาจราจร แนะตัดคะแนน-ห้ามขับรถ-ยกเลิกใบขับขี่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“วิโรจน์” แถลง4นโยบายแก้ไขปัญหาทางเท้า นำเทคโนโลยีมาใช้ หนุน AI ตรวจจับ การฝ่าฝืนกฎหมายเชื่อมสัญญาณไฟคนข้ามกับไฟแดงสี่แยก

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลง 4 นโยบายแก้ไขปัญหาทางเท้า ที่พัฒนาร่วมกับว่าที่ ผู้สมัคร ส.ก. เขตบางบอน นายนิธิกร บุญยกุลเจริญ ผู้พัฒนาเว็บรายงานน้ำท่วมและแอปพลิเคชันแจ้งปัญหาอื่นๆ  พร้อมยกโปรเจกต์ “พบเห็นทางม้าลายมีปัญหาแจ้งวิโรจน์” ผ่านระบบแจ้งปัญหาฟองดูว์ หลังการเปิดใช้งานได้เพียง 3 วัน มีประชาชนร้องเรียนมาแล้วกว่า 109 จุด โดยมีพื้นที่ที่มีการร้องเรียนซ้ำหลายราย 3 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ใต้ทางด่วนสาทรเหนือสาทรใต้ ถนนบรรทัดทอง และถนนอ่อนนุช

พร้อมกันนี้ ได้แถลงนโยบายหลัก 4 ข้อ ซึ่งหากผู้ว่าฯ ชื่อวิโรจน์ พร้อมนำเอานโยบายมาปรับใช้ในทันที

1.แก้ปัญหาโครงสร้างวิศวกรรม ต้องมีทางม้าลายที่ได้มาตรฐาน ชัดเจน มีสัญญาณไฟกด มีกล้องตรวจจับความเร็ว และมีเส้นซิกแซ็กเพื่อเป็นการเตือนไม่ให้ขับรถด้วยความเร็ว

2.ยกปัญหาการบังคับใช้กฎหมายจราจร มาเป็นนโยบายหลัก ซึ่งแม้ว่าการบังคับใช้กฎหมายจราจรจะเป็นเรื่องพื้น ตนจึงเสนอให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เช่น การเชื่อมโยงการทำผิดกฎจราจรและสิทธิในการต่อภาษีรถยนต์ เสนอให้มีการตัดคะแนนใบขับขี่ เมื่อทำผิดกฎหมายต้องมีบทลงโทษ เช่น ห้ามขับรถ 30 วัน ไปจนถึงยกเลิกใบขับขี่

3. เชื่อมสัญญาณไฟคนข้ามกับไฟแดงสี่แยก เนื่องจากถนนเส้นรองของกรุงเทพเป็นถนนที่คนใช้สัญจรและมีความหนาแน่น จึงต้องวางโครงสร้างไฟจราจรและไฟแดงสี่แยกให้เชื่อมกันทุกจุด

4. กทม. ต้องทำงานเชิงรุก ไม่ต้องรอประชาชนแจ้ง สำนักงานเขตต้องสำรวจทางเท้าทุก 3 เดือน มีการซ่อมบำรุง ตรวจสอบสภาพให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ในนโยบายหลักทั้ง 4 ข้อนี้ เตรียมนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สอดแทรกในแต่ละด้านให้การจัดการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเสนอให้มีการติดกล้องไว้บนรถที่เป็นทรัพย์สินของกทม. เพื่อให้ง่ายกับการตรวจเช็กทางม้าลาย รวมถึงสนับสนุนให้มีการนำเอา AI มาใช้ตรวจจับ การฝ่าฝืนกฎหมาย และการใช้ไฟ LED ฝังบริเวณทางม้าลาย เพื่อตีเส้นเครื่องหมายจราจรให้เด่นชัด และ มีการใช้เซนเซอร์แทนการจับเวลาข้ามถนน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook