เดอะรีเมทเกอร์

เดอะรีเมทเกอร์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
งานฝีมือที่ผลิตขึ้นจากของเก่าที่เติมความคิดใหม่ แต่ละรายการอาจทำได้เพียงชิ้นเดียว จะเป็นผลงานที่มีคุณค่าทางจิตใจ มักเป็นสินค้าที่ผู้ซื้อไม่เกี่ยงราคา

ถ้าเปิดตัวสู่ตลาดโลกได้ โอกาสจะเจอนักช้อปที่ต้องการความเป็นหนึ่ง ไม่เหมือนใคร ก็ง่ายขึ้น

ยุทธนา อโนทัยสินทวี กรรมการผู้จัดการบริษัทสามพิม คือคนที่พบตัว เองมาหลายปีแล้วว่า ชอบงาน รีเมก หรือการเอาเสื้อผ้าเก่ามาทำใหม่ เพราะสนุกที่ได้อยู่กับความยากในการนำวัตถุดิบ คือเสื้อผ้าที่มีทรวดทรงไม่ซ้ำกัน มาจัดให้ลงตัวกับของที่ต้องการ จึงต้องคิดออกแบบกันชิ้นต่อชิ้น เป็นงานแฮนด์เมด ที่กว่าจะออกมาแต่ละชิ้นจะเสียเวลามาก

ต้องเรียกทำรีเคลม (reclaim= ใช้ประโยชน์จากของเก่า) ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของ รียูส (นำกลับมาใช้ใหม่) โดยตกแต่งดัดแปลงจากเดิมให้มีรูปลักษณ์ใหม่ ออกแบบเสื้อผ้าเก่าให้เป็นเครื่องใช้งานแฟชั่น ของตกแต่งบ้าน ประเภทเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ทำมาแล้ว 5 ปี มีลูกค้าส่วนใหญ่ในต่างประเทศ และปีนี้เริ่มเป็นที่นิยมในบ้านเรา

สินค้าที่ทำขึ้นเพื่อส่งออกและเป็นของที่ใช้ประโยชน์จากของใช้แล้ว เป็นเรื่องสอดคล้องกับกระแสโลกที่กำลังทำทุกวิถีทางเพื่อ ลดโลกร้อน อาศัยอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อเผย แพร่สินค้า ยุทธนา บอกว่า เว็บไซต์ของบริษัท คือ www.triple-pim.com และ www. theremaker.com มีไว้ประชาสัมพันธ์ให้ เห็นความเคลื่อนไหว เห็นการทำงานของเขาว่ามีอะไรบ้าง โดยมีบล็อกเขียนเผยแพร่ข้อมูล มีระบบชอปปิงออนไลน์ รวมถึงกา้อหาที่สื่อต่าง ๆ เคยเผยแพร่บทสัมภาษณ์ของเขารวบรวมไว้ ให้แฟนคลับ หรือผู้ที่สนใจติดตามผลงาน ได้ทราบความคืบหน้าของงานที่ทำ

เว็บไซต์ theremaker.com มีระบบ อีคอมเมิร์ซที่สามารถสั่งซื้อโดยสามารถหักบัญชีสั่งซื้อได้ทันที ระบบจะแจ้งว่าได้โอนเงินแล้ว จากนั้นก็จะส่งของไป หากเป็นลูกค้าในประเทศก็ส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษ ส่วนต่างประเทศ ก็ให้เลือกว่าต้องการไปรษณีย์ไทย หรือกิจการขนส่งใด

ผมไม่ได้เน้นฮาร์ดเซล หรือเปิดมาขายของอย่างเดียว แต่จะพยายามประชาสัมพันธ์ การขายเป็นรอง ยุทธนาบอกเทคนิคการทำการตลาดแบบไม่เร่งร้อนของเขา โดยอธิบายเพิ่มเติมว่าการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต นอกจากนำเสนอข้อมูลใหม่ ๆ ก็ยังฝากลิงก์ หรือโพสต์ข้อความเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือองค์ความรู้ ไปยังเว็บไซต์ หรือเว็บท่าในต่างประเทศ โดยลูกค้าที่มาจากระบบนี้มีราว 30 เปอร์เซ็นต์

ช่องทางค้าขายนอกจากนี้ เป็นการออกงานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นในประเทศต่าง ๆ

การผลิตสินค้ารีเมก ต่างกับอุตสาหกรรมอื่น ที่ออกแบบครั้งเดียวแล้วผลิตจำนวนมาก แต่ เดอะรีเมกเกอร์เป็นการออกแบบและผลิตชิ้นต่อชิ้น ยุทธนาจะเป็นคนคิดแบบ พิจารณาจากวัตถุดิบซึ่งมีที่มาหลากหลาย โดยก่อนหน้านี้ ได้จากตลาดโรงเกลือ จ.สระแก้ว แต่ปัจจุบันมีเสื้อผ้าเก่าตรงจากต่างประเทศมาให้เลือก เมื่อเสร็จงานที่มีตลอดวัน ซึ่งรวมถึงการออกบรรยายถ่ายทอดความรู้ให้กับสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ที่เชิญเป็นวิทยากร ตอนค่ำ ก็จะนั่งหน้าจอคอมพิวเตอรัพเดทข้อมูล เขียนบล็อก เป็นกิจวัตรของชีวิตประจำวัน แจ้งความคืบหน้าที่เกิดขึ้นสำหรับชิ้นงาน หรือมีสินค้าใหม่ ให้ผู้ติดตามได้รับรู้ ส่วนการลงภาพ จะให้เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคมาดำเนินการ

การที่สินค้าจำหน่ายเว็บไซต์มีเพียงอย่างละชิ้น จะเกิดปัญหาการสั่งซ้ำซ้อนขึ้นได้หรือไม่ ยุทธนาบอกว่า ถ้าขึ้นเว็บและขายได้แล้ว ก็จะตัดภาพสินค้าออกจากหน้าจอ นำชิ้นอื่นหรือลายอย่างใหม่ทดแทนทันที จึงไม่มีปัญหาผู้ซื้อสับสน

ยุทธนา ฝากบอกถึงผู้ประกอบการทั้งปวงด้วยว่า ปัจจุบันประชากรออนไลน์มีมากขึ้น การทำประชาสัมพันธ์ทางเว็บ จึงมีบทบาทสูง บรรดาห้างสรรพสินค้า กิจการต่าง ๆ รัฐบาล ตลอดจนนักการเมืองต่าง ก็อาศัยเป็นช่องทางสื่อสาร จึงอยากให้ผู้ประกอบการที่ไม่เคยใช้ ลองเปิดใจ เริ่มลองใช้งาน เชื่อว่าจะเพิ่มยอดขาย หรือทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

ยุทธนาบอกว่า ธุรกิจของเขาก็เอา อินเทอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่วันแรกจนถึงเดี๋ยวนี้

ออนไลน์จึงเป็นกลเม็ดการทางค้า ที่สำคัญ.

วีระพันธ์ โตมีบุญ

VeeraphanT@Gmail.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook