แพทย์ชนบท....ที่เป็นไป

แพทย์ชนบท....ที่เป็นไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ปี พ.ศ. 2519 เป็นปีกำเนิด สหพันธ์แพทย์ชนบท โดยการริเริ่มของ นพ.มานิตย์ ประพันธ์ศิลป์ นพ.อุเทน จารณศรี นพ.ประสพ พาลพ่าย และคณะอีกหลาย ๆ คนจากบางตอนในบทนำของหนังสือ แพทย์ชนบท ที่ออกในปี พ.ศ. 2519 ระบุว่า สหพันธ์แพทย์ชนบท จะเป็นศูนย์กลางประสานงานแพทย์ระดับอำเภอทั้งประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นในการปฏิบัติงาน

ในปี พ.ศ. 2521 หลังจากเหตุการณ์การเมืองคลี่คลายลง กลุ่มผู้ก่อตั้งสหพันธ์แพทย์ชนบทอันมี นพ.มานิตย์ ประพันธ์ศิลป์ และนพ.สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ ได้ตระเวนเยี่ยมเยียนแพทย์ชนนภาคอีสาน และร่วมผลักดันให้มีการประชุมแพทย์ชนบททั้งประเทศอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2521 และที่ประชุมตกลงจะให้มีการรวมกลุ่มขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชื่อว่า ชมรมแพทย์ชนบท และ 2 ปีหลังจากตั้งชมรมฯ ผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการแพทย์ ได้ให้คำแนะนำเรื่องการจัดหาทุน เพื่อนำมาใช้พัฒนาชมรม จึงมีการตั้ง มูลนิธิแพทย์ชนบท ตามมาด้วย

ปัจจุบัน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ เป็นประธานชมรมฯ เป็นคนเพชรบูรณ์ จบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แต่ยังไม่ทันจบ ก็สอบเทียบเข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ และจบการศึกษาในปี 2530 รับราชการในวันที่ 1 เม.ย. 2530 เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลนาแห้ว จังหวัดเลย ในช่วงภาวะสงครามบ้านร่มเกล้าพอดี หลังจากนั้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2532 ได้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูกระดึง จังหวัดเลย อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยยึดคำขวัญสั้น ๆ ในการพัฒนางานโรงพยาบาลว่า อบอุ่นเหมือนบ้าน...โรงพยาบาลภูกระดึง.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook