หน้าฝนระวัง “แมงมุมแม่ม่ายดำ-แมงมุมสันโดษสีน้ำตาล” พิษร้ายแรง ยังไม่มียาต้าน
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/ns/0/ud/1634/8170570/spider.jpgหน้าฝนระวัง “แมงมุมแม่ม่ายดำ-แมงมุมสันโดษสีน้ำตาล” พิษร้ายแรง ยังไม่มียาต้าน

    หน้าฝนระวัง “แมงมุมแม่ม่ายดำ-แมงมุมสันโดษสีน้ำตาล” พิษร้ายแรง ยังไม่มียาต้าน

    2020-05-25T15:00:34+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ประกาศเตือนช่วงหน้าฝนเฝ้าสังเกตแมงมุม 2 ชนิด คือ แมงมุมแม่ม่ายดำ และแมงมุมสันโดษสีน้ำตาล เพราะเป็นแมงมุมแบบมีพิษ ฤทธิ์ของแต่ละตัวร้ายแรงมาก โดยผู้ป่วยที่ถูกแมงมุมมีพิษกัด จะมีอาการทางผิวหนังเริ่มจากปวดเล็กน้อย เริ่มรุนแรงขึ้น และปวดต่อเนื่องร่วมสัปดาห์

    สำหรับแมงมุมแม่ม่ายดำ (black widow spider) และแมงมุมสันโดษสีน้ำตาล (brown recluse spider) มีลักษณะที่เด่นชัดของแมงมุมมีพิษให้สังเกตตรงบริเวณท้องจะป่องขึ้นมาเป็นพิเศษ ซึ่งแตกต่างจากแมงมุมที่เจอตามบ้านทั่วไป พิษของแมงมุมสามารถทำให้เกิดอาการทางระบบอื่นๆ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ไข้ หรือ ปวดศีรษะ ในบางรายอาจรุนแรงมาก เช่น ไตวาย หรือ ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด โดยอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นภายใน 1-2 วันหลังโดนกัด

    เนื่องจากในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนทำให้สัตว์จำพวกแมลงมีพิษต่างๆ มักจะหลบซ่อนเข้ามาตามบ้านเรือน จึงควรทำความสะอาดและตรวจสอบเสื้อผ้าก่อนสวมใส่ ตรวจสอบที่นอนก่อนนอนเสมอ สำหรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อถูกแมงมุมมีพิษกัด ให้รีบทำความสะอาดและประคบเย็นบริเวณที่ถูกกัด หากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ ไม่ควรประคบร้อนที่บริเวณที่ถูกกัดโดยเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้พิษแมงมุมกระจาย

    ทั้งนี้ หากมีอาการรุนแรง เช่น คลื่นไส้อาเจียน มีไข้ หรือปวดศีรษะ ให้รีบไปโรงพยาบาล โดยนำแมงมุมไปด้วย ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีเซรุ่มหรือยาต้านพิษ เนื่องจากพิษแมงมุมในประเทศไทยไม่ได้รุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

    ขอขอบคุณ

    ภาพ : istockphoto