ซิป้าขับเคลื่อน ครีเอทีฟ อีโคโนมี จัดทำโครงการ ''ดิจิตอล มีเดีย เอเชีย 2010'' รุกตลาดต่างประเทศ ''เน

ซิป้าขับเคลื่อน ครีเอทีฟ อีโคโนมี จัดทำโครงการ ''ดิจิตอล มีเดีย เอเชีย 2010'' รุกตลาดต่างประเทศ ''เน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หน่วยงานสังกัด ไอซีที-วิทย์ เร่งเดินหน้าโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ซิป้า เผยโรดแมป สร้างเทคโนโลยีไอซีที ขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ประเดิมโครงการการดิจิตอลมีเดียเอเชีย สร้างตลาดต่างประเทศ 200 ล้านบาท ขณะที่ เนคเทค รับจัดสรรงบ 180 ล้านบาท ประเดิมพัฒนาโอเพนซอร์ซ

ดร.รุ่งเรือง ลิ้มชูปฎิภาณ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า เปิดเผยกับ ฐานเศรษฐกิจ ว่า ยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาล ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2553-2555 คือการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ หรือครีเอทีฟ อีโคโนมี ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เตรียมเปิดตัวโครงการครีเอทีฟไทยแลนด์ประมาณเดือนสิงหาคม 2552

ทั้งนี้ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ซิป้า เข้าไปเกี่ยวข้องการพัฒนาด้านดิจิตอล โดยนำไอที เครือข่ายเทคโนโลยีที่มีอยู่ไปพัฒนา 4 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1.ด้านวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยว 2.งานศิลปะไทย 3.สื่อบันเทิง และ 4.แฟชั่นดีไซน์ งานออกแบบ และ 15 อุตสาหกรรมย่อย อาทิ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมเพลง อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

ทั้งนี้ได้วางกรอบการดำเนินการไว้ 6 แผนงานหลัก คือ 1.นโยบายและแผน ซึ่งขณะนี้มีแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารแห่งชาติ ฉบับที่ 2 เป็นกรอบ นอกจากนี้ซิป้าอยู่ระหว่างการจัดทำแผนส่งเสริมการลงทุน โดยจะขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีปรับเปลี่ยนเงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 2. ด้านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะมุ่งเน้นด้านเทคโนโลยี คราวน์ คอมพิวติ้ง และการผลักดันโครงการ ภูเก็ต ไอซีที อินโนเวชั่น พาราไดส์ (Phuket ICT Innovation Paradise) เพื่อดึงต่างชาติ เข้ามาลงทุนตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาที่ภูเก็ต เพื่อผลักดันให้เป็นศูนย์กลางด้านการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาค 3. ด้านการพัฒนาบุคลากรเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่วมกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน, สถาบันเอ็มไอที และบริษัทไอบีเอ็มฯ ในการจัดทำหลักสูตร ครีเอทีฟ เอนจิเนียริง เพื่อพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับ 4. ด้านการบริการเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีแผนลงทุนพัฒนาศูนย์ดิจิตอล ครีเอทิวิตี้ เซ็นเตอร์ ขึ้นมาให้กับผู้ประกอบการเข้ามาใช้เครื่องไม้เครื่องมือภายในศูนย์ดังกล่าวพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ 5. ด้านการพัฒนาเครือข่ายดิจิตอลคอนเทนต์ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการลงนามความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียในการพัฒนาดิจิตอลคอนเทนต์ และยังมีเครือข่ายสมาคมที่เกี่ยวข้องในประเทศอีกกว่า 30 สมาคม สุดท้ายคือ การพัฒนาตลาด ซึ่งขณะนี้ได้รับงบประมาณ 200 ล้านบาทในการจัดทำโครงการ ดิจิตอล มีเดีย เอเชีย 2010 เพื่อขับเคลื่อนการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ ตลอดจนการดึงนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนหรือร่วมผลิต

ขณะที่ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค กล่าวว่า แผนการดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ด้วยโอเพนซอร์ซ ภายใต้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลนั้น จะมุ่งดำเนินการพัฒนาโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบ ขายภายในประเทศ (Local brand PC) โดยจะดำเนินการร่วมกับบริษัทผู้ผลิตและนักพัฒนาโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์ใน ประเทศไทยเพื่อออกแบบโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานและผนวกโอเพนซอร์ซ ซอฟต์แวร์ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา เพื่อมุ่งสู่การขยายการใช้งานโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์ในตลาดซอฟต์แวร์ ทั้งนี้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคม ได้แก่ การประหยัดต้นทุนอันเกิดจากการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มาจากส่วนของชุมชนโอเพน

ซอร์ซซอฟต์แวร์

และส่วนของการใช้งานต้องเร่งสร้างความเข้าใจตลอดจนการใช้งานในหน่วยงานภาครัฐ โดยให้การฝึก-อบรม หลักสูตรการใช้งาน และการเตรียม call center และคลังความรู้เพื่อตอบคำถามและให้เป็นแหล่งหาคำตอบด้านการใช้งานที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ทุกเมื่อ

ทั้งนี้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ด้วยโอเพนซอร์ซ ภายใต้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เนคเทคได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 180 ล้านบาทภายในระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี โดยผลการดำเนินงานที่คาดว่าจะได้รับตลอดโครงการ คือ มีระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ 3 เวอร์ชัน , อบรมบุคลากรด้านโอเพนซอร์ซได้จำนวน 27,000 คน , บุคลากรเข้าทดสอบทักษะจำนวน 4,800 คน , เกิดผู้ประกอบการคอมพิวเตอร์ของไทย Local brand PC : Ecolonux ไม่น้อยกว่า 60 บริษัท , ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซพื้นฐาน มีความพร้อมใช้งานในระดับดีเยี่ยม ที่สำคัญที่สุดคือจะเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมสำหรับกิจกรรมทางธุรกิจและพร้อมสำหรับนักพัฒนา ลดปัญหาการละเมิดซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ของประเทศไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook