ธารน้ำแข็งขั้วโลกใต้เริ่มบางเฉียบ

ธารน้ำแข็งขั้วโลกใต้เริ่มบางเฉียบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดของทวีปแอนตาร์คติก (Antarctica) ได้บางลงเร็วขึ้นถึง 4 เท่าตัวในระยะเวลาเพียง 10 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น

ขั้วโลกใต้หรือทวีปแอนตาร์คติกเป็น แผ่นดินเนื้อที่ประมาณ 14 ล้านตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 2 เท่าของทวีปออสเตรเลียซึ่ง ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งมานานชั่วนาตาปี ความหนาของน้ำแข็งบนแผ่นดินก็ประมาณ 1.6 กิโล เมตรโดยเฉลี่ย

จากการศึกษาและวัดด้วยดาวเทียม ณ เกาะไพน์ของแอนตาร์คติกนั้นปรากฏว่าความหนาของน้ำแข็งละลายไปในอัตรา 16 เมตรต่อปี และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 เป็นต้นมาน้ำแข็งได้ละลายไปถึง 90 เมตร ซึ่งมีผลทำให้ระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้น

ทีมงานซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ดันแคน วิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้คำนวณอัตราการละลายของธารน้ำแข็งไว้เมื่อ 15 ปีก่อนว่าจะต้องใช้เวลาถึง 600 ปี จึงจะละลายหมด แต่จากข้อมูลปัจจุบันเมื่อนำ มใหม่ปรากฏว่าเหลืออายุเพียง 100 ปีเท่านั้น

ศาสตราจารย์แอนดรูว์ เชฟเฮิร์ด แห่ง มหาวิทยาลัยลีดส์ ได้กล่าวว่าถ้าหากธารน้ำแข็งตอนกลางทวีปละลายไปอาจจะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 20-30 เซนติเมตรโดยเฉลี่ย

ศาสตราจารย์เจสัน บอกซ์ แห่งมหา วิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอซึ่งได้ศึกษาอัตราการละลายของธารน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือก็ได้กล่าวว่า

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ตกใจว่าธารน้ำแข็งขนาดยักษ์เหล่านี้ถูกกระทบจากสภาวะโลกร้อนอย่างรวดเร็วเหลือเกิน ยิ่งศึกษาก็ยิ่งเจอ

ซึ่งทำให้เริ่มมั่นใจได้ว่า สัญญาณเกลียวมรณะ เกิดขึ้นจริง คงไม่มีวันหวนกลับคืน ซึ่งผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ สัญญาณเกลียวมรณะ เดือนกันยายน 2551 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ที่ผมเขียนไว้ ถ้าอ่านข่าวเกี่ยวกับเรื่อง ไต้ฝุ่น มรกต ที่ทำให้เกิดโคลนถล่มในไต้หวันมีผู้ถูกฝังทั้งเป็นถึง 500พ ขณะผมเขียนบทความวันที่ 14 สิงหาคม 2552 นี้เองก็คงจะยืนยันได้ว่าความเร็วและความแรงของพายุทั่วโลกจะรุนแรงและอันตรายมากขึ้นตามลำดับ

ซึ่งก็ตรงกับรายงานของบีบีซีเร็ว ๆ นี้เองที่ว่า ปัจจุบันเกิดพายุเฮอริเคนมากผิดปกติและมีความถี่สูงสุดตั้งแต่ช่วงหนึ่งพันปีที่ ผ่านมา

ผมก็เลยนำความจริงที่เกิดขึ้นบนโลกใบ นี้มาเขียนบ้างอย่างน้อยท่านผู้อ่านพิจารณาแล้วจะช่วยคิดทำกันอย่างไรบ้าง เราอยู่บนโลกใบเดียวกันครับ.

รองศาสตราจารย์

ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล

boonmark@rsu.ac.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook