นักวิจัยเผย ข้อมูล “โควิด-19” กว่าครึ่งในทวิตเตอร์มาจาก “บอท”

นักวิจัยเผย ข้อมูล “โควิด-19” กว่าครึ่งในทวิตเตอร์มาจาก “บอท”

นักวิจัยเผย ข้อมูล “โควิด-19” กว่าครึ่งในทวิตเตอร์มาจาก “บอท”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิจัยจากมหาวิยาลัยคาร์เนกีเมลลอน สหรัฐอเมริกา ระบุว่า แอคเคาท์ผู้ใช้งานทวิตเตอร์กว่าครึ่งหนึ่ง ที่เผยแพร่เรื่องราวที่มีเกี่ยวโรคโควิด-19 เป็น “บอท” โดยนักวิจัยได้ทำการศึกษา ข้อความในทวิตเตอร์กว่า 200 ล้านข้อความที่พูดคุยเรื่องไวรัสโคโรนา ตั้งแต่เดือนมกราคม และพบว่า กว่าร้อยละ 45 ของข้อความเหล่านี้ ถูกส่งโดยแอคเคาท์ผู้ใช้งานที่มีพฤติกรรมเหมือนหุ่นยนต์ที่สั่งการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ มากกว่าเป็นคนจริง ๆ แม้จะยังไม่สามารถระบุได้ว่า การใช้งานบอทนี้จะเป็นฝีมือของกลุ่มใด แต่นักวิจัยเชื่อว่า ข้อความที่ปรากฏในทวิตเตอร์มีเป้าหมายที่จะแบ่งแยกอเมริกา

“เรารู้ว่ามันดูเหมือนโฆษณาชวนเชื่อ แล้วก็คล้ายคลึงกับรูปแบบของรัสเซียหรือจีน แต่มันต้องใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาลในการพิสูจน์สมมติฐานนี้” Kathleen Carley อาจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิยาลัยคาร์เนกีเมลลอน และผู้ทำการวิจัยเรื่องนี้ กล่าว

นอกจากนี้ นักวิจัยยังสามารถระบุคำบอกเล่าที่เป็นเท็จเกี่ยวกับโรคโควิด-19 มากกว่า 100 เรื่อง และถูกเผยแพร่อยู่ในทวิตเตอร์โดยแอคเคาท์ผู้ใช้งานที่ควบคุมโดยบอท ซึ่งเนื้อหาที่ถูกเผยแพร่มักเกี่ยวข้องกับทฤษฎีที่ชี้ว่า มีการนำหุ่นมาวางในโรงพยาบาลเพื่อให้ดูมีผู้ป่วยเยอะ หรือข้อความที่เชื่อมโยงกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านเสาส่งสัญญาณระบบ 5G และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งคำบอกเล่าที่เป็นเท็จเหล่านี้กลับก่อให้เกิดความเสียหายจริง เช่น ในประเทศอังกฤษ เสาส่งสัญญาณ 5G มากกว่า 12 แห่งถูกเผาทำลาย เพราะมีคนเชื่อข่าวลวงในโลกอินเตอร์เน็ต

“เราเห็นการเคลื่อนไหวของบอทที่มากขึ้นกว่า 2 เท่า จากการคาดเดาของเราเอง โดยยึดตามสถานการณ์ภัยธรรมชาติ ภาวะวิกฤต และการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้” Carley ชี้

นักวิจัยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “ตัวล่าบอท” ซึ่งสามารถระบุเจาะจงแอคเคาท์ทวิตเตอร์ที่ทวีตข้อความมากกว่าที่มนุษย์จะสามารถทำได้ ขณะเดียวกันก็ทำการตรวจสอบผู้ติดตาม ความถี่ของการทวีตข้อความ และผู้ใช้งานทวิตเตอร์ถูกเมนชั่นถึงมากน้อยแค่ไหน เพื่อดูว่าข้อความดังกล่าวเป็นแอคเคาท์บอทหรือไม่

อย่างไรก็ตาม โฆษกของบริษัททวิตเตอร์ ได้ออกมาชี้แจงว่า คำว่า “บอท” สามารถนำมาใช้อธิบายได้หลายพฤติกรรมบนทวิตเตอร์ เช่น บุคคลที่ต้องการปกปิดข้อมูลความเป็นส่วนตัวเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องไม่ผิดเงื่อนไขที่ทวิตเตอร์วางไว้ อย่างไรก็ตาม ทวิตเตอร์ก็ได้ลบข้อความที่สร้างความเข้าใจผิด หรือเป็นข้อมูลที่เป็นอันตรายเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา ไปแล้วหลายพันข้อความ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook