ศธ.ชงเพิ่มงื่อนไขให้นร.กลับมาใช้ทุน

ศธ.ชงเพิ่มงื่อนไขให้นร.กลับมาใช้ทุน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
วันนี้(18 ส.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จาการประชุมคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เมื่อเร็วๆนี้นั้น ที่ประชุมได้มีการรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าวมานำเสนอที่ประชุมได้รับทราบเพิ่มเติม เช่น ปัญหาที่นักเรียนในโครงการไปเรียนในต่างประเทศ โดยที่ไม่ทราบว่าในประเทศที่เดินทางไปศึกษาต่อนั้น ไม่มีการสอนในระดับปริญญาตรี เช่น ประเทศสเปน ออสเตรีย ในขณะที่ตามระเบียบของโครงการกำหนดให้นักศึกษาต้องไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรี นอกจากนั้นมีบางประเทศมีเงื่อนไขบังคับว่า ก่อนที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัย จะต้องเรียนภาษาอย่างน้อย 2 ปี และต้องเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยอีก 1 ปี รวมเป็น 3 ปี จึงจะเข้ามหาวิทยาลัยได้ เช่น ประเทศเดนมาร์ก สวีเดน รวมทั้งยังมีปัญหาอื่นๆ ที่เคยเสนอให้ที่ประชุมได้รับทราบไปแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งทั้งหมดเกิดจากความเร่งรีบในการดำเนินโครงการ จนทำให้ขาดการตรวจสาอบ และเตรียมการให้พร้อมก่อน ในที่สุดจึงเกิดเป็นปัญหาที่ค้างมาจนถึงปัจจุบัน ที่ทำให้มเด็กจำนวนมากที่เรียนไม่ได้ และขอกลับมาเรียนในประเทศ หรือบางกรณีเมื่อขอกลับมาเรียนในประเทศแล้ว ก็ขอไปเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชน ในสาขาวิชาที่เรียนยาก และมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เช่น ขอไปเรียนทันตแพทย์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีมากขึ้นเป็นลำดับ

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ดังนั้นที่ประชุมจึงมีความเห็นให้ตั้งคณะทำงานขึ้น โดยมีน.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อให้ไปช่วยพิจารณาว่า นักศึกษาที่ได้รับทุนในโครงการไปแล้ว หากต้องการขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไปจากข้อตกลงเดิมจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์อย่างไรหรือไม่ อาทิ ให้นักเรียนกลุ่มนี้จะต้องกลับมาทำงานรับใช้ท้องถิ่นของตนเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และท้องถิ่นที่นักศึกษาที่ได้รับทุนมากที่สุด เพราะเงื่อนไขเดิมของโครงการไม่ได้มีการกำหนดรายละเอียดเงื่อนไขอะไรไว้ เพียงแค่ขอให้นักศึกษาเมื่อเรียนจบแล้วให้กลับประเทศเท่านั้น รวมทั้งขอให้คณะกรรมการฯ ไปพิจารณาด้วยว่า มีความจำเป็นหรือไม่ที่จะนำไปสู่การขอทบทวนมติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนหรือไม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากขึ้น

''ต้องยอมรับว่าโครงการดังกล่าวสร้างภาระงบประมาณให้กับรัฐถึงปีละ 5,000 ล้านบาท ซึ่งจากเดิมใช้เงินจากการขายสลากเลขท้ายพิเศษ 2 ตัว 3 ตัว แต่เมื่อไม่มีการนำเงินดังกล่าวมาใช้แล้วก็จะต้องจัดสรรจากงบปกติของ ศธ. ซึ่งในกรณีของนักเรียนที่อยู่ในโครงการทั้งรุ่น 1 และ 2 ที่ไม่ได้ขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขอะไรก็ยังคงเป็นไปตามเงื่อนไขเดิม คือ ไม่ต้องกลับมาใช้ทุนแต่อย่างใด ทั้งนี้ยืนยันว่านักเรียนในโครงการจะยังคงได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไม่มีการยกเลิกกลางคันแน่นอน เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบต่อเด็ก แต่ในส่วนของการดำเนินการในรุ่นที่ 3 นั้น จะต้องชะลอไปก่อนเพราะโครงการดังกล่าวเป็นภาระงบฯ ของรัฐเป็นจำนวนมาก'' นายจุรินทร์ กล่าว.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook