จำคุก''รังสรรค์ แสงสุข''อดีตอธิการ ม.รามฯ

จำคุก''รังสรรค์ แสงสุข''อดีตอธิการ ม.รามฯ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ที่ห้องพิจาณาคดี 906 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 13.30 น. วันนี้(6 ส.ค.) ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ 2389 /2548 ที่ ร.ต.ท.จรัญ ธานีรัตน์ อดีตอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นโจทก์ฟ้อง นายรังสรรค์ แสงสุข อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง กับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ อีก 10 คน ประกอบด้วย นายเฉลิมพล ศรีหงส์ อดีตรองอธิการบดี นางระวิรรณ ศรีคร้ามครัน อดีตคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ นายวิรัตน์ แดนราช รองอธิการบดี นายประสาท สง่าศรี รองอธิการบดี นายประชา ประยูรพัฒน์ ผอ.กองการกีฬา นางทิพาพัน ศรีวัฒนศิริกุล หัวหน้างานบุคคล นายวิริยะ เกตุมาโร รองอธิการบดี นายวัฒน์ บุญกอบ รองอธิการบดี นายบุเรง ธนพันธุ์ รองอธิการบดี และนางกัลยา ตัณศิริ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ร่วมกันเป็นจำเลยที่1 - 11 ตามลำดับฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

คดีนี้โจทก์ฟ้องระบุความผิดสรุปว่า เดิมโจทก์เป็นอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ยื่นผลงานวิชาการและเอกสารทางวิชาการ เสนอนางระวิวรรณ จำเลยที่3 ในฐานะคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ประกอบการพิจารณาหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือ ผ.ศ.ระดับ 6 เพื่อเสนอต่อไปยังนายรังสรรค์ จำเลยที่1 ซึ่งเป็นอธิการบดี โดยมีการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นกลั่นกรองผลงานของโจทก์ และกล่าวหาว่าโจทก์ลอกเลียนผลงานทางวิชาการของบุคคลอื่น จากนั้นได้มีการแต่งตั้งจำเลยที่ 4 เป็นประธานสอบข้อเท็จจริง จำเลยที่5,6,7เป็นกรรมการ และเลขานุการ สรุปการสอบสวนว่า การกระทำของโจทก์ผิดวินัย จึงมีการแต่งตั้งจำเลยที่ 8 เป็นประธานกรรมการสอบวินัย และมีจำเลย 9,10,11 ร่วมเป็นกรรมการสอบสวน และมีความเห็นว่สโจทก์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จึงมีมติให้ปลดโจทก์ออกจากราชการ ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 3 - 11 เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์และเอาใจจำเลยที่1

โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์มติดังกล่าวจากอนุกรรมการ ซึ่งก็เห็นว่าโจทก์มิได้กระทำผิด โจทก์นำมติดังกล่าวไปแจ้งคณะกรรมการชุดใหญ่ ซึ่งก็เพิกเฉยไม่นำเรื่องเสนอโจทก์กลับเข้ารับราชการทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยให้การปฏิเสธว่า พวกจำเลยได้ปฏิบัติจริงตามหน้าที่ และรับฟังข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายไปตามอำนาจหน้าที่ และตามหลักวิชาการ ไม่มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ < />

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า แม้โจทก์จะถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนผลงานทางวิชาการ แต่ก็ได้อ้างอิงแหล่งที่มาไว้ท้ายเล่ม ถือว่าไม่มีเจตนาปกปิด การกระทำของจำเลยที่1,3,5 เป็นการเลือกปฏิบัติ เป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ โดยเฉพาะจำเลยที่1 เป็นอธิการบดีมานานย่อมรู้ว่าเหตุการณ์และข้อเท็จจริงต่างๆเป็นเช่นไร ฟังได้ว่าเฉพาะจำเลยที่1,3และ5 กระทำผิดตามฟ้อง ตามมาตรา 157 ประกอบมาตรา 90

พิพากษาลงโทษจำคุกคนละ 2 ปี ปรับคนละ 20,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 พิพากษาจำคุก 1 ปี ปรับ 10,000 บาท แต่จำเลยทั้งสามเป็นคณาจารย์เคยประกอบคุณงามความดีมาก่อน โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้เป็นเวลา 2 ปี ส่วนจำเลยที่2,4,6,7,8,9,10,11 แม้จะเป็นการกระทำที่บกพร่อง แต่โจทก์ไม่นำสืบให้เห็นชัดเจนว่าผิดอย่างไร จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้พิพากษายกฟ้อง.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook