ยิ่งช้ายิ่งถอย

ยิ่งช้ายิ่งถอย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เลาะเลียบคลองผดุงฯ

ตุลย์ ณ ราชดำเนิน tulacom@g,mail.com

จากผลการสำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาคเอเชีย โดย International Telecommunication Union (ITU) ช่วงปี45-50 พบว่า ประเทศไทยมีพัฒนาการทางโครงสร้างพื้นฐานเข้าถึงและการใช้ ICT แค่ 1 ใน 5 ใกล้เคียงกับจีนและเวียดนาม ทั้งหมดต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย

เทียบเคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น ญี่ปุ่น และสิงคโปร์แล้วเข้าถึงและการใช้ ICT ต่ำกว่าหลายเท่า

เมื่อเจาะลึกลงไปถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาเล่าเรียนในสถานศึกษา สำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดสรรคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ร้อยละ 72.6 อาชีวศึกษา ร้อยละ 77 อุดมศึกษา ร้อยละ 55 และการศึกษานอกโรงเรียน ร้อยละ 43.9

อัตราส่วนนักเรียน นักศึกษาต่อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ที่ 14 คน ระดับอาชีวศึกษา 8 คน ระดับอุดมศึกษา 11 คน และการศึกษานอกโรงเรียนอยู่ที่ 109 คน

อัตราส่วนครู อาจารย์ผู้สอนต่อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง การศึกษาขั้นพื้นฐาน 10 คนต่อเครื่อง ระดับอาชีวศึกษา 5 คนต่อเครื่อง ระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ 3 คนต่อเครื่อง และการศึกษานอกโรงเรียน 12 คนต่อเครื่อง

พบอีกว่า ร้อยละ 97.2 ของจำนวนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ระดับอาชีวศึกษาและการศึกษานอกโรงเรียนประมาณร้อยละ 99 อุดมศึกษา ร้อยละ 100

มีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ร้อยละ 93.3 ระดับอาชีวศึกษามีระบบไร้สายร้อยละ 70.2 การศึกษานอกโรงเรียนมีร้อยละ 30.8 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีร้อยละ 19.6

ครูอาจารย์ส่วนใหญ่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองและมีอีเมล์ ผู้สอนระดับอุดมศึกษามีเว็บไซต์ของตนเองร้อยละ 34.7 ผู้สอนระดับอาชีวศึกษามีเว็บไซต์ของตนเอง ร้อยละ 16.9 ผู้สอนระดับการศึกษานอกโรงเรียนมีเว็บไซต์ร้อยละ 15.4 และครู อาจารย์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 6.6 ที่มีเว็บไซต์ มีอีเมล์ของตนเองร้อยละ 37.9

การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนต่อสัปดาห์ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษานอกโรงเรียนเฉลี่ย 8-9 ชั่วโมง อาชีวศึกษาและอุดมศึกษาเฉลี่ย 11.8 และ 18.5 ชั่วโมง ตามลำดับ

ตรงนี้ไม่มีข้อสรุป นอกจากรู้ว่า เวียดนามกำลังมาแรง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook