เพจหมอแชร์วิธีรับมือ "แบคทีเรียกินเนื้อคน" โรคเดียวกับ "บอย ปกรณ์" ติดเชื้อ

เพจหมอแชร์วิธีรับมือ "แบคทีเรียกินเนื้อคน" โรคเดียวกับ "บอย ปกรณ์" ติดเชื้อ

เพจหมอแชร์วิธีรับมือ "แบคทีเรียกินเนื้อคน" โรคเดียวกับ "บอย ปกรณ์" ติดเชื้อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพจคุณหมอชื่อดังโพสต์อธิบายถึง "แบคทีเรียกินเนื้อคน" ที่ดาราหนุ่ม "บอย ปกรณ์" ติดเชื้อจากถูกแมลงกัน ชี้รักษาหายขาด-ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดกัน

จากกรณีอาการป่วยกะทันหันของพระเอกหนุ่ม "บอย ปกรณ์" ซึ่งต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพื่อรักษาอาการถูกแมลงกัดต่อย กระทั่งแผลติดเชื้อลุกลาม แพทย์ต้องคว้านเนื้อส่วนที่ตายออก หรือที่รู้จักกันในภาษาชาวบ้าน "แบคทีเรียนกินเนื้อคน" โดยเจ้าตัวระบุว่าถูกแมลงกัดตอนที่ไปแช่ออนเซ็นที่ประเทศญี่ปุ่น กลายเป็นประเด็นที่โลกออนไลน์ให้ความสนใจและหวั่นวิตกอยู่ไม่น้อย

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก Infectious ง่ายนิดเดียว เพจดังแนะนำเรื่องสุขภาพได้โพสต์ถึงกรณีที่เกิดขึ้นกับ บอย ปกรณ์ เพื่ออธิบายถึงสาเหตุและวิธีการรักษาโรค พร้อมกับชี้แจงให้ได้รู้ว่าโรคดังกล่าวพบได้บ่อย แต่ป้องกันได้ รักษาหายขาด และไม่ได้กลัวอย่างที่หลายคนเป็นกังวลใดๆ โดยระบุว่า...

>> "บอย ปกรณ์" เข้าผ่าตัดด่วน ถูกแมลงกัดจนติดเชื้อ ต้องคว้านเนื้อตายทิ้ง

"แบคทีเรียกินเนื้อคน มีมานานแล้ว ไม่ได้เป็นเชื้อตัวใหม่ แต่เป็นเชื้ออยู่ตามสิ่งแวดล้อมทั่วไป คนติดเชื้อได้จากมีบาดแผล อาจจะจากอุบัติเหตุ ทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง หรือ แมลงต่อย ยุงกัด และอาจดูแลแผลไม่ดี ทำให้แผลลุกลาม จนแผลติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน

แบคทีเรียที่พบบ่อย 2 ชนิด คือ Streptococcus pyogenes กับ Staphylococcus aureus เชื้อนี้เป็นสาเหตุที่คนเราเป็นฝีหนองที่ผิวหนัง พบบ่อยในเด็ก ที่คนทั่วไปเรียก โรคน้ำเหลืองไม่ดี จริงแล้วไม่มีโรคนี้อยู่ แต่โรคนี้คือ อาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง หรือเชื้อชนิดอื่นๆ เช่น ในน้ำสกปรก ก็คือเชื้อ Aeromonas app.

ทั้งนี้ เชื้อดังกล่าวสามารถลุกลาม เข้าไปชั้นลึกใต้ผิวหนังได้ ลามจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ ไขมัน และกระดูก แต่ถ้าเข้ากระแสเลือด ทำให้อาการรุนแรงได้ กลายเป็นติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ซึม และช็อกได้ โดยพบในกรณีผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ผู้สูงอายุ หรืออาจจะเป็นคนไข้ที่ไม่มีโรคประจำตัว แต่มาพบแพทย์ช้า หรือดูแลแผลไม่สะอาด

เมื่อเชื้อลามไปใต้ผิวหนัง อาจลุกลามไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้เนื้อเน่าตาย เป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ หรือที่รู้จักกันในภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด อวัยวะต่างๆ เช่น ไต ตับ และสมอง ทำงานบกพร่อง

สำหรับการรักษามี 3 ข้อ ได้แก่ ให้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเข้าเส้น เช่น Cloxacillin อย่างน้อย 7-14 วัน แพทย์จะส่งหนองและสารคัดหลั่งเพาะเชื้อไปตรวจ พร้อมกับปรับระดับยาตามเชื้อ กรณีต่อไปคือตัดเนื้อตาย เพื่อไม่ให้ลุกลาม สำหรับบางคนมาช้า หรือแผลขนาดใหญ่ แต่หากมีโรคประจำตัวด้วย อาจจะต้องตัดอวัยวะได้ เช่น นิ้ว แขน ขา มือ จากนั้นค่อยทำทำแผล

ส่วนวิธีการป้องกันจากเชื้อนี้ โดยเมื่อพบบาดแผลเกิดขึ้น ควรรักษาแผลให้สะอาด ถ้าเกิดอาการบวมแดง อักเสบมาก ต้องรีบมาพบแพทย์ หากมีแผลไม่ควรแคะ แกะ เกา เล็บต้องตัดให้สั้นเสมอ และดูแลแผลให้สะอาดที่สุด"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook