''ใกล้ใจ'' ภูมิคุ้มกันเด็กและเยาวชน
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060

    ''ใกล้ใจ'' ภูมิคุ้มกันเด็กและเยาวชน

    2009-07-06T00:45:17+07:00
    แชร์เรื่องนี้
    ด้วยความวิตกกังวลและเป็นห่วงเด็ก เยาวชนไทยต้องรับมือกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพื่อให้เด็กมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดย ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิฯ จึงจัดพิมพ์หนังสือชุด ใกล้ใจ ขึ้น 3 เล่ม 3 เรื่องราว เพื่อมอบให้โรงเรียนและห้องสมุดต่าง ๆ รวมถึงจำหน่ายในราคาชุดละ 195 บาท ทั้งนี้มีการเปิดตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ วังลดา วัลย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานเปิดงาน

    ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา ในฐานะบรรณาธิการอำนวยการ กล่าวว่า โครง การหนังสือชุด ใกล้ใจ เกิดจากความคิดเป็นห่วงเด็กยุคนี้ ที่อยู่ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว จึงอยากให้เด็กมีภูมิคุ้มกันติดตัวสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้ หากได้รับการบรรจุเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาได้จะดีมาก สำหรับหนังสือ้ง 3 เล่มนั้นถ่ายทอดเรื่องราวความสนุกและเกร็ดแห่งชีวิตที่เหมาะทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ประกอบด้วย หอมกลิ่นกรุงเทพฯ โดย รศ.ประทุมพร วัชรเสถียร, กระจก (ไม่) ตกยุค โดย ทม ยันตี โปษยานนท์ และวันรุ่ง ของพรุ่งนี้ โดย รศ.อรชุมา ยุทธวงศ์ ทั้งนี้ได้ ม.ล.จิราธร จิรประวัติ มาช่วยวาดภาพประกอบด้วย ในเบื้องต้นทางมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินฯ มอบหนังสือดังกล่าวแก่โรงเรียน และห้องสมุดต่าง ๆ กว่า 7,000 แห่ง

    การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จต้องยึดมั่นในสติปัญญา เหมือนดัง พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานไว้ว่า ให้มีสติ ความเพียรและอดทนอดกลั้น ถ้าทำได้ย่อมดีต่อตนเอง เมื่อตัวเองดีแล้วจึงเอื้อเฟื้อต่อคนอื่น ผู้ใหญ่ทุกวันนี้เหมือนเกาะอยู่ข้างสนาม เพื่อคอยดูแลประคับประคองเด็ก ๆ ให้เข้มแข็ง เพื่อที่เด็กเหล่านี้พร้อมที่จะเติบโตไปช่วยคนอื่นต่อไป ชีวิตเราทุกวันนี้อาจทำอะไรผิดพลาดได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วให้นำมาเนบทเรียนชีวิต คนเราไม่มีใครสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ท่านผู้หญิงอรนุชกล่าว.

    หอมกลิ่นกรุงเทพฯ ถ่ายทอดเรื่องราวความทรงจำของผู้เขียนจากประสบการณ์ ในอดีตที่ผ่านมา เทียบกับยุคสมัยปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง อาทิ เรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว, เพื่อนบ้าน รวมถึงการใช้ภาษา เป็นต้น, กระจก (ไม่) ตกยุค สะท้อนความรู้สึกของคนร่วมสมัยที่อยากให้วัยรุ่นสมัยนี้ได้ผูกเชื่อมสิ่งดี ๆ เข้ากับยุคอดีตที่ควรนำมาเป็นแบบอย่าง ถ่ายทอดเรื่องจากประสบการณ์ จริงทั้งด้านดี-ไม่ดี หยิบยกมาให้รู้ว่าอะไรถูก-ผิด และ วันรุ่งของพรุ่งนี้ ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตด้วยการร้อยเรียงเหมือนตัวละครชีวิตเริ่มจากเด็กจนโต ผ่านเรื่องราวต่าง ๆ และได้เรียนรู้จากคนที่เกี่ยวข้อง.