ปูพรมสร้างภูมิคุ้มกัน พัฒนาต้นทุนชีวิตเด็กไทย
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060

    ปูพรมสร้างภูมิคุ้มกัน พัฒนาต้นทุนชีวิตเด็กไทย

    2009-07-02T00:45:16+07:00
    แชร์เรื่องนี้
    ในโอกาสที่ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ดำเนินการศึกษาและพัฒนา ต้นทุนชีวิตของเด็กไทย (DA) เพื่อวัดต้นทุนชีวิตของเด็กไทย สร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยมีกระบวนการสร้างต้นทุนทางบวกผ่านพลัง ภาคต่าง ๆ ในสังคม คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา และแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ จึงเชิญผู้แทนหน่วยงานด้านเด็กและเยาวชน ตลอดจนภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการเสวนา การสร้างต้นทุนชีวิต เพื่อการแก้วิกฤติเด็กและเยาวชนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ที่ผ่านมา ณ อาคารรัฐสภา 2

    นางยุวดี นิ่มสมบุญ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯ กล่าวว่า คณะกรรมาธิการมีความเห็นสอดคล้องกับหลายหน่วย งานว่า การสร้างต้นทุนชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชน เป็นเสมือนการฉีดวัคซีนให้เด็กมีภูมิคุ้มกันที่จะพาให้ตัวเองรอด เมื่อเด็กรอด สังคมและประเทศชาติจะรอดไปด้วย ปัญหาที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนของประเทศมีมาโดยตลอด ถูกทับถมและสั่งสมจนเกิดเป็นวิกฤติ หากไม่เร่งแก้ไข อนาคต ของเด็กไทยจะถูกทำลายไปกับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ ครอบครัวแตกแยก, สิ่งมอมเมารอบตัว, ค่านิยมที่ผิด ๆ เป็นต้น

    นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้จัด การแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน กล่าวว่า แผนงานได้พัฒนาแบบสำรวจ ต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชน ตั้งแต่เด็กปฐมวัย วัยเรียนและวัยรุ่น โดยเครื่องมือวัดดัชนีคุณภาพชีวิต มี 48 ดัชนีชี้วัด แบ่งเป็น 5 พลัง ได้แก่ พลังตัวแทนเด็กและเยาวชน, พลังครอบครัว, พลังปัญญาหรือสถานศึกษา, พลังชุมชน และพลังเพื่อนและกิจกรรม ซึ่งพลัง 4 ประการหลัง ก่อให้เกิดพลังในตัวตนของเด็กและเยาวชน เพราะเรื่องคุณค่าในตัวเองนั้น ถ้าเด็กไม่มี ต้องรีบซ่อมด่วน อีกทั้งยังต้องเร่งซ่อมต้นทุนชีวิตด้านพลังปัญญา เรียนมุ่งอาชีพไร้ข้อจำกัด ซึ่งแบบสอบถามต้นทุนชีวิตที่ทำขึ้นนั้นเป็นกระบวนการในการให้เกียรติเยาวชนอย่างแท้จริง

    ต้นทุนชีวิตที่อ่อนแอที่สุดของเยาวชนไทย คือเรื่องจิตอาสา ภาพรวมทั่วประเทศเยาวชนมีค่าเฉลี่ยจิตอาสาอยู่ที่ร้อยละ 34 โดยเฉพาะเด็กเรียนเก่ง ต้องซ่อมจิตอาสา ซึ่งถือเป็นทักษะการอยู่ในสังคม จากผลสำรวจพบว่า เด็กกลุ่มนี้มีจิตอาสาต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 20 แต่ในกลุ่มเด็กด้อยโอกาสกลับมีจิตอาสาร้อยละ 56 และยังพบว่า ลานกีฬา-ดนตรี เป็นเพียงการช่วยการทำกิจกรรมทั่วไป ไม่ได้เป็นตัวจริงเสียงจริงในการช่วยต้านยาเสพติด แต่กิจกรรมลูกเสือกลับมีส่วนสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในเด็ก

    ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชนสรุปแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องต้นทุนชีวิตในเด็กและเยาวชนว่า เวลาเด็กมีปัญหา ต้องรักษาที่ผู้ใหญ่ ไม่ใช่ตัวเด็ก มิเช่นนั้นจะเป็นวังวนและเป็นการกังวล ประเทศไทยกำลังย่ำแย่เกี่ยวกับวิกฤติเด็กและเยาวชนไทยที่ย่ำอยู่กับการทุบสถิติใหม่ ๆ ทั้งที่ความคุ้มทุนอยู่ที่การป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไข ซึ่งการลงทุนกับเด็กและเยาวชนเป็นการคุ้มทุนที่สุดแล้ว โดยเฉพาะการฟังเสียงของเด็กอย่างแท้จริง.