ปูตินลั่น "รัสเซีย" จำใจลงสนามแข่งอาวุธ หลัง "สหรัฐฯ" พังความมั่นคงโลก

ปูตินลั่น "รัสเซีย" จำใจลงสนามแข่งอาวุธ หลัง "สหรัฐฯ" พังความมั่นคงโลก

ปูตินลั่น "รัสเซีย" จำใจลงสนามแข่งอาวุธ หลัง "สหรัฐฯ" พังความมั่นคงโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทำเนียบเครมลินเผยแพร่บทสัมภาษณ์วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย โดยหนังสือพิมพ์สัญชาติอิตาเลียน ซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันพฤหัสบดี (4 ก.ค.) และระบุว่า “รัสเซียไม่ได้ยินดีที่ถูกลากเข้าร่วมการแข่งขันด้านอาวุธครั้งใหม่ แต่จำเป็นต้องทำเพื่อความมั่นคง”

“สหรัฐฯ ตั้งงบประมาณด้านการทหารมากกว่า 7 แสนล้านดอลลาร์ (ราว 22.4 ล้านล้านบาท) ซึ่งสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับงบประมาณด้านการทหารของรัสเซียที่ 48,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.53 ล้านล้านบาท)” ปูตินกล่าวกับนักข่าวของหนังสือพิมพ์คอร์เยีย เดลลา เซรา

“นั่นคือเหตุผลที่เราต้องพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อตอบโต้งบประมาณด้านการทหารที่เพิ่มขึ้นและท่าทีอันเป็นภัยอันตรายของสหรัฐฯ” ปูตินกล่าว “ไม่ใช่รัสเซียแต่เป็นสหรัฐฯ ที่เริ่มทลายระบบความมั่นคงระหว่างประเทศด้วยการถอนตัวจากสนธิสัญญาต่อต้านขีปนาวุธ (ABMT) ในปี 2002 รัสเซียเข้าหาสหรัฐฯ มากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อชี้แนะว่าทั้งสองฝ่ายควรแสวงหาหนทางแก้ไขประเด็นปัญหาต่างๆ อันเกี่ยวพันกับสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง (Intermediate-Range Nuclear Forces Treaty) แต่กลับถูกปฏิเสธ”

“วอชิงตันไม่ได้พร้อมจะหารือการต่ออายุสนธิสัญญาการลดอาวุธเชิงยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ (New Strategic Arms Reduction Treaty) ซึ่งจะสิ้นสุดลงในช่วงต้นปี 2021 หรือความเป็นไปได้ในการลงรายละเอียดของข้อตกลงฉบับเต็ม รัสเซียเสนอให้สหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการไม่ยอมรับสงครามนิวเคลียร์และการตระหนักถึงผลลัพธ์อันเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นตามมาในเดือนตุลาคมปีก่อน แต่ก็ไม่การตอบสนองกลับมา”

“เมื่อไม่นานนี้ สหรัฐฯ เริ่มแสดงความเป็นไปได้ที่จะกลับมาเจรจาประเด็นทางยุทธศาสตร์วงกว้างร่วมกับรัสเซีย และบรรลุข้อตกลงการควบคุมอาวุธอันเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมเสถียรภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ รัสเซียมีเจตจำนงทางการเมืองที่กระทำสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว ดังนั้นตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสหรัฐฯ” ปูตินกล่าว พร้อมเสริมว่าเขาเน้นย้ำจุดยืนนี้ระหว่างประชุมร่วมกับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในนครโอซากาของญี่ปุ่นแล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook