ทรัมป์ไฟเขียวตั้ง “กองบัญชาการอวกาศ” พร้อมทุ่มงบ 800 ล้านดอลลาร์ตลอดเวลา 5 ปีจากนี้
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/ns/0/ud/1523/7615162/astronauts-in-space.jpgทรัมป์ไฟเขียวตั้ง “กองบัญชาการอวกาศ” พร้อมทุ่มงบ 800 ล้านดอลลาร์ตลอดเวลา 5 ปีจากนี้

    ทรัมป์ไฟเขียวตั้ง “กองบัญชาการอวกาศ” พร้อมทุ่มงบ 800 ล้านดอลลาร์ตลอดเวลา 5 ปีจากนี้

    2018-12-19T13:38:31+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ลงนามอนุมัติการตั้ง “กองบัญชาการอวกาศ” ด้วยงบประมาณ 800 ล้านดอลลาร์ สำหรับระยะเวลา 5 ปีจากนี้

    การตั้งกองบัญชาการใหม่ซึ่งขึ้นกับกระทรวงกลาโหม เป็นโครงการที่อยู่คนละส่วนกับแผนตั้ง “กองทัพอวกาศ” เป็นเหล่าทัพที่ 6 ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์เคยประกาศไว้ แต่ถือเป็นการขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน

    >> “ทรัมป์” ดันตั้ง “กองทัพอวกาศ” ส่อเกิดสมรภูมิรบนอกโลกที่อาจไม่ได้มีแค่ในหนัง

    ทั้งนี้ “กองบัญชาการอวกาศ” จะทำหน้าที่บริหารจัดการและพัฒนางานของกองทัพที่เกี่ยวกับอวกาศ รวมถึงดาวเทียมของกองทัพที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและให้ข้อมูลการเดินทาง

    รัฐบาลต้องการให้ “กองบัญชาการอวกาศ” เป็นจุดศูนย์กลางของหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงกลาโหม และต้องการให้กองบัญชาการนี้ทำงานอย่างเป็นเอกภาพ

    แผนงานนี้เกิดขึ้นขณะที่เกิดความกังวลว่า จีนและรัสเซียกำลังดำเนินการก่อกวน หรืออาจถึงขั้นทำลายดาวเทียมสหรัฐฯ

    แหล่งข่าวรายหนึ่งบอกกับสำนักข่าว Associated Press ว่า “กองบัญชาการอวกาศ” จะดึงเจ้าหน้าที่ปัจจุบันที่สังกัดหน่วยงานด้านอวกาศในกองทัพมารวมกัน และเตรียมจ้างคนเพิ่มอีกอย่างน้อย 1,000 คนในอีกหลายปีจากนี้

    พันโท โจ บุชชิโน (Joe Buccino) โฆษกประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เพทริค ชานาฮาน (Patrick Shanahan) กล่าวว่า การตั้ง “กองบัญชาการอวกาศ” เป็นก้าวสำคัญต่อการเร่งพัฒนาศักยภาพทางอวกาศเพื่อการป้องกันผลประโยชน์แห่งชาติ และป้องปรามศัตรู

    เขากล่าวว่า หน่วยรบนี้ จะทำหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่ในการพัฒนาแผนรบ กลยุทธ์ และงานเทคนิคด้านอวกาศ

    พันโท บุชชิโน กล่าวอีกด้วยว่า กระทรวงกลาโหมจะทำแผนเสนอตามขั้นตอนทางกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของประธานาธิบดีทรัมป์

    หน่วยงานด้านข่าวกรองสหรัฐฯ หลายแห่งระบุในปีนี้ว่า รัสเซียและจีนกำลังพัฒนาอาวุธต่อต้านดาวเทียมสำหรับการทำสงครามในอนาคต ขณะเดียวกันเกิดความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการโจมตีบนระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งมุ่งเป้าไปที่เทคโนโลยีดาวเทียม

    การโจมตีในรูปแบบดังกล่าวอาจทำให้กองทัพอเมริกันไม่มีข้อมูลที่สำคัญ และการสนับสนุนเรื่องการติดต่อสื่อสารในสถานการณ์คับขัน

    ในอดีตนั้น สหรัฐฯ มี “กองบัญชาการอวกาศ” ช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 2002 แต่ถูกยกเลิกไปเพื่อเปิดทางให้มีการตั้งกองบัญชาการที่ทำหน้าที่ปกป้องความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ หลังเหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001

    ขอขอบคุณ

    ภาพ :iStock Photo