รายงานพิเศษ : ผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้สูงอายุของ สสช. พบร้อยละ 64.6 เห็นควรดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอ

รายงานพิเศษ : ผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้สูงอายุของ สสช. พบร้อยละ 64.6 เห็นควรดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้สูงอายุของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าร้อยละ 64.6 เห็นควรดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุในครอบครัว แต่มีเพียงร้อยละ 20.2 ที่คิดว่าควรให้ความเอื้อเฟื้อแก่ผู้สูงอายุทั่วไป โดยเห็นว่าเป็นภาระของรัฐบาล ในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ 2552 ที่สังคมไทยต้องตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ สำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือ สสช. ได้นำเสนอผลการสำรวจเกี่ยวกับประชากรผู้สูงอายุ โดยนางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่าประชากรในประเทศไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 66 ล้านคน เป็นวัยเด็ก (ต่ำกว่า 15 ปี) ร้อยละ 21.5 วัยทำงานหรือผู้มีอายุระหว่าง 15 - 59 ปี ร้อยละ 67.4 วัยผู้สูงอายุ ร้อยละ 11.2 ของประชากรทั่วประเทศ ทั้งนี้ประเทศไทยมีจำนวนของผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 10 มาตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งเท่ากับประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ ส่วนความคิดเห็นต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ พบว่าคนส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 89.7 เห็นว่า ควรมีการเตรียมการเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ในจำนวนนี้เห็นว่าควรเตรียมการในเรื่องเงินถึงร้อยละ 98.2 เตรียมการในเรื่องที่อยู่อาศัยร้อยละ 97.4 เตรียมการในเรื่องสุขภาพกาย ร้อยละ 96.3 เตรีมการในเรื่องสภาพจิตใจ ร้อยละ 93.9 เตรียมการหาผู้ดูแล ร้อยละ 88.6 และควรมีการเตรียมการเรื่องมรดก ร้อยละ 83.9 แต่สถิติที่น่าห่วง คือ คนส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.0 ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม หรือ กองทุนอื่น ๆ เพื่อยามชราภาพ ที่เป็นสมาชิกมีเพียงร้อยละ 23.3 และจากผลการสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2551 ยังพบว่าแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศร้อยละ 64 เป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งไม่ได้รับสิทธิ์การสมทบเงินประกันสังคมจากนายจ้าง รัฐบาลจึงควรดูแลในเรื่องนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจระบุว่า ร้อยละ 76 คาดหวังจะพึ่งพาลูกหลานเมื่อยามชรา โดยร้อยละ 32.8 หวังพึ่งพาแหล่งเงินจากลูกหลาน แต่ผู้สูงอายุที่จะทำงานเลี้ยงดูตนเองก็มีอยู่ถึงร้อยละ 31. 4 พึ่งจากเงินออมหรือทรัพย์สิน มีอยู่ร้อยละ 21.2 ส่วนคิดพึ่งคู่สมรสมีเพียงร้อยละ 6.0 และที่หวังพึ่งเบี้ยยังชีพจากรัฐบาลมีเพียงร้อยละ 4.7 ขณะที่ผู้คิดจะออมหรือสะสมเงินทองหรือทรัพย์สินให้เพียงพอไว้ใช้ในวัยสูงอายุแต่กลับไม่ทำมีถึงร้อยละ 59.9 คิดจะดูแลตัวเองให้มีสุขภาพกายที่แข็งแรงก่อนวัยสูงอายุแต่ก็ไม่ได้ทำมีถึงร้อยละ 54.1 และร้อยละ 48.3 ไม่ได้คิดที่จะทำประโยชน์ให้สังคมหรือผู้อื่นอีด้วย ทางด้านลูกหลานหรือคนที่ยังอยู่ในวัยทำงานส่วนใหญ่ยังรักษาวัฒนธรรมครอบครัวไทย โดยเห็นว่าควรดูแลเอาใจใส่สมาชิกผู้สูงอายุในครอบครัวถึงร้อยละ 64.6 แต่ที่คิดว่าควรให้ความเอื้อเฟื้อแก่ผู้สูงอายุทั่วไปมีเพียงร้อยละ 20.2 เท่านั้น ตัวเลขนี้ตอกย้ำความ "ไม่เอาคนอื่น มากยิ่งขึ้น แล้วปัดภาระให้เป็นของรัฐบาลถึงร้อยละ 65 ที่ควรจัดงบประมาณให้ผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงและเพียงพอ ทั้งนี้ยังเห็นว่าควรจัดให้มีแพทย์สำหรับผู้สูงอายุให้เพียงพอด้วย อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร พ.ศ.2548-2549 อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของผู้ชายอยู่ที่ประมาณ 69.9 ปี ขณะที่ผู้หญิงประมาณ 77.6 ปี และหากสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้จนถึงอายุ 60 ปี ผู้ชายจะสามารถมีชีวิตต่อไปได้อีกโดยเฉลี่ย 19.3 ปี หรือ 79.3 ปี ส่วนผู้หญิงจะมีชีวิตต่อไปได้อีกโดยเฉลี่ย 21.6 ปี หรือ 81.6 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook